-

We are a volunteer group aiming to translate information about Palestine
and Anti-Zionism into Thai language for Thai users
to bring more awareness to our society
on the unjustifiable human violations and situations of Palestine.
We support every form of Human Rights.

เราคือกลุ่มอาสาสมัครอิสระ
มุ่งหมายเพื่อแปลและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปาเลสไตน์
และการต่อต้านไซออนิสม์เป็นภาษาไทย
เพื่อให้เข้าถึงง่ายโดยผู้ใช้ภาษาไทย
เพื่อนำเสนอเรื่องราวของปาเลสไตน์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันยอมรับไม่ได้
ให้รับรู้มากขึ้นในสังคมของพวกเรา
เนื้อหาทั้งหมดภายในเว็บไซต์นี้ สามารถนำไปแชร์ต่อได้อิสระ


THAI for Palestine
ดำเนินการโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน
โดยไม่ยึดโยงกับความเชื่อศาสนาใด
กลุ่มอาสาสมัครประกอบขึ้นจากผู้มีความเชื่อและอัตลักษณ์หลากหลาย
พวกเราสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
ทั้งเสรีภาพการนับถือศาสนา สิทธิสตรี และอัตลักษณ์ทางเพศ
พวกเราต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบพวกเราต่อต้าน | We Oppose
การเหยียดเชื้อชาติ (Racism) รวมถึงการเหยียดยิว (Antisemitism)
การเลือกปฏิบัติด้วยศาสนา (Religious Discrimination)
และความเกลียดชังด้วยเหตุแห่งศาสนาใด ๆ
ปิตาธิปไตย (Patriarchy)
การเหยียดเพศ (Sexism) รวมถึง Queerphobia และ Transphobia
การล่าอาณานิคม (Colonialism)
การกดขี่ (Oppression)
การปกครองแบ่งแยก (Apartheid & Discrimination)
การยึดครองทางทหาร (Occupation)
ขบวนการไซออนิสม์ (Zionism)

และอุดมการณ์ทางการเมืองใด ๆ ที่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้
จากแม่น้ำสู่ทะเล
ปาเลสไตน์และโลกทั้งใบจะมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียม

email : [email protected]


คลังข้อมูล


แถลงการณ์ THAI for Palestine
ต่อสถานการณ์ในฉนวนกาซา 2023

"We condemn any act of violence toward civilians
and demand a permanent ceasefire."



เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปาเลสไตน์
และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในดินแดนปาเลสไตน์

FAQ & อธิบายศัพท์และประเด็นพื้นฐาน

FAQ
อธิบายเบื้องต้น


FAQ

Q: หลักการของกลุ่มนี้คืออะไร?A: เราต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราสนับสนุน Right to resist ของผู้ถูกกดขี่ต่ออำนาจปกครองที่กดขี่ เราต่อต้านไซออนิสม์ ร่วมไปกับชาวมุสลิม ยิว คริสต์ และคนทั้งปวงในโลกที่อาจมีหรือไม่มีศาสนา เราต่อต้านระบอบปกครองแบ่งแยกของอิสราเอลและการกดขี่ทั้งหลายในโลก สามารถอ่านจุดยืนทั้งหมดของเราได้ที่หน้าแรกและแถลงการณ์


Q: กลุ่มนี้สนับสนุนการก่อการร้ายหรือไม่?A: พวกเราไม่สนับสนุนการพุ่งเป้าพลเรือนแน่นอนไม่ว่าจากฝ่ายใด และยืนยันจุดยืนนี้มาโดยตลอด สามารถอ่านเพิ่มเกี่ยวกับจุดยืนของเราในประเด็นความรุนแรงต่อพลเรือนได้ที่หน้าแรกและแถลงการณ์


Q: สามารถนำเนื้อหาจากกลุ่มนี้ไปแชร์/อัปโหลดใหม่ได้หรือไม่?A: คุณสามารถเผยแพร่เนื้อหาของพวกเราซ้ำได้อย่างอิสระ และเราสนับสนุนให้คุณทำอย่างยิ่ง อย่าลืมให้เครดิตต้นฉบับเนื้อหาของเราหากเราแปลมาจากแหล่งอื่น


อธิบายศัพท์และประเด็นพื้นฐาน

Zionism | ไซออนิสม์
Settler Colonialism | การล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน
Jew & Judaism | ชาวยิวและยูดาย
Apartheid | การปกครองแบ่งแยก
Occupation | การยึดครอง
Nakba & Refugees | นักบาและผู้ลี้ภัย
Ethnic Cleansing | การกวาดล้างชาติพันธุ์
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์


Zionism | ไซออนิสม์

>>ไซออนิสม์ (Zionism) คืออะไร?แนวคิดการกลับคืนสู่ไซออน (หรือ ศิโยน ชื่อเรียกเนินลูกหนึ่งในเยรูซาเล็ม) นั้นมีในหมู่ชาวยิวมายาวนานในฐานะความเชื่อทางศาสนา แต่ขบวนการไซออนิสม์ในฐานะองค์กรและการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นในปี 1897 ก่อตั้งโดย Theodor Herzlไซออนิสม์คืออุดมการณ์ ชาติพันธุ์เป็นใหญ่ ลัทธิล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน และการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรียกร้องถึงการก่อตั้ง “รัฐสำหรับชาวยิว” ในดินแดนปาเลสไตน์โดยต้องมี “ชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่” ด้วยความที่ปาเลสไตน์มีผู้อาศัยอยู่แล้ว และแทบไม่มีไซออนิสต์อยู่ที่นั่นมาก่อนศตวรรษที่ 20 จึงจำเป็นที่จะมีการกดขี่และขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกไปเพื่อให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมที่จะสร้างรัฐในอุดมคติดังกล่าว อ่านเพิ่มได้ที่ ทำไมอิสราเอลจึง Colonize ปาเลสไตน์?การอ้างว่าไซออนิสม์คือเจตจำนงเสรีของชาวยิว กลายเป็นข้ออ้างยอดนิยมในช่วงเวลาปัจจุบัน แต่เป็นข้ออ้างที่เต็มไปด้วยข้อควรวิพากษ์ที่ถูกละทิ้งไปหลายประการ ไซออนิสม์มักจะเปรียบว่าเป็น “การจาริกแสวงบุญเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น” การอ้างเช่นนี้มองข้ามการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่ไซออนิสต์กระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น อิสราเอลที่เป็นโครงการล่าอาณานิคมไม่ได้สร้างขึ้นจากความว่างเปล่า รัฐนี้ก่อตั้งบนความจำเป็นที่จะต้องกดขี่และยึดครองชีวิตและทรัพย์สินของชาวปาเลสไตน์ตลอดเวลาปาเลสไตน์เป็นบ้านของผู้ลี้ภัยต่าง ๆ อย่างนับไม่ถ้วน มาโดยตลอดในประวัติศาสตร์ การเป็นที่พักพิงหรือบ้านที่ปลอดภัยแก่ชาวยิวที่หลบหนีจากการเข่นฆ่าใด ๆ นั้นไม่เคยเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ปัญหาคือการอาศัยร่วมกันเช่นนั้นไม่อยู่ในความคิดของขบวนการไซออนิสม์ ที่แสดงความต้องการจะยึดครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์เพื่อก่อตั้งรัฐชาติพันธุ์ซึ่งกีดกันกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ>>แต่ชาวยิวในปัจจุบันเป็นทายาทของประชากรจากอิสราเอลโบราณที่เคยอาศัยในดินแดนนี้มาก่อนไม่ใช่หรือ?
ไม่ใช่เสียทีเดียว และชาวพื้นเมืองปาเลสไตน์เองก็สืบเชื้อสายนั้นเช่นกัน
อ่านเพิ่มที่หัวข้อ ชาวยิว


Settler Colonialism | การล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน

>>ลัทธิล่าอาณานิคม (Settler Colonialism) คืออะไร?ลัทธิล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน เกิดเมื่อฝ่ายเจ้าอาณานิคมรุกรานและยึดครองพื้นที่เพื่อทดแทนสังคมที่อยู่มาก่อนด้วยสังคมของเจ้าอาณานิคมอย่างถาวร ขบวนการไซออนิสม์เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มุ่งสู่เป้าหมายนี้

>>ถ้าอิสราเอลเป็นอาณานิคม แล้วเจ้าของอาณานิคมคือใครล่ะ?อิสราเอลเป็นอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐาน ลัทธิล่าอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานแตกต่างจากลัทธิล่าอาณานิคมแบบดั้งเดิม จากการพึ่งพาจักวรรดิเพียงช่วงแรกเริ่มอย่างชั่วคราวเท่านั้น ในหลาย ๆ กรณี ชาวอาณานิคมไม่ได้มาจากจักรวรรดิที่สนับสนุนอาณานิคมนั้น ๆ ด้วยซ้ำ ข้อแตกต่างอีกอย่างคือการล่าอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานไม่ได้สนใจเพียงทรัพยากรในดินแดนนั้นเพียงอย่างเดียว แต่ “ดินแดน” เองก็คือเป้าหมาย เพื่อสร้างชุมชนและบ้านเกิดสำหรับพวกตนในพื้นที่นั้น ในกรณีนี้อิสราเอลพึ่งพาอังกฤษในช่วงเริ่มแรกปัญหาที่ชัดเจนสำหรับกรณีนี้คือดินแดนที่ว่ามีผู้อาศัยอยู่ก่อนแล้วอ่านเพิ่มได้ที่ ทำไมอิสราเอลจึง Colonize ปาเลสไตน์?

>>ผู้ตั้งถิ่นฐาน (Settler) ในปัจจุบันคืออะไรเมื่อเรากล่าวถึง Israeli Settler, Settlement หรือ Colony เรากำลังหมายถึง ชุมชนที่พลเรือนอิสราเอลอาศัยอยู่ เกือบทั้งหมดเป็นเฉพาะคนที่ถืออัตลักษณ์ตนเป็นยิว อันสร้างบนดินแดนที่ยึดครองโดยอิสราเอลตั้งแต่สงคราม 6 วัน คือเวสต์แบงค์ของปาเลสไตน์ และที่ราบสูงโกลันของซีเรีย ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายสากลอย่างร้ายแรง ตาม อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่4 เกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม ข้อ 49Settler บางส่วนได้รับการสนับสนุนจากรัฐและติดอาวุธเพื่อทำการรุกรานขับไล่พื้นที่ทำลายบ้านเรือนชาวปาเลสไตน์มาจนวันนี้ สนับสนุนโดยกองทัพอิสราเอล ชุมชนของ Settler แยกจากชุมชนชาวปาเลสไตน์อย่างเด็ดขาดและเชื่อมกับสาธารณูปโภคจากดินแดนฝั่งอิสราเอล พวกเขามีอิสระในการเดินทาง ขณะที่ชุมชนของชาวปาเลสไตน์ถูกชุมชนตั้งถิ่นฐานเหล่านั้นตัดขาดหรือล้อม ถูกจำกัดอิสระการเดินทาง และต้องผ่านด่านตรวจที่เข้มงวดในการเดินทางชีวิตประจำวัน รัฐอิสราเอลยังมีนโยบายล่อใจให้ชาวอิสราเอลย้ายเข้าไปในอาศัยในนิคมเหล่านั้นเพิ่มด้วยการลดภาษีและค่าเช่าราคาถูก Israeli Settlements Explainedความรุนแรงของ Settler ยังคงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมจาก B'tselem


Jew & Judaism | ชาวยิว และ ศาสนายูดาย

>>ศาสนายูดาย (Judaism) คืออะไร?ยูดาย คือ ศาสนาเอกเทวนิยมที่มีต้นกำเนิดอยู่ในดินแดนตะวันออกกลาง ร่วมกับศาสนาพื้นเมืองอื่น ๆ ต่อมากลายเป็นรากของศาสนากลุ่มอับราฮัม กลุ่มคนผู้นับถือศาสนานี้เรียกว่า “ชาวยิว” เริ่มต้นแล้วศาสนานี้มีลักษณะเป็นศาสนาประจำเผ่าหรืออาณาจักรโบราณของอิสราเอลและยูดาห์ ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งในเลวานท์ (ที่มีอาณาจักรอื่น ๆ อีกมากมาย) ก่อนจะพัฒนามาเป็นศาสนาในรูปแบบปัจจุบันศาสนายูดายมีลักษณะเป็น Ethnic Religion หรือศาสนา/ความเชื่อที่มีความเกี่ยวโยงกับชาติพันธุ์หนึ่ง ต่างจากศาสนาสากลที่มีความมุ่งหมายในการชักชวนคนมาเข้ารีตอย่างคริสต์หรืออิสลาม ศาสนายูดายไม่มีจุดมุ่งหมายเช่นนั้น แต่การเข้ารีตจากคนที่ไม่ได้ถืออัตลักษณ์ยิวมาก่อนก็เกิดขึ้นเสมอในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน

>>ชาวยิว (Jew) คืออะไร?ในปัจจุบันนี้ การมีอัตลักษณ์เป็น “ชาวยิว” นั้นหมายถึงผู้นับถือศาสนายูดาย หรือ ทายาทของผู้ที่ถืออัตลักษณ์ตนเป็นชาวยิว จึงมีทั้งชาวยิวที่เป็นยิวจากการเข้ารีต และชาวยิวที่นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ยูดาย ด้วยเหตุนี้จึงมียิวในโลกที่มีเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย บรรพบุรุษหลายสาย และไม่จำกัดเพียงต้องนับถือศาสนายูดาย

>>ชาวยิวเป็นเชื้อชาติ (Race) หรือไม่?ปัจจุบันมีการลงความเห็นว่าชาวยิวมิใช่เชื้อชาติ หากคำจำกัดความของ "เชื้อชาติ" หมายถึง "การจำแนกผู้คนด้วยพันธุกรรม" (อย่างไรก็ตาม มีการใช้และจำกัดความคำนี้แตกต่างกันไปในบริบทต่าง ๆ แต่ในคำอธิบายนี้จะยึดคำจำกัดความข้างต้น)ตลอดยาวนานในประวัติศาสตร์ การเป็นยิวไม่ใช่เชื้อชาติ (Race) ผู้คนที่ถืออัตลักษณ์ยิวมีทั่วทุกมุมโลก จากหลากหลายภูมิภาคและมีรูปลักษณ์ที่แตกต่าง มีจุดร่วมกันคือความเชื่อและวัฒนธรรมอันมาจากศาสนายูดาย แนวคิดของการมีชาวยิวที่ “มีเชื้อสายหรือลักษณะทางกายภาพร่วมกันหนึ่งเดียวแต่บรรพบุรุษโบราณ” จึงไม่เป็นจริงในเชิงพันธุกรรมและประวัติศาสตร์ การรวมกันเป็นชาวยิวจึงมีลักษณะเป็นชาติพันธุ์-ศาสนา (Ethnoreligious group) กลุ่มกว้าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่บุคคลรวมกลุ่มและถืออัตลักษณ์ร่วมกันมากกว่า และคนภายนอกสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้น ๆ ได้ผ่านการเข้ารีต กระนั้นวัฒนธรรมของชาวยิวทั่วโลกก็มีหลากหลายและอาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแล้วแต่ท้องที่และเชื้อสาย อ่านเพิ่มที่นี่เช่นเดียวกับ “ชาวอาหรับ” ความเป็นอาหรับในปัจจุบันก็มิใช่เชื้อชาติที่ทุกคนที่ถืออัตลักษณ์นี้มีลักษณะกายภาพหรือพันธุกรรมเกี่ยวข้องกัน มีคนอาหรับจากภูมิภาคต่าง ๆ และมีรูปลักษณ์ที่หลากหลาย คำว่าอาหรับจึงใช้สื่อถึงผู้ใช้ภาษาอาหรับและร่วมวัฒนธรรมอาหรับโดยรวม มิใช่หมายถึงคาบสมุทรอารเบียเท่านั้นอีกต่อไปการถืออัตลักษณ์ยิวแม้ไม่ได้มีเชื้อสายยิวไม่มีทางเป็นสิ่งผิดใด ๆ แต่การอ้างว่าชาวยิวทุกคนบนโลกสืบเชื้อสายจากชาวอิสราเอลโบราณนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงใด ๆ

>>ไซออนิสม์ และ Law of Return ทำให้เกิดปัญหาอย่างไร?การที่ชาวยิวผู้เข้ารีตและลูกหลานของผู้เข้ารีตถืออัตลักษณ์ตนเป็นชาวยิวนั้นไม่ใช่เรื่องผิดใด ๆ แน่นอนไม่ว่าคุณจะอยู่มุมใดของโลก หรือเป็นทายาทของชาติพันธุ์ใด คุณมีสิทธิถือตนเองเป็นชาวยิวหลังเข้ารีต แต่ขบวนการไซออนิสม์และรัฐอิสราเอลได้ผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “Law of Return” ที่มอบสิทธิให้ “ชาวยิวทั่วโลก” ที่มีปู่ย่าตายายอย่างน้อย 1 คนเป็นชาวยิว และคู่สมรสของบุคคลนั้น สามารถย้ายเข้ามาในอิสราเอลและรับสัญชาติอิสราเอลได้ บนแผ่นดินที่ยึดครองมาจากชาวปาเลสไตน์ต้องย้ำว่า มีชาวยิวจำนวนมากต่อต้านสิ่งนี้ และต่อต้านไซออนิสม์ เราจึงต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าไซออนิสม์และชาวยิวเป็นคนละอย่างกัน และการต่อต้านไซออนิสม์ไม่เท่ากับการเหยียดยิว การเหยียดเชื้อชาติใด ๆ ในโลกเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้โดยเด็ดขาด อ่านเพิ่มที่นี่


Apartheid | การปกครองแบ่งแยก

>>การปกครองแบ่งแยก (Apartheid) คืออะไรการปกครองแบ่งแยก (Apartheid) เป็นการละเมิดกฎหมายสากล เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติภายใต้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศคำว่า “ปกครองแบ่งแยก (Apartheid)” เริ่มต้นใช้เพื่อระบุถึงระบอบการเมืองของแอฟริกาใต้ที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างชัดเจนและมีการปกครองและกดขี่โดยเชื้อชาติหนึ่งต่ออีกเชื้อชาติหนึ่ง จากนั้นคำนี้จึงถูกใช้อย่างสากลเพื่อประณามและกำหนดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายของระบบสังคมที่มีลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าจะเกิดขึ้นแห่งใดในโลกในอนุสัญญาการปกครองแบ่งแยก ธรรมนูญกรุงโรม และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ถือว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชนที่กระทำโดยระบอบการปกครองแบ่งแยก เกิดขึ้นเมื่อมีการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมหรือการกระทำที่โหดร้าย ไร้ความปราณี (โดยเฉพาะการกระทำสิ่งละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง) ได้ถูกกระทำขึ้นในบริบทของระบอบการปกครองที่มีการกดขี่เชิงโครงสร้างและมีกลุ่มชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งเป็นกลุ่มอำนาจนำเหนือกลุ่มอื่น ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นไปด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อธำรงโครงสร้างดังกล่าวการปกครองแบ่งแยกคือระบบที่ยืดเยื้อและโหดร้ายแห่งการเลือกปฏิบัติโดยกลุ่มคนเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์หนึ่งที่มีเจตนาเพื่อควบคุมกลุ่มคนอีกเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์หนึ่ง

>>อิสราเอลเข้าข่ายการปกครองแบ่งแยก (Apartheid) อย่างไร?นี่คือโครงสร้างการกดขี่และการมีอำนาจเหนือของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์นับตั้งแต่การก่อตั้งรัฐอิสราเอลในปี 1948 รัฐบาลที่ได้รับตำแหน่งต่อเนื่องมาจากเวลานั้นก็ได้สร้างและธำรงโครงสร้างของกฎหมาย นโยบายรัฐ และวิถีปฏิบัติ เพื่อกดขี่และมีอำนาจเหนือชาวปาเลสไตน์ โครงสร้างเช่นนี้มีบทบาทที่สำคัญในหลายด้านหลากมิติ ทำให้อิสราเอลสามารถขยับขยายอำนาจควบคุมสิทธิของชาวปาเลสไตน์ โดยมีความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว คือ ทำให้ชาวยิวอิสราเอลมีอภิสิทธิ์ด้วยการกดขี่ชาวปาเลสไตน์ทางการอิสราเอลใช้อำนาจ 4 ช่องทางหลัก:1. การทำให้กระจัดกระจายเพื่อแยกปกครอง
หัวใจสำคัญของโครงสร้างนี้คือการทำให้ชาวปาเลสไตน์ต้องแยกจากกัน อาศัยอยู่ในคนละพื้นที่ และถูกปกครองด้วยกฎหมายและองค์การบริหารท้องถิ่นที่แตกต่างกัน
2. ปลดทรัพย์สินและที่ดิน
เป็นช่วงเวลานานหลายทศวรรษที่มีการกีดกันดินแดนและยึดทรัพย์สิน รวมทั้งการรื้อถอนบ้านเรือนและการบังคับให้ออกจากที่อยู่อาศัย
3. การแบ่งแยกและปกครอง
โครงสร้างของกฎหมายและนโยบายที่ควบคุมให้ชาวปาเลสไตน์ถูกจำกัดอยู่ในดินแดนที่ถูกปิดล้อม อยู่ภายใต้กฎหมายข้อบังคับหลายรูปแบบที่ควบคุมชีวิตของพวกเขา และแบ่งแยกออกจากชาวยิวอิสราเอล
4. การถูกริดรอนสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม
การจงใจทำให้ชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้ยากจน เป็นกระบวนการที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมให้พวกเขาอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่าชาวยิวอิสราเอลอยู่เสมอ
อิสราเอลได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวปาเลสไตน์อย่างเป็นระบบมาอย่างต่อเนื่องนานหลายทศวรรษ การละเมิดเหล่านี้มีทั้งการบังคับให้เคลื่อนย้าย การกักขังโดยไร้การไต่สวน การทรมาน การสังหารและการทำให้บาดเจ็บร้ายแรงอย่างผิดกฎหมาย และการปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ผ่านองค์กรแอมเนสตี้ และองค์กรอื่น ๆ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการปกครองแบ่งแยกเป็นโครงสร้างการปกครองที่ธำรงไว้ได้ด้วยการละเมิดในรูปแบบเหล่านี้ และเป็นการกระทำที่แทบจะไม่เคยได้รับการลงโทษใดๆรัฐอิสราเอลสร้างกลวิธีต่าง ๆ เพื่อโจมตีประชากรชาวปาเลสไตน์ ทั้งการโจมตีที่ใช้ความรุนแรงโดยตรงและการโจมตีเชิงโครงสร้าง และการโจมตีเหล่านี้เกิดขึ้นในบริบทของระบอบการปกครองของอิสราเอล ซึ่งได้สร้างให้การกดขี่และการมีอำนาจเหนือชาวปาเลสไตน์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการปกครอง และด้วยเหตุนี้ การปกครองแบ่งแยกจึงเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอ้างอิง : Amnesty
Is Israel Guilty Of Apartheid Against Palestinians?


Occupation | การยึดครอง

>>การยึดครอง (Occupation) คืออะไรการยึดครองทางทหาร หรืออาจเรียกว่า การยึดครองโดยคู่พิพาทสงคราม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การยึดครอง เป็นการเข้าควบคุมโดยกองกำลังทหารเป็นเวลาชั่วคราว ซึ่งเป็นการใช้อำนาจปกครองเหนือดินแดนที่อยู่นอกเขตอำนาจอธิปไตยของผู้ปกครอง

>>การยึดครองของอิสราเอล (Occupation) คืออะไร?พื้นที่เวสต์แบงก์ ซึ่งรวมถึงเมืองเยรูซาเล็มตะวันออก อยู่ใต้การยึดครองทางทหารของอิสราเอลมาตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 1967 เมื่อกองกำลังอิสราเอลเข้ายึดครองดินแดนระหว่างช่วงสงคราม 6 วัน ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่เวสต์แบงก์ถูกปกครองโดยรัฐจอร์แดน พื้นที่เวสต์แบงก์ในฐานะดินแดนที่ถูกยึดครองทางทหารได้รับการยืนยันสถานะจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและจากศาลสูงสุดอิสราเอล โดยการยืนยันสถานะนี้ไม่นับรวมเขตเมืองเยรูซาเล็มตะวันออกรัฐอิสราเอลได้ส่งผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวอิสราเอลเข้าไปในพื้นที่ของเวสต์แบงก์จำนวนมาก ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์และละเมิดอำนาจศาลระหว่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แถลงยืนยันอีกครั้งว่า การเข้าไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เวสต์แบงก์ “เป็นการละเมิดคำสั่งศาลระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง” ซึ่งได้แถลงการณ์ในช่วงปี 2016 ผ่านแถลงการณ์ United Nations Security Council Resolution 2334 การบุกเบิกตั้งถิ่นฐานและการขยายการตั้งถิ่นฐานเช่นนี้ทำให้นโยบายของรัฐอิสราเอลกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในฐานะที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการล่าอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานรัฐอิสราเอลถูกตั้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงหลายครั้ง รวมถึงการลงโทษแบบเหมารวม (Collective Punishment) ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ผู้ตั้งถิ่นฐานและพลเรือนชาวอิสราเอลที่ใช้ชีวิตและเดินทางในพื้นที่เวสต์แบงก์ อยู่ภายใต้กฎหมายอิสราเอลและมีสิทธิ์เลือกผู้แทนเข้าสภา แต่ในขณะที่พลเรือนชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกกักขังในดินแดนที่ถูกปิดล้อม ต้องอยู่ในอาณัติของกฎอัยการศึกและไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกผู้แทนเข้ารัฐสภาอิสราเอล โครงสร้างแบ่งแยกสองชนชั้นเช่นนี้เป็นเหตุให้อิสราเอลถูกตั้งครหาว่ากระทำอาชญากรรมด้วยการปกครองแบ่งแยก (Apartheid) อ่านเพิ่มที่นี่


The Nakba & Refugees | นักบา และ ผู้ลี้ภัย

>>นักบา (Nakba) คืออะไร?นักบา (النكبة 'หายนะ') หมายถึงการพลัดถิ่นและการถูกแย่งชิงด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ สิ่งนี้มาพร้อมกับการทำลายสังคม วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และสิทธิทางการเมือง คำศัพท์นี้ถูกใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ในปี 1948 รวมถึงการกดขี่ข่มเหงและการพลัดถิ่นของชาวปาเลสไตน์ทั่วภูมิภาคและรวมถึงการยึดครองพื้นที่ปาเลสไตน์ (เวสต์แบงค์และฉนวนกาซา) อีกด้วยในขณะที่อิสราเอลมีมุมมองและเฉลิมฉลองเหตุการณ์นี้ว่าเป็นการประกาศอิสรภาพ เหตุการณ์นี้เป็นหายนะของชาวปาเลสไตน์พื้นเมืองนับแสนที่ถูกขับไล่และเข่นฆ่า

>>ทำไมจึงมีผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์?สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์คือการกวาดล้างชาติพันธุ์ โดยกองกำลังไซออนนิสต์ระหว่างปี 1947 - 1948 ปฏิบัติการกวาดล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing) นี้เกิดขึ้นก่อนและระหว่างสงครามในปี 1948 และมีชาวปาเลสไตน์ประมาณ 750,000 คนถูกขับไล่ของออกจากบ้านของตนเอง หมู่บ้านกว่า 530 แห่งถูกทำลาย การพลัดถิ่นและการขับไล่อีกระลอกใหญ่เกิดหลังสงครามในปี 1967 อิสราเอลหวังพึ่งการพลัดถิ่นของผู้ลี้ภัยเหล่านี้ในการคงไว้ซึ่งการปกครองแบบชาติพันธุ์เป็นใหญ่ของตัวเอง อ่านเพิ่มที่นี่

>>ทำไมชาวปาเลสไตน์จึงต้องหนีระหว่าง Nakba?ชาวปาเลสไตน์ไม่ได้ ‘ทอดทิ้ง’ บ้านของตัวเองมากไปกว่าโดนบังคับออกจากบ้านด้วยหลากหลายวิธี อ้างอิงจาก Salman Abu Sitta และแหล่งอ้างอิงหลายแหล่ง หมู่บ้านปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ (54%) ถูกทิ้งร้างจากการโจมตีของกองกำลังไซออนนิสต์ สาเหตุรองลงมาคือการถูกขับไล่โดยกองกำลังไซออนนิสต์ (24%) ความหวาดกลัวว่าจะเกิดความรุนแรงแบบเดียวกันเกิดขึ้นกับหมู่บ้านอื่น ๆ จึงตัดสินใจออกจากหมู่บ้านไป (10%) ความกลัวว่าจะถูกโจมตีจากไซออนนิสต์ (7%) ในขณะที่อีก 2% เกิดจากแคมเปญการสร้างความหวาดกลัวทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะผู้คนจะลี้ภัยด้วยสาเหตุอะไรพวกเขามีสิทธิที่จะกลับคืนสู่ภูมิลำเนาของตนเอง

>>ไม่ใช่ว่าชาติอาหรับสั่งให้ชาวปาเลสไตน์อพยพหรือ?แม้ว่าคำกล่าวนี้จะเป็นที่พูดถึงขนาดไหนแต่ไม่ปรากฎหลักฐานใด ๆ ว่ามีคำสั่งให้อพยพ ว่ากันตามความจริง คำสั่งเป็นไปในทางตรงกันข้ามและชายแดนมักไม่เปิดให้ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เท่าไหร่นักโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์เพศชายในวัยฉกรรจ์ที่สามารถต่อสู้ได้ หมู่บ้านที่มีการอพยพบางส่วนโดยกองกำลังอาหรับมีน้อยกว่า 1% ของชุมชนทั้งหมดที่ถูกกวาดล้างชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำสั่งอพยพจริง ผู้ลี้ภัยก็มีสิทธิที่จะกลับคืนสู่ภูมิลำเนาของตนเอง อ่านเพิ่มที่นี่

>>ทำไมชาวปาเลสไตน์จึงกลับสู่ภูมิลำเนาตนไม่ได้?อิสราเอลห้ามไม่ให้ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์กลับคืนสู่ภูมิลำเนาโดยอ้างว่าพวกเขาเป็นภัยต่อความมั่นคง ด้วยความที่ชุมชนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลที่สร้างบนพื้นที่ที่ขโมยมานั้นไม่มีประชากรอิสราเอลจำนวนมากพอที่จะเป็นชุมชนที่เข้มแข็งได้ พวกเขาจึงพยายามสร้างกลุ่มประชากรใหม่ด้วยการกวาดล้าง 80% ของชาวปาเลสไตน์เพื่อให้ชาวอิสราเอลเป็นประชากรส่วนใหญ่ตามความต้องการการปกครองแบบชาติพันธุ์เป็นใหญ่ของไซออนนิสม์กล่าวโดยสรุป การตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลที่ต้องการชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่ตามเป้าหมายของขบวนการไซออนิสม์จะดำเนินต่อไปได้ ต้องมีการขับไล่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ไม่ให้กลับคืนสู่ภูมิลำเนา

>>ผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์มีสิทธิในการกลับคืนหรือไม่?มีสิทธิ เฉกเช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ที่มีสิทธิกลับสู่ภูมิลำเนาของตนเอง สหประชาชาติยังได้ยืนยันสิทธิในการกลับคืนของชาวปาเลสไตน์อีกด้วย แต่อิสราเอลได้โต้แย้งว่าสิทธินี้ไม่มีอยู่จริงปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งผู้ลี้ภัยจากเหตุการณ์นักบาและลูกหลานของพวกเขาที่ถูกอิสราเอลปฏิเสธสิทธิในการกลับคืนสู่บ้าน


Ethnic Cleansing | การกวาดล้างชาติพันธุ์

>>การกวาดล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing) คืออะไร?การกวาดล้างชาติพันธุ์คือการขจัดชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนาใด ๆ ออกไปจากพื้นที่อย่างเป็นระบบ ด้วยเจตนาจะทำให้พื้นที่ใด ๆ มีชาติพันธุ์เพียงกลุ่มเดียว ด้วยการขจัดออกโดยตรง กำจัด อพยพประชากรออก รวมถึงกดดันให้อพยพออกทางอ้อมเช่น บังคับให้มีการลี้ภัยและป้องกันการกลับคืน เช่น ฆาตกรรม ข่มขืน และทำลายทรัพย์สิน อ่านเพิ่มที่นี่คำจำกัดความนี้ตรงกับเหตุการณ์นักบาและนโยบายของอิสราเอล


Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

>>การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) คืออะไร?การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คือ อาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดต่อมนุษยชาติในธรรมนูญกรุงโรมและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นิยามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไว้ว่าหมายถึง “การกระทำใด ๆ ดังต่อไปนี้ซึ่งกระทำโดยเจตนาที่จะทำลายกลุ่มชนชาติ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ทั้งหมดหรือบางส่วน" ซึ่งได้แก่1. การสังหารสมาชิกของกลุ่ม
2. การก่อให้เกิดภัยร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจต่อสมาชิกของกลุ่ม
3. จงใจทำลายสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่ม โดยมุ่งเป้าเพื่อทำลายล้างทางกายภาพทั้งหมดหรือบางส่วน
4. บังคับใช้มาตรการเพื่อป้องกันการเกิดภายในกลุ่ม
5. บังคับให้เด็กของกลุ่มหนึ่งย้ายไปเป็นสมาชิกของอีกกลุ่ม

>>อิสราเอลกระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) อย่างไร?การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มีองค์ประกอบคือ เจตนาและการกระทำ นอกจากที่อิสราเอลได้มีถ้อยแถลงที่แสดงเจตนาในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จากกองทัพระดับสูงสุดและรัฐบาลแล้ว ยังได้กระทำความผิดที่เข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อีกจาก 3 ใน 5 ข้อ1. อิสราเอลได้สังหารชาวปาเลสไตน์ไปแล้วมากกว่า 10,000 คน เป็นเด็กและผู้หญิงไปแล้วกว่า 8,000 คนนับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม
2. อิสราเอลได้เพิ่มการกักขังชาวปาเลสไตน์ทั่วเวสต์แบงก์ที่ถูกยึดครอง โดยเป็นการควบคุมตัวด้วยอำนาจปกครองและออกมาตรการฉุกเฉินที่เอื้อต่อการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างไร้มนุษยธรรมและเสื่อมทราม
3. ทหารอิสราเอลระเบิดทำลายล้างบ้านที่อยู่อาศัยในกาซาไปมากกว่าครึ่ง ในเวสต์แบงก์ ทหารอิสราเอลได้สั่งห้ามเกษตรกรชาวปาเลสไตน์ไม่ให้เข้าถึงที่ดินของตน และยังได้เผาทำลายผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย
การที่อิสราเอลกำลังทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้นเป็นความคิดเห็นของนักวิชาการด้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กว่า 800 คนและนักวิชาการอาชญากรรมของรัฐ 47 คนที่ได้ออกแถลงการณ์ถึงเรื่องนี้นอกจากนี้อิสราเอลยังกระทำเกือบครบทุกขั้นตอนของ 10 ขั้นตอนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เสนอโดย Genocide Watch

รวม Infographic
ที่จัดทำและแปลโดย THAI for Palestine


รวมบทความโดย THAI for Palestine





Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib | รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศรา กาติ๊บ





Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib | รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศรา กาติ๊บ


(บทความนี้เน้นใจความสำคัญที่ "ชื่อเรียก" โดยไม่ได้ลงลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์)


ชื่อ “ปาเลสไตน์” และรากศัพท์ของมันอยู่คู่กับดินแดนนี้มานานหลายพันปี ปรากฎหลักฐานมากมายตามจารึกโบราณต่าง ๆ เรียกดินแดนบริเวณนี้ด้วยนามของปาเลสไตน์ แน่นอนว่าควบคู่ไปกับชื่ออื่น ๆ เพราะโลกแห่งความเป็นจริงไม่ใช่ดังนิทานหรือนิยายที่กลุ่มคนหรือดินแดนใด ๆ จะมีชื่อเฉพาะบัญญัติไว้อย่างเป็นมาตรฐาน ทุกดินแดนในโลกถูกบัญญัติด้วยนามและขอบเขตที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย“ปาเลสไตน์” ในอดีตเคยเป็นทั้งชื่อเฉพาะของคนกลุ่มหนึ่ง ทั้งเป็นชื่อเรียกภูมิภาครวม ๆ ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย และเรียกรวมถึงผู้คนในดินแดนที่ระบุนั้นตามยุคสมัยต่าง ๆกระนั้นก็มีมุมมองอันไร้ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ระบุว่าชื่อนี้เป็นชื่อใหม่เอี่ยมที่ถูกตั้งโดยชาวโรมันประมาณ ค.ศ. 130 หรือแย่กว่านั้นคือ เชื่อว่าถูกตั้งโดยอังกฤษยุคล่าอาณานิคม

มายาคติ:
“ปาเลสไตน์เป็นชื่อที่โรมันตั้งขึ้นหลังพวกเขาปราบกบฏชาวยิวในยูเดียหลังการกบฏของชาวยิว เปลี่ยนชื่อเพื่อตัดขาดดินแดนนี้กับความเป็นยิว”
"ปาเลสไตน์เพิ่งมีเมื่อก่อตั้ง British Mandate of Palestine"

ถ้าคุณเคยศึกษาค้นคว้าเรื่องปาเลสไตน์มาระยะหนึ่ง คุณคงได้พบกับข้อโต้เถียงไร้เหตุผลจากฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐอิสราเอล หัวข้อหนึ่งที่ถูกกล่าวอ้างอย่างต่อเนื่องคือการอ้างว่าชื่อ “ปาเลสไตน์” นั้นมีต้นกำเนิดมาจากชาวโรมัน และมีขึ้นเพื่อเป็นการลงโทษโดยชาวโรมันต่อชาวยิวมันน่าสนใจที่ผู้คนสามารถเลือกสรรข้อมูลที่ตนต้องการเท่านั้นเมื่อพวกเขาอ่านประวัติศาสตร์ พวกเขามักเรียนรู้แค่ให้เพียงพอที่จะสนับสนุนมุมมองตนเอง และแยกมุมมองตัวเองตัดขาดจากบริบททางประวัติศาสตร์หรือภาพรวมของภูมิภาค พวกเราไม่ทราบว่าใครเป็นคนคิดค้นข้ออ้างนี้และใครตีประเด็นนี้ แต่ง่าย ๆ คือมันไม่ใช่ข้อเท็จจริง ข้ออ้างนี้สามารถหักล้างได้ด้วยการค้นหาเพียงไม่ถึง 10 วินาที อย่างไรก็ตาม แม้แต่โฆษณาชวนเชื่อที่หยาบที่สุดก็สามารถกลายมาเป็นข้อเท็จจริงในทัศนะของคนบางกลุ่มได้ โปรดจำไว้ว่าเมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์ มันมีรายละเอียดและความไม่สม่ำเสมอมากมายที่ทำให้มันไม่สามารถมองเป็นขาวและดำ นั่นทำให้พวกชาติพันธุ์เป็นใหญ่นิยมที่มองโลกทัศน์แบบแบ่งขั้วมีความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ที่ต่ำมากร่องรอยแรกสุดของชื่อ “ปาเลสไตน์” มาจากยุคฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 และ 3 คร่าว ๆ คือช่วงกลางศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล มีจารึกช่วง 1150 BC ที่วิหาร Medinet Habu เมืองลักซอร์กล่างถึงชื่อ “Peleset (PLST)” ในบรรดาชื่อที่ต่อสู้กับแรเมซีสที่ 3ทุกวันนี้เรารู้จัก Peleset ในชื่อชาว ฟิลิสไตน์ (Philistines)อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ชาวฟิลิสไตน์ถูกเชื่อว่าเป็นนักปล้นสะดมภ์ป่าเถื่อนจากโพ้นทะเลมาอย่างยาวนาน และเชื่อว่าอาจมีต้นกำเนิดจากทะเลอีเจียนหรือยุโรปทางใต้ที่รุกรานเลวานท์ ซึ่งนี่จะเชื่อมโยงพวกเขากับมุมมองไบเบิ้ล อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนก็ได้วิเคราะห์ว่าชาวฟิลิสไตน์เองก็เป็นกลุ่มชนที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่ในเลวานท์และพื้นที่ข้างเคียงเช่นกัน (วิจัยนี้ชี้ว่าชาวฟิลิสไตน์อาจพลัดถิ่นมาจากอนาโตเลีย ไซปรัส และซีเรีย แต่ก็ยังมีข้อโต้เถียง หรือชนกลุ่มหนึ่งไม่จำเป็นต้องมีที่มาเดียวกันทั้งหมด) พวกเขาไม่ได้มีหลักฐานว่ามีวิถีชีวิตป่าเถื่อนและอาจอาศัยอย่างสันติร่วมกับชาวคานาอันอื่น ๆ (อิงจากบทความนี้)

ความพยายามจะจับคู่หลักฐานทั้งหลายกับมุมมองเรื่องราวในพระคัมภีร์ (Biblical Narrative) ทำให้นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีมองข้ามความไม่สอดคล้องและหลักฐานที่ขัดแย้งกันไปบางประการ คุณจะพบว่าประวัติศาสตร์ปาเลสไตน์มหาศาลติดกับดักนี้ เรื่องราวในคัมภีร์ถูกตีความแทนที่หลักฐานข้อเท็จจริง รวมทั้งมายาคติเกี่ยวกับปาเลสไตน์ด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าต้นกำเนิดของชาวฟิลิสไตน์จะเป็นเช่นไร ชื่อของพวกเขาเชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่นี้ ไม่ใช่เพียงในจารึกของอียิปต์โบราณ จารึกของอัสซีเรียจากศตวรรษที่ 7-8 ก่อนคริสตกาลได้เรียกพื้นที่นี้ว่า “Palasthu” นี่คือผลของอิทธิพลชาวฟิลิสไตน์และความสัมพันธ์ของพวกเขากับผู้อาศัยอื่น ๆ ในเลวานท์ ก่อนหน้านั้น พื้นที่เหล่านี้รับรู้กันในชื่อว่า “Djahi” “Retenu” หรือ “Canaan” มากกว่า แต่เมื่อเริ่มเข้าปลายยุคสำริด ผลของอิทธิพลจากชาวฟิลิสไตน์ทำให้ชื่อ “Palasthu” หรือ “ปาเลสไตน์” ถูกใช้เรียกบริเวณนี้แทน พวกเขาอาศัยร่วมสมัยกับอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์โบราณ รวมถึงอาณาจักรของกลุ่มชนอื่น ๆ ที่หลากลายในเลวานท์ซึ่งเป็นธรรมชาติของโลกทุกยุคสมัย

อ้างอิงจาก Nur Masalha อิทธิพลของชาวฟิลิสไตน์ยังคงเหลือมาจนปัจจุบัน

“...ชื่อเรียกเมืองเกือบทั้งหมดของฟิลิสเตีย : กาซา (Ghazzah), อัชเคลอน (Asqalan), อัชด็อด (Isdud), ทันทูร์ (Tantura), กัท (Jat) และ เอโครน (Aqir) หลงเหลือมาจนถึงยุคปัจจุบันและยังคงอยู่ในชื่อภาษาอารบิคของชาวปาเลสไตน์ ที่ส่วนมากถูกขับไล่ลดจำนวนประชากรโดยอิสราเอลในปี 1948”

มันเป็นช่วงยุคคลาสสิคและกรีกนี้เอง (ประมาณ 500-135 BC) ที่ชื่อ “Palestine” ที่พวกเรารู้จักวันนี้เริ่มถูกใช้ การใช้คำว่า Palaistine และ Phalastin ยังแพร่หลายในงานเขียนยุคสมัยนั้นด้วย นักปรัชญาและนักวิชาการอย่างปโทเลมีและอริสโตเติลกล่าวถึง Palaistine/Palestina และหนังสือ The Histories ของเฮโรโดตัสก็ระบุถึงปาเลสไตน์ไว้มากมายในข้อมูลเหล่านี้ การใช้ชื่อ “Palaistine” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะพื้นที่ที่ปกครองโดยชาวฟิลิสไตน์เท่านั้น และมีความหมายที่กว้างถึงภูมิภาคทั้งหมด ในบางกรณีใช้สื่อสารกว้างถึงพื้นที่ที่ปัจจุบันเราเรียกว่าจอร์แดนมีตัวอย่างการใช้คำเหล่านี้อีกมากมาย และเป็นที่แน่นอนว่าการใช้คำนี้มีมาก่อนยุคโรมันและการยึดครองปาเลสไตน์ของพวกเขา แม้ในยุคต่าง ๆ นิยามของคำเรียกนี้จะไม่ตรงกัน ด้วยข้อจำกัดการรับรู้ของคนโบราณและความเข้าใจที่ลื่นไหลไปตามยุคสมัย ซึ่งเป็นธรรมดาของประวัติศาสตร์โลกในอดีต


ยุคโบราณ

สมัยอียิปต์

c. 1150 BCE: วิหาร Medinet Habu: บันทึกกลุ่มคนที่เรียกว่า P-r-s-t (Peleset) ในบรรดากลุ่มคนที่ต่อสู้กับอียิปต์สมัยของแรเมซีสที่ 3 [1][2][3]
(ระบุเป็นกลุ่มคน)
c. 1150 BCE: ปาปิรุส Harris I: “ข้าแผ่อาณาเขตของอียิปต์; ข้าโค่นเหล่าพวกผู้รุกรานในดินแดนพวกเขา ข้าฟันพวก Denyen ในหมู่เกาะของพวกเขา และพวก Thekel และ Peleset (Pw-r-s-ty) กลายเป็นเถ้าถ่าน [4]
(ระบุเป็นกลุ่มคน)
c. 1000 BCE: รายชื่อแห่ง Amenope: “Sherden, Tjekker, Peleset, Khurma” [5]
(คาดว่าระบุเป็นกลุ่มคนหรือชื่อเมือง)
c. 900 BCE: ประติมากรรม Padiiset จารึกว่า
“ผู้แทนทางการทูต - คานาอัน - Peleset” [6]
(ระบุเป็นชื่อกลุ่มคน/สถานที่)

สมัยอัสซีเรียน

c. 800 BCE: Adad-nirari III, จารึก Saba'a: “ในปีที่ 5 (ของการครองราชย์) ข้านั่งบัลลังก์และนำบ้านเมืองของข้าสู่สงคราม ข้าสั่งกองทัพสู้รบกับฟิลิสเตีย (Pa-la-áš-tu) …. ข้ารับเครื่องบรรณาการทั้งหมดที่พวกเขานำมาให้อัสซีเรีย จากนั้นข้าสั่งไปสู้รบกับประเทศดามัสกัส (Ša-imērišu)” [7]
(ระบุเป็นชื่อกลุ่มคน/สถานที่)
c. 735 BCE: Qurdi-Ashur-lamur ถึง Tiglath-Pileser III, จดหมาย Nimrud ND 2715 “นำไม้ซุงลงมา จัดการงานของเจ้า (แต่) อย่าส่งให้พวกอียิปต์ (mu-sur-a-a) หรือพวกฟิลิสเตีย(pa-la-as-ta-a-a) หรือข้าจะไม่ให้เจ้าขึ้นไปบนภูเขา” [8]
(ระบุเป็นชื่อกลุ่มคน)
c. 717 BCE: Sargon II's Prism A: บันทึกพื้นที่นี้ว่า “Palashtu” หรือ “Pilistu” [9]
(ระบุเป็นชื่อสถานที่)
c. 700 BCE: จารึก Azekah บันทึกพื้นที่นี้ว่า Pi-lis-ta-a-a [10]
(ระบุเป็นชื่อกลุ่มคน/สถานที่)
c. 694 BCE: Sennacherib "Palace Without a Rival: A Very Full Record of Improvements in and about the Capital (E1)": “(ผู้คนของ) Kue และ Hilakku, Pilisti และ Surri” [11]
(ระบุเป็นชื่อกลุ่มคน/สถานที่)
c. 675 BCE: สนธิสัญญาของ Esarhaddon และ Baal แห่งเมือง Tyre : ระบุเรียกเขตนี้ทั้งหมดว่า Pilistu [12]
(ระบุเป็นชื่อสถานที่)

ยุคคลาสสิก

สมัยกรีก / เปอร์เซีย (อะคีเมนิด)

เฮโรโดตัส (The Histories) ระบุหลักฐานทางประวัติศาสตร์แรกที่ระบุดินแดน Philistia หรือ Palestine กว้างกว่าที่เข้าใจในไบเบิ้ล (ที่ระบุเพียงว่าเป็นดินแดนของชาวฟิลิสไตน์) ชัดเจน รวมถึงระบุเป็นชื่อกลุ่มคน เช่น(เล่ม1) ระบุว่าเป็น “เขตแดนหนึ่งของซีเรีย เรียกว่า Palaistine(เล่ม3) “ตอนนี้เส้นทางที่จะเข้าถึงอียิปต์มีเพียงทางนี้ ถนนยาวจากฟีนีเซียไกลจนถึงเมือง Cadytis (อาจจะเป็นกาซา) ที่เป็นของกลุ่มคนที่เรียกว่า ชาวซีเรียแห่งปาเลสไตน์"(เล่ม4) “ภูมิภาคที่ข้ากำลังพูดถึงอยู่เลียบทะเล เหยียดยาวจากฟีนีเชีย ตามชายฝั่ง Palestine-Syria มาสุดที่อียิปต์”(เล่ม 7): [พวกฟีนีเชียน และซีเรียนแห่งปาเลสไตน์] อ้างอิงจากการบันทึกของพวกเขา กลุ่มนี้อาศัยอยู่บนทะเลอีริเธรียน(ทะเลแดง)ในสมัยโบราณ แต่ข้ามมาตั้งถิ่นฐานที่ชายฝั่งของซีเรีย ที่พวกเขาอยู่มาถึงทุกวันนี้ บริเวณนี้ของซีเรีย และภูมิภาคนี้ทั้งหมดไปถึงอียิปต์ ถูกรับรู้ในชื่อว่า Palestinec. 340 BCE: อริสโตเติล, อุตุนิยมวิทยา “อีกครั้ง ดังที่เล่าขานกันว่ามีทะเลสาบใน Palestine ที่คุณสามารถมัดคนหรือสัตว์และโยนลงไปแล้วมันจะลอยและไม่จม พวกเขาบอกว่าทะเลสาบนี้ขมและเค็มมากจนไม่มีปลาอาศัยอยู่ และถ้าคุณแช่เสื้อผ้าและซักมัน มันจะสะอาด” [13] นักวิชาการเข้าใจว่านี่คือการกล่าวถึงเดดซี (Dead Sea) (ระบุเป็นชื่อสถานที่)

สมัยกรีก (ปโทเลมี/เซลูซิด/ฮัชโมเนียน)

c. 150 BCE: เขียนโดย Polemon แห่งเอเธนส์ “Greek Histories” อ้างโดย Eusebius of Caesarea ใน Praeparatio evangelica “ในรัชสมัยของ Apis บุตรแห่ง Phoroneus ส่วนหนึ่งของกองทัพอียิปต์ถูกขับไล่ออกจากอียิปต์ แล้วจึงไปอาศัยอยู่ไม่ไกลจากอาราเบีย ในดินแดนของซีเรียที่เรียกว่า Palestine” [14]
(ระบุเป็นชื่อสถานที่)
c. 130 BCE: Agatharchides (5.87, อ้างอิงจาก Diodorus Siculus's Bibliotheca historica; Strabo's Geographica, and Photios' Bibliotheca): "ใกล้กับเกาะ (ติราน) มีแหลมที่กินพื้นที่จากศิลาแห่งนาบาเทียน (เปตรา) ไปจนถึงดินแดนของ Palestine" [15]
(ระบุเป็นชื่อสถานที่)

สมัยโรมัน

นักเขียนในช่วงสมัยนี้ใช้คำว่า Palestine (และใกล้เคียงอื่น ๆ) ในการสื่อถึงพื้นที่ภูมิภาคนี้ทั้งหมดระหว่างอียิปต์และซีเรีย และสื่อถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ รวมถึงอ้างอิงถึงพื้นอาศัยของชาวยิวภายในภูมิภาคปาเลสไตน์นี้ด้วย ร่วมกับคนกลุ่มอื่น ๆ

และอีกมากมาย


สรุป

ปาเลสไตน์เป็นชื่อของพื้นที่ใช่หรือไม่? : ใช่ คำคำนี้และคำที่ใกล้เคียงถูกใช้เรียกภูมิภาคและพื้นที่บริเวณหนึ่งมาอย่างยาวนานหลายพันปีปาเลสไตน์เป็นชื่อของชนชาติ/ชาติพันธุ์หรือไม่? : ทั้งใช่ และ ไม่ใช่ ในอดีตคำคำนี้เชื่อว่ารากศัพท์มาจาก Peleset ชื่อเรียกกลุ่มคนหนึ่งบริเวณชายฝั่งของเลวานท์ ที่นักวิชาการลงความเห็นว่าคือชาว “ฟิลิสไตน์” หนึ่งในผู้อยู่อาศัยโบราณบริเวณคานาอัน และต่อมาก็ถูกใช้เรียกพื้นที่ภูมิภาคนี้อย่างกว้างขวางขึ้น และใช้สื่อถึงผู้คนในดินแดนนั้นไปด้วย คำว่าปาเลสไตน์สามารถใช้สื่อถึงผู้คนผู้อาศัยในดินแดนนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชาวมุสลิม คริสต์ ยิว ซามาริตัน เบดูอิน หรืออื่น ๆ ไม่ว่ามีเชื้อสายชาวฟิลิสไตน์หรือไม่ ซึ่งพวกเขาเองก็เป็นทายาทลูกหลานที่ผสมผสานของชาวคานาอันโบราณที่รับอิทธิพลจากอารยธรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเมื่อมีกระแสชาตินิยมขึ้นในยุคหลัง การเป็นชาวปาเลสไตน์จึงได้เชื่อมโยงเข้ากับการเป็นรัฐชาติปาเลสไตน์(หมายเหตุ: การมองว่าชาว ‘อาหรับ’ เข้ามาแทนที่นั้นก็มาจากความไม่เข้าใจเรื่องการถืออัตลักษณ์อาหรับ “ความเป็นอาหรับ” ไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับพันธุกรรม คนพื้นเมืองสามารถรับวัฒนธรรม-ภาษาอาหรับและผสมผสานกับกลุ่มคนภายนอกได้ตลอดประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับแทบทุกกลุ่มคนในโลก ไม่ว่าชาวคานาอัน ชาวยิว หรือ ชาวไทย)


ข้ออ้างไม่จริงว่าชื่อปาเลสไตน์เป็นสิ่งใหม่จากยุคโรมันหรืออังกฤษไม่ได้ต้องการชี้ความจริงใด ๆ เพราะมันมีขึ้นเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้คนในดินแดนปาเลสไตน์และสร้างภาพว่าพวกตนเป็นเจ้าของดินแดน และพยายามจะผูกเรื่องนี้เข้ากับการประหัตประหารชาวยิวโดยโรมันลองคิดดูว่า ถ้าความเข้าใจผิดที่สามารถหาข้อมูลหักล้างได้ภายใน 10 วินาทีเช่นนี้ยังถูกเผยแพร่มากมายโดยผู้สนับสนุนอิสราเอลได้ คุณจินตนาการออกไหมว่าจะยังมีข้อมูลปลอมใด ๆ อีกที่เป็นแค่เรื่องกุของปลอมที่ถูกพูดเพื่อหาข้ออ้างให้พวกเขา?น่าเศร้าที่การโต้แย้งไร้ข้อเท็จจริงพวกนี้กลายเป็นกระแสหลักของการถกเถียงเรื่องปาเลสไตน์ และชาวปาเลสไตน์ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อช่วงชิงมุมมองจากข้ออ้างปลอม ๆ เหล่านี้พวกเราหวังว่าวันหนึ่งพวกเราจะไม่ต้องสู้กับข้อโต้แย้งเหล่านี้อีกต่อไป

ภูมิภาคนี้จะได้ปลดแอกและฟื้นฟูจากประวัติศาสตร์ที่ถูกขโมยเสียที


ขอบคุณต้นฉบับและแรงบันดาลใจจากบทความ
Myth : The name "Palestine" was a Roman invention โดย Decolonize Palestine
อ่านประเด็นประวัติศาสตร์เพิ่มเติม :

Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib
รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศรา กาติ๊บ

On this VDO, the priest is a Christian Palestinian. You probably know that there are also Christian Palestinians, not just Muslims. And there are several churches in both Jerusalem and Gaza (but the ones in Gaza, as you know, were bombed by the IDF).This particular priest as well as many others who live there have also witnessed atrocities committed by the Israeli government towards the Palestinians. So this year as Christmas is approaching during this difficult time in Palestine, instead of celebrating Christmas as has been done every year, the churches will only perform the prayer. As you might know, Jesus was also born under the oppression of the Roman Empire. So because of what is happening in Gaza, the churches have changed the nativity scene of the baby Jesus to lie down under the rubble just like what's happening right now in Gaza, full of rubble.Also, if you notice the cloth wrapped around the baby Jesus, it is the Keffiyeh with the pattern symbolising Palestine. Based on the interview given by Father Munther Ishaq , Lutheran Pastor in Bethlehem (Bethlehem is the birthplace of Jesus, and is a Palestinian town, located south of Jerusalem in the occupied West Bank...) Now what I was trying to say is that from what Father Munther Ishaq said in the interview with Al Jazeera, I feel that it was very thoughtful of the Christian priests there in Jerusalem and Bethlehem to have high consideration for the Palestinian people who are suffering and some of whom have lost their lives because of the bombs on Gaza.The majority of the people who were killed were children. And the churches there are in solidarity with Palestine. I'm touched by this move from the churches.


VDO clip นี้ เป็นการสัมภาษณ์บาทหลวงคริสต์ชาวปาเลสไตน์ นาม Munther Ishaq ซึ่งเป็น Evangelical Lutheran Christmas Church Pastor ณ โบสถ์ในเมือง Bethlehem ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซูเนื่องในโอกาสวัน Christmas ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันประสูติของพระเยซู (Jesus Christ) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของอย่างน้อยสองศาสนา คือ คริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม ซึ่งถือว่าพระเยซูเป็นศาสดาสำคัญมากท่านหนึ่ง จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะอธิบายเนื้อความใน VDO clip นี้อย่างคร่าว ๆ และขยายความในบางส่วนชาวปาเลสไตน์มิได้มีเฉพาะมุสลิมเท่านั้น แต่มีชาวปาเลสไตน์ที่นับถือคริสต์ศาสนาด้วยเช่นกัน ในอดีต Christian Palestinians นั้นเคยมีจำนวนประชากรถึงราว ๆ 15-20%อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประชากรชาวปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาคริสต์จะมีจำนวนน้อยลงไปมากในปัจจุบันก็ตาม ก็ยังมีชาวปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาคริสต์และมีโบสถ์ที่ตั้งอยู่ทั้งใน Gaza Strip และในกรุง Jerusalem แต่เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า โบสถ์ใน Gaza Strip ถูกบอมบ์โดยอิสราเอลบาทหลวงท่านนี้และท่านอื่น ๆ ใน ปาเลสไตน์ได้รับทราบถึงสถานการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์โดยเฉพาะใน Gaza ที่เด็กรวมถึงทารกเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดโดยอิสราเอลกว่าหนึ่งหมื่นคนแล้ว นับถึง Christmas Eve นี้ดังนั้น Christmas ปีนี้ โบสถ์ทั้งหลายในดินแดนปาเลสไตน์นี้ จึงงดพิธีเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส ดังที่เป็นประเพณีปฏิบัติทุกปี แต่ยังคงมีพิธีสวดมนต์ดังที่หลายท่านทราบกันดี พระเยซูประสูติในยามที่อยู่ภายใต้การปกครองกดขี่ของอาณาจักรโรมัน ดังนั้น จากสถานการณ์อันเลวร้ายที่กำลังเกิดขึ้นที่ Gaza อยู่ในขณะนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาล Christmas พอดี โบสถ์นี้จึงได้เปลี่ยนแปลงฉากการประสูติของพระเยซูในวัยทารก (the Nativity Scene of Baby Jesus) ให้เห็นถึงทารกที่นอนภายใต้ซากปรักหักพัง (rubble) ดังเช่นทารกและเด็กชาวปาเลสไตน์ใน Gaza ที่นอนอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังในขณะนี้จากการทิ้งระเบิดของอิสราเอลนอกจากนั้น ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าทารกใน clip นี้ (Baby Jesus) มีผ้า Keffiyeh ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของชาวปาเลสไตน์ห่อหุ้มตัวทารกอยู่ด้วยนับเป็นการแสดงถึงภราดรภาพ (Solidarity) กับชาวปาเลสไตน์ใน Gaza Strip ที่กำลังทนทุกข์ทรมานอยู่ในขณะนี้

มนุษยธรรมเป็นเรื่องของทุกคน

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้างานสัมมนาวิชาการ [ปาเลสไตน์: โมงยามแห่งความจริง]อังคารที่ 30 ม.ค. 2567ณ ห้องประชุม 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดโดย สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยLive


วันนี้ผมขอเป็นเสียงให้กับผู้ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ
วันนี้ผมขอเป็นเสียงให้กับผู้ถูกกดขี่
วันนี้ผมขอเป็นเสียงให้กับผู้ที่ไม่มีเสียง
วันนี้ผมขอเป็นเสียงแห่งสันติภาพ
วันนี้ผมขอเป็นเสียงแห่งสติให้กับสังคมไทย และให้กับสังคมโลก
วันนี้ผมขอเป็นเสียงให้กับปาเลสไตน์
สวัสดีผู้ที่รักสันติภาพทุกคน ประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างคนอาหรับและคนยิวยืดเยื้อยาวนานมากว่า 100 ปี ในดินแดนที่มีชื่อว่าปาเลสไตน์ หลายคนกล่าวว่าความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องซับซ้อนผมไม่เห็นด้วยใช่ มันซับซ้อนในเรื่องรายละเอียดทางกฎหมายระหว่างประเทศ ใช่ มันละเอียดอ่อนเพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก แต่ไม่ใช่ มันไม่ซับซ้อนในหลักการและเหตุผล มันเรียบง่ายและตรงไปตรงมาคนอาหรับซึ่งอยู่ในดินแดนที่เรียกในปัจจุบันว่า ปาเลสไตน์ ถูกยึดแย่งพื้นที่ของตนเองด้วยกำลังและความรุนแรงอย่างไม่เต็มใจ ถูกปฏิบัติอย่างไร้ซึ่งศักดิ์ศรีของมนุษย์ ถูกผลักไสออกจากดินแดนตัวเองเพื่อสร้างรัฐใหม่ให้กับคนนอก ให้กับคนยิวเมื่อคนอาหรับเรียกร้องเสรีภาพ และเรียกร้องประเทศให้ตนเองบ้าง ก็ถูกปราบปรามริดรอนสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว ในการแสดงออกเมื่อการเรียกร้องอย่างสันติใช้ไม่ได้ผล บ้างจึงลุกขึ้นใช้ความรุนแรง แต่ก็ถูกตอบโต้จากกองทัพที่มีประสิทธิภาพทางการรบมากที่สุดกองทัพหนึ่งอย่างโหดเหี้ยมและไม่ได้สัดส่วน ทั้งหมดกระทำด้วยการสนับสุนนจากชาติมหาอำนาจและจากการเพิกเฉยของประเทศอื่นย้ำอีกครั้งและจากการเพิกเฉยของประเทศอื่น
ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อาณาจักรออตโตมัน ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่ออาณาจักรออตโตมันล่มสลาย ปาเลสไตน์ถูกปกครองโดยอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นประกาศสนับสนุนให้เกิดการตั้งรัฐใหม่ให้กับคนชนชาติยิว โดยมีเอกสารรับรองที่สำคัญคือแถลงการณ์บัลโฟร์ หรือ Balfour Declaration ในปี 1917 ซึ่งมีข้อความสำคัญว่ารัฐบาลอังกฤษเห็นด้วยที่จะมีการตั้งชาติใหม่เพื่อเป็นบ้านให้กับคนยิวบนแผ่นดินปาเลสไตน์ และจะใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้วัตถุประสงค์นี้เป็นจริง
อาจจะกล่าวได้ว่าแนวคิดไซออน ได้รับการตอบสนองจากชาติมหาอำนาจในขณะนั้นแล้ว
ข้อสังเกตก็คือในเอกสารฉบับนี้ไม่มีการกล่าวถึง ไม่มีการใช้คำว่าคนอาหรับหรือคนปาเลสไตน์เลยแม้แต่คำเดียวในแถลงการณ์บัลโฟร์ ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นมีคนยิวคิดเป็นเพียงร้อยละ 6% ของจำนวนประชากรเท่านั้น และคนอาหรับเป็น 94%ข้อเท็จจริงนี้สอดคล้องกับแนวคิดและสโลแกนของไซออนิสม์ ที่เพิกเฉยไม่สนใจต่อการมีชีวิตอยู่ของคนพื้นเมืองในปาเลสไตน์ สโลแกนนั้น A land without a people for a people without a land. “แผ่นดินที่ไม่มีผู้คน เพื่อผู้คนที่ไม่มีแผ่นดิน” แนวคิดนี้ปฏิเสธการดำรงอยู่ของชนอาหรับพื้นเมือง หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวคิดไซออนได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ชาวยิว คนยิวเริ่มอพยพย้ายถิ่นฐานมาสู่ปาเลสไตน์ ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อในพันธสัญญาทางศาสนา แต่อีกส่วนคือการย้ายถิ่นฐาน ด้วยความหวาดกลัวต่อลัทธิต่อต้านรังเกียจยิว หรือ antisemitism ในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นาซีเยอรมัน สัดส่วนประชากรชาวยิวในปาเลสไตน์สูงขึ้นเป็นลำดับจากร้อยละ 6 ในปี 1917 เป็นร้อยละ 18 ในปี 1932 และร้อยละ 31 ในปี 1939นับจากนั้นเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ไม่เคยสงบสุข ปาเลสไตน์ไม่เคยมีสันติภาพที่ยั่งยืนเลยในปัจจุบันการต่อต้านของชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ แต่มาระเบิดขึ้นในปี 1948 ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1947 ทั้งโซเวียตและอเมริกา สองประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น สนับสนุน United Nations General Assembly Resolution 181 หรือต่อมาเรียกกันโดยทั่วไปว่า UNGA 181 อันเป็นการหยุดการปกครองของอังกฤษในปาเลสไตน์และรับรองการเกิดขึ้นของประเทศใหม่ที่ชื่ออิสราเอล อาจกล่าวได้ว่า UNGA 181 เป็นสูติบัตรของประเทศอิสราเอล
พฤษภาคม 1948 อิสราเอลประกาศอิสรภาพ สิ่งที่ตามมาคือสงคราม นับเป็นสงครามเต็มรูปแบบครั้งแรกในนามอาหรับ-ปาเลสไตน์ รัฐอาหรับต่อต้านการเกิดขึ้นของอิสราเอลและพ่ายแพ้อย่างน่าอับอายต่อกองทัพที่มีศักยภาพสูงกว่ามากของอิสราเอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจ
สงครามและโครงการการยึดประเทศขับไล่ชนพื้นเมืองออกจากปาเลสไตน์ หรือที่รู้จักในคำว่า “ความบ้าคลั่ง” Nakba ในภาษาอารบิก หรือ The Catastrophe ในภาษาอังกฤษ ในช่วงปี 1947-1951 ส่งผลกระทบมหาศาล ชาวปาเลสไตน์บ้านแตกสาแหรกขาด เมืองถูกทิ้งระเบิด ถูกยึดบ้าน ถูกบังคับให้อพยพเมืองทั้งเมือง ถูกเข่นฆ่า ถูกขับไส ให้ออกนอกผืนดินของตัวเองไปเป็นผู้ลี้ภัยอยู่ประเทศอื่นประมาณกันว่าชาวปาเลสไตน์ประมาณเจ็ดแสนคนกลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยกระจัดกระจายตามประเทศและค่ายผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ในโลกอาหรับ คนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ ไม่ได้กลับบ้านเกิดของตนเองอีกเลย เจ็ดแสนคนนี้ เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่เป็นน้อง เป็นครอบครัวและเป็นเพื่อนของใครอีกหลายคน พวกเขามีชีวิต มีเลือดเนื้อมีหัวจิตหัวใจเหมือนกับเรา จนถึงวันนี้พวกเขายังไม่ได้รับความเป็นธรรมสงคราม ความไม่แน่นอน ความวุ่นวาย ความทุกข์ยาก คือนิยามของตะวันออกกลางในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 สงครามสุเอซ 1956 สงครามอาหรับ-อิสราเอล 1967 สงครามเลบานอน 1982 สงครามคูเวต 1990 สงครามอิรัก 2003ไม่มากก็น้อย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม สงครามเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปัญหาปาเลสไตน์ทั้งสิ้นแม้ว่าจะมีความพยายามจากนานาชาติที่จะสร้างสันติภาพขึ้น ในนามของ Oslo Accord ปี 1993 แต่ Oslo Accord ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ในทางการทูตถือว่าปาเลสไตน์ประนีประนอมมากแล้ว ปาเลสไตน์ยอมรับการดำรงอยู่ของประเทศอิสราเอล แลกกับการที่อิสราเอลยอมรับ PLO ในฐานะองค์กรตัวแทนปาเลสไตน์ อิสราเอลได้พื้นที่ส่วนใหญ่ ปาเลสไตน์ได้สิทธิ์ในการปกครองตัวเองนิด ๆ หน่อย ๆการยอมรับการดำรงอยู่ของอิสราเอลในฐานะประเทศ แลกมาด้วยการแบ่งแยกและกีดกัน แลกมาด้วยอิสรภาพในการเดินทาง กำแพงสูงใหญ่ถูกตั้งขึ้นเพื่อแบ่งคนยิวและคนอาหรับ จุดตรวจ checkpoint ด่านทหารตั้งเต็มพื้นที่ คนยิวและผู้นำ PA และ PLO ระดับวีไอพี เดินทางเข้าออกโดยไม่ถูกตรวจสอบ แต่คนอาหรับทั่วไปกว่าจะผ่านด่าน กว่าจะได้รับใบอนุญาตนั้นแสนยาก และการตรวจสอบก็ใช้เวลานานและยุ่งยาก ทั้งอาหาร หยูกยา สิ่งอุปโภคบริโภค หายากลำบาก และล้วนแต่ต้องถูกตรวจสอบมากมายชีวิตพังทลายพอมาถึงกลางทสวรรษที่ 2010 คนสองล้านคนก็อยู่ภายใต้เส้นความยากจนแล้ว ถึงร้อยละ 52 ไม่มีงานทำพูดอีกครั้ง คนครึ่งหนึ่ง ไม่มีงานทำมันไมใช่แค่สงครามระหว่างรัฐต่อรัฐ ประชาชนโลกในอาหรับที่เหลืออดต่อระบอบที่ไม่เป็นธรรม ที่กระทำต่อพวกเขาจากรุ่นถึงรุ่น และต่อผู้นำปาเลสไตน์ที่พวกเขาไม่เชื่อถืออีกต่อไป ระเบิดออกมาในนามของ Intifada หรือ uprising ในปี 1987-1995ก้อนหินสู้กับรถถัง หนังสติ๊กสู้กับเฮลิคอปเตอร์ มันเป็นการต่อสู้ที่ไม่สมเหตุสมผล เอาเข้าจริงในรอบร้อยปีที่ผ่านมา มันไม่มีความสมดุล มันไม่มีความสมเหตุสมผล มันไม่มีความได้สัดส่วนอยู่แล้วใน Intifada ครั้งที่ 1 มีคนตาย 1,600 คน ร้อยละ 12 เป็นชาวอิสราเอล ร้อยละ 88 เป็นชาวปาเลสไตน์ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ชาวอิสราเอลเป็นเจ้าหน้าที่ ขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ชาวปาเลสไตน์เป็นพลเรือน สัดส่วนเป็นอย่างนี้ทุกครั้งที่เกิดการเผชิญหน้าความหมดศรัทธาต่อผู้นำกลุ่มเดิม ทำให้เกิดผู้นำกลุ่มใหม่คือฮามาส ที่เห็นว่ากระบวนการการทูตไม่ได้ผล การเจรจาอนาคตรัฐปาเลสไตน์ที่ได้รับสัญญาไว้จากประชาคมโลกว่าจะเกิดขึ้นหลังจาก Oslo Accord ไม่เคยเกิดขึ้นจริง การใช้ความรุนแรงจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง ในต้นศตวรรษที่ 21 ในนามของ Intifada ครั้งที่ 2 และครั้งนี้รวมถึงกลยุทธ์ใหม่ car bomb หรือระเบิดพลีชีพสิ่งที่เกิดขึ้นในรอบสามเดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่ตุลาคม ปีค.ศ. 2023 ไม่สามารถแยกออกจากประวัติศาสตร์ 100 ปีได้ วันนี้ ที่กาซาคือวิกฤติ ประชาชนไม่มีข้าวกิน ประชาชนไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีบ้านคลุมหัว รถบรรทุกที่ลำเลียงอาหารเข้าไม่ได้ ท่าเรือถูกปิด 2 ใน 3 ของโรงพยาบาลปิดทำการ แห่งที่เหลืออยู่กำลังไม่พอ โรงผลิตน้ำดื่มขาดพลังงานไม่สามารถเดินเครื่องได้ อาหารไม่เพียงพอและราคาแพง และต่อให้คุณมีเงินเก็บเพียงพอ คุณก็ไม่สามารถซื้ออาหารได้ เพราะตู้เอทีเอ็มไม่มีเงินเหลือให้กด นี่ไม่ใช่ผลพวงของสงคราม แต่นี่คือความจงใจของรัฐบาลอิสราเอลทำไมผมถึงต้องมาพูดวันนี้ ผมไม่ใช่คนมุสลิม ผมไม่ใช่คนอาหรับ ผมไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม แต่เพื่อนมนุษย์กำลังตายทุกวันที่กาซา ไม่ได้ตายจากภัยธรรมขาติ แต่ตายจากการกระทำของมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองผมต้องการเห็นสันติภาพ และผมตระหนักดีว่าสันติภาพในตะวันออกกลางจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากสิทธิ์ของคนอาหรับในปาเลสไตน์ไม่ได้รับการยอมรับพูดอย่างนี้ ไม่ได้ต่อต้านยิว กลับกัน ผมรู้สึกเห็นอกเห็นใจชาวยิวที่ถูกกระทำอย่างโหดเหี้ยมในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเห็นอกเห็นใจที่เพื่อนมนุษย์มีให้กับชาวยิวก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการสร้างชาติอิสราเอลความโหดเหี้ยมจากประวัติศาสตร์นั้น เราเรียนรู้เพื่อตระหนัก เราเรียนรู้เพื่อป้องกันมันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต อย่านำความโหดร้ายกระทำต่อเพื่อนมนุษย์ชาติอื่นอีกเลย อย่าให้ชาวปาเลสไตน์เป็นเหยื่อของเหยื่อวันนี้ชาวปาเลสไตน์ควรมีสิทธิ์ได้ประเทศของตนเอง เหมือนครั้งหนึ่งที่คนยิวได้รับสิทธิ์นั้นไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมาขอส่งกำลังใจให้กับชาวปาเลสไตน์ที่กำลังต่อสู้กับความหิวโหย และชีวิตที่โหดร้ายขอส่งกำลังใจเช่นกันให้กับครอบครัวของชาวอิสราเอลที่เสียสมาชิกในครอบครัวจากเหตุการณ์เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วผมขอจบการนำเสนอด้วยคำพูดของเดสมอน ตูตู (Desmond Tutu) นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติสีผิว“ถ้าคุณเป็นกลางในสถานการณ์อันอยุติธรรม คุณกำลังยืนข้างผู้กดขี่ถ้าช้างเอาขาเหยียบหางหนูไว้ และคุณบอกว่าคุณเป็นกลาง หนูคงไม่ซาบซึ้งกับความเป็นกลางของคุณเท่าไหร่”แด่สันติภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ

Original
Translator: Tata VS


ระบอบแห่งคติความสูงส่งของยิว จากแม่น้ำจอร์แดนสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นี่คือการปกครองแบ่งแยก (Apartheid)

A regime of Jewish supremacy from the Jordan River to the Mediterranean Sea: This is apartheid


ประชาชนกว่า 14 ล้านคน ครึ่งหนึ่งคร่าว ๆ เป็นชาวยิวและอีกครึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนภายใต้กฎหนึ่งข้อ มติทั่วไปต่อวาทกรรมทางสาธารณะ การเมือง กฎหมาย และสื่อมวลชน คือระบบการปกครองสองระบบที่แยกออกจากกัน ดำเนินไปเคียงข้างกันในพื้นที่นี้ ที่แบ่งแยกด้วยเส้นพรมแดนสีเขียว (Green Line) หนึ่งระบบที่ตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของรัฐเอกราชแห่งอิสราเอล เป็นประชาธิปไตยถาวรที่มีประชากรราวเก้าล้านคน ทั้งหมดเป็นพลเมืองอิสราเอล ส่วนอีกระบบ ภายใต้ดินแดนที่อิสราเอลเข้ายึดครองในปี 1967 ซึ่งสถานภาพสุดท้ายควรจะต้องถูกกำหนดในการเจรจาต่อรองในอนาคต เป็นการยึดครองทางการทหารชั่วคราว ที่มีผลบังคับใช้ต่อพลเรือนปาเลสไตน์ใต้อาณัติอิสราเอลประมาณห้าล้านคนเวลาล่วงเลยไป การแบ่งแยกระหว่างระบบการปกครองทั้งสองยิ่งเจริญอย่างตัดขาดจากความเป็นจริง พฤติการณ์นี้คงอยู่เรื่อยมามากกว่า 50 ปี นานเป็นทวีของระยะเวลาที่รัฐอิสราเอลดำรงอยู่โดยปราศจากรูปการณ์ดังกล่าว ผู้ตั้งรกรากชาวยิวหลายแสนคน ณ ขณะนี้ อาศัยอยู่ในนิคมที่ดินถาวรทางตะวันออกของเส้นพรมแดนสีเขียว มีชีวิตราวกับพวกเขาอยู่ทางตะวันตกของเส้น ๆ นั้น เยรูซาเล็มตะวันออกถูกยึดครองและผนวกเข้ากับดินแดนอธิปไตยของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ และเวสต์แบงก์ (West Bank) เช่นกัน แต่เป็นในทางปฏิบัติ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ การแบ่งแยกบดบังความจริงที่ว่า พื้นที่ทั้งหมดระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแม่น้ำจอร์แดนได้รับการจัดระเบียบภายใต้หลักการข้อเดียว คือการรุดหน้าและการประสานฐานแห่งคติความสูงส่งของคนกลุ่มเดียว นั่นคือชาวยิว ให้เหนือกว่าอีกกลุ่ม ซึ่งคือชาวปาเลสไตน์ ทั้งมวลนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ระบบการปกครองทั้งสองระบบไม่ได้ดำเนินไปอย่างคู่ขนาน ซึ่งบังเกิดขึ้นอย่างเรียบง่ายเพื่อค้ำจุนหลักการเดียวกัน มีระบบการปกครองหนึ่งเดียวที่ครอบงำพื้นที่ดังกล่าวทั้งหมด และประชากรที่มีชีวิตอยู่ภายในพื้นที่นั้น บนหลักการการจัดระบบหนึ่งเดียวเมื่อ เบทเซเลม (B’Tselem) ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 พวกเราจำกัดอำนาจความสนใจไปที่เวสต์แบงก์ (รวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก) และฉนวนกาซา (Gaza Strip) และละเว้นจากการรับมือด้านสิทธิมนุษยชนภายในรัฐอิสราเอล ซึ่งสถาปนาขึ้นในปี 1948 หรือจากการดำเนินงานอันครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่นนั้นก็ตาม สถานการณ์กลับเปลี่ยนไป หลักการการจัดระบบของระบบการปกครองข้างต้นได้รับความชัดแจ้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นเด่นชัดโดยกฎหมายพื้นฐานแห่งอิสราเอล รัฐชาติแห่งชาวยิว (Basic Law: Israel – the Nation State of the Jewish People) ที่ผ่านในปี 2018 หรือการเสวนาอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการยึดครองส่วนต่าง ๆ ของเวสต์แบงก์อย่างเป็นทางการในปี 2020 เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงหลายข้อที่อธิบายไว้ข้างต้นร่วม จึงได้ความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกยึดครอง (Occupied Territories) ไม่สามารถถือว่าแยกออกจากความเป็นจริงในพื้นที่ทั้งหมดภายใต้การเข้าควบคุมของอิสราเอลได้อีกต่อไป ศัพท์ที่พวกเราใช้ในปีหลัง ๆ เพื่ออธิบายสถานการณ์ดังกล่าว เช่น การยึดครองอันยืดเยื้อ (prolonged occupation) หรือ ความเป็นจริงของรัฐหนึ่งเดียว (one-state reality) ไม่เพียงพออีกแล้ว เพื่อต่อสู้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพิจารณ์และนิยามระบบการปกครองที่ครอบงำพื้นที่ทั้งหมดนั้นบทความนี้พิเคราะห์วิธีการที่ระบอบอิสราเอลดำเนินงานเพื่อรุดหน้าจุดมุ่งหมายในพื้นที่ทั้งหมดภายใต้การควบคุมของระบอบดังกล่าว พวกเราไม่ได้จัดทำการทบทวนเชิงประวัติศาสตร์ หรือการประเมินการเคลื่อนไหวระดับชาติของชาวปาเลสไตน์และชาวยิว ตลอดจนระบอบการปกครองของแอฟริกาใต้ก่อนหน้านี้ แม้คำถามเหล่านี้จะสำคัญ แต่ก็อยู่นอกเหนือขอบเขตการปฏิบัติงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนหนึ่ง ว่ากันแล้ว บันทึกข้อมูลฉบับนี้นำเสนอหลักการต่าง ๆ ที่ชี้นำระบอบอิสราเอล แสดงให้เห็นว่าระบอบนี้มีการปฏิบัติอย่างไร และเล็งให้เห็นถึงบทสรุปที่อุบัติขึ้นมาจากทั้งหมดนี้ ว่าระบอบควรมีคำนิยามอย่างไร และสิ่งนั้นมีความหมายอะไรต่อสิทธิมนุษยชน

Divide, separate, rule
จัดสรร แบ่งแยก ปกครอง

ภายในพื้นที่ทั้งหมดระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแม่น้ำจอร์แดน ระบอบอิสราเอลบังคับใช้กฎหมาย หลักปฏิบัติ และความรุนแรงของรัฐ ซึ่งออกแบบมาเพื่อประสานฐานแห่งคติความสูงส่งของคนหนึ่งกลุ่ม คือชาวยิว ให้เหนือกว่าอีกกลุ่ม คือชาวปาเลสไตน์ วิธีการที่เป็นหัวใจหลักในการมุ่งตามเป้าหมายนี้คือ การกำหนดโครงสร้างพื้นที่ให้แตกต่างกันสำหรับแต่ละกลุ่มพลเมืองยิวใช้ชีวิตราวกับว่า บริเวณทั้งหมดเป็นเพียงพื้นที่ผืนเดียวกัน (ไม่พิจารณาถึงฉนวนกาซา) เส้นพรมแดนสีเขียวมีความหมายเพียงน้อยนิดสำหรับพวกเขา นั่นคือไม่ว่าการที่พวกเขาจะอาศัยทางทิศตะวันตกของเส้นสีเขียว ซึ่งคือภายในดินแดนอธิปไตยของอิสราเอล หรือทางทิศตะวันออกของเส้นดังกล่าว ซึ่งคือนิคมที่ดินที่ไม่ได้ผนวกเข้ากับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสิทธิหรือสถานะของพวกเขาในทางกลับกัน ที่ที่ชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่สำคัญเป็นเด็ดขาด ระบอบอิสราเอลจัดสรรพื้นที่ออกเป็นหน่วยย่อยหลายหน่วย อันกำหนดและวางระเบียบอย่างแตกต่างกัน ซึ่งให้สิทธิที่แตกต่างกันไปแก่ชาวปาเลสไตน์ในแต่ละหน่วย การแบ่งสรรนี้สัมพันธ์กับชาวปาเลสไตน์เท่านั้น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งเชื่อมถึงกันสำหรับชาวยิว คือกระจกโมเสกที่แตกออกเป็นเสี่ยง ๆ สำหรับชาวปาเลสไตน์

  • ชาวปาเลสไตน์ผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดินที่กำหนดขึ้นในปี 1948 ว่าเป็นดินแดนอธิปไตยอิสราเอล (บางครั้งเรียกว่า ชาวอาหรับอิสราเอล หรือ Arab-Israelis) เป็นพลเมืองอิสราเอล และคิดเป็น 17% ของประชากรทั้งหมดของรัฐ แม้สถานภาพนี้ให้สิทธิมากมายแก่พวกเขา พวกเขาก็ไม่ได้เจริญใจไปในสิทธิเดียวกันกับพลเมืองยิว ไม่ว่าในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ ตามที่เจาะรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปในบทความนี้

  • ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 350,000 คน อาศัยในเยรูซาเล็มตะวันออก อันกอปรจากพื้นที่ประมาณ 70,000 ดูนัม (Dunam) [1 ดูนัมเท่ากับ 1,000 ตร.ม.] ที่อิสราเอลยึดครองเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนอธิปไตยอิสราเอลในปี 1967 พวกเขาถูกกำหนดให้เป็นผู้พักอาศัยถาวรของอิสราเอล ซึ่งเป็นสถานะที่อนุญาตให้พวกเขาใช้ชีวิตและทำงานในอิสราเอลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตพิเศษ ให้ได้รับผลประโยชน์ทางสังคมและประกันสุขภาพ และลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับเทศบาล อย่างไรก็ตาม การมีสิทธิพำนักถาวร ซึ่งไม่เหมือนกับสิทธิในการเป็นพลเมือง อาจถูกเพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ตามดุลยพินิจสมบูรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอิสราเอล ในพฤติการณ์ที่แน่นอน สิทธิก็อาจหมดอายุได้เช่นกัน

  • ถึงแม้อิสราเอลไม่เคยเข้าผนวกเวสต์แบงก์อย่างเป็นทางการ อิสราเอลก็กระทำกับดินแดนดังกล่าวราวกับเป็นเจ้าของอาณาเขต พลเรือนชาวปาเลสไตน์มากกว่า 2.6 ล้านคนอาศัยอยู่ในเวสต์แบงก์ ภายในพื้นที่ที่ถูกปิดล้อมหลายสิบพื้นที่ซึ่งตัดขาดการเชื่อมต่อออกจากกัน ภายใต้การปกครองทางทหารที่เข้มงวด โดยปราศจากสิทธิทางการเมือง อิสราเอลได้ถ่ายโอนอำนาจพลเรือนบางส่วนไปยังผู้นำการเมืองรัฐบาลปาเลสไตน์ (Palestinian Authority หรือ PA) ในพื้นที่ประมาณ 40% ของเวสต์แบงก์ อย่างไรก็ดี ผู้นำการเมืองรัฐบาลปาเลสไตน์ยังคงอยู่ใต้อำนาจของอิสราเอล และสามารถใช้อำนาจอันจำกัดของตนได้ตามความยินยอมของอิสราเอลเท่านั้น

  • ฉนวนกาซาเป็นบ้านของชาวปาเลสไตน์ประมาณสองล้านคน ซึ่งเป็นผู้ถูกปฏิเสธสิทธิทางการเมืองอีกเช่นกัน ในปี 2005 อิสราเอลถอนกำลังทหารออกจากฉนวนกาซา รื้อถอนถิ่นฐานที่อิสราเอลปลูกสร้างที่นั่น และสละความรับผิดชอบใด ๆ เพื่อโชคชะตาฟ้าใหม่ของประชากรชาวปาเลสไตน์ หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของฮามาส (Hamas) ในปี 2007 อิสราเอลใช้กำลังนำการปิดล้อมฉนวนกาซา ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

อิสราเอลมอบสิทธิประการที่แตกต่างกันแก่ชาวปาเลสไตน์ในแต่ละหน่วยถิ่นที่พักอาศัย โดยทุกประการด้อยกว่าสิทธิที่จัดหาให้พลเมืองชาวยิว เป้าหมายของคติความสูงส่งของยิวรุดหน้าไปอย่างแตกต่างกันในแต่ละหน่วยที่อยู่ และรูปแบบของความ-อยุติธรรมที่ตามมาก็แตกต่างกันไป กล่าวคือ ประสบการณ์ตรงของชาวปาเลสไตน์ในกาซาที่ถูกปิดล้อม ไม่เหมือนกับประสบการณ์ตรงของพลเรือนปาเลสไตน์ใต้อาณัติอิสราเอลในเวสต์แบงก์ ผู้เป็นผู้พำนักถาวรในเยรูซาเล็มตะวันออก หรือพลเมืองชาวปาเลสไตน์ในดินแดนอธิปไตยอิสราเอล กระนั้นแล้ว เหล่านี้คือความผันแปรของความจริงที่ว่า ชาวปาเลสไตน์ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ใต้กฎอิสราเอล ได้รับการปฏิบัติว่าเป็นผู้ด้อยในด้านสิทธิและสถานะกว่าชาวยิว ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่เดียวกันเจาะประเด็นด้านล่างเป็น 4 วิธีหลัก ที่ระบอบอิสราเอลใช้ในการรุดหน้าคติความสูงส่งของยิว สองวิธีมีการนำไปใช้อย่างคล้ายคลึงกันทั้งหน้าแผ่นดินทั้งหมดนี้ ซึ่งคือ การจำกัดการย้ายถิ่นฐานของผู้ที่ไม่ใช่ยิว และการเข้าควบคุมแผ่นดินปาเลสไตน์ เพื่อสร้างชุมชนสำหรับชาวยิวเท่านั้น พร้อมกับการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ไปยังพื้นแคบ ๆ ที่ถูกปิดล้อม อีกสองวิธีมีการนำไปใช้เบื้องต้นในดินแดนที่ถูกยึดครอง (Occupied Territories) ซึ่งคือการจำกัดการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ที่ไม่ใช่พลเมืองอย่างทารุณ และการปฏิเสธสิทธิทางการเมืองของพวกเขา การเข้าควบคุมแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตหลายแง่มุมนี้ อยู่ในกำมือของอิสราเอลโดยสมบูรณ์ กล่าวคือ ภายในพื้นที่ทั้งหมด อิสราเอลมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือการขึ้นทะเบียนประชากร การแบ่งสรรปันส่วนที่ดิน รายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสิทธิ (หรือการปฏิเสธสิทธินั้น ๆ) ในการเดินทางภายใน เข้า หรือออกส่วนใดก็ตามที่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่นั้น

A. การอพยพเข้าเมือง มีไว้สำหรับชาวยิวเท่านั้น

ชาวยิวคนใดก็ตามบนโลกใบนี้ และลูกหลาน และคู่ครองของเขา ได้รับสิทธิการอพยพเข้าอิสราเอลเมื่อใดก็ได้ อีกทั้งสิทธิการเป็นพลเมืองอิสราเอล พร้อมกับสิทธิอันเกี่ยวข้องทุกประการ พวกเขาได้รับสถานภาพนี้ แม้เลือกที่จะอาศัยในนิคมที่ดินเวสต์แบงก์ ซึ่งไม่ได้ถูกผนวกเข้ากับดินแดนอธิปไตยของอิสราเอลอย่างเป็นทางการในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่ใช่ยิวไม่มีสิทธิในสถานะทางการเมืองภายในบริเวณที่อิสราเอลเข้าควบคุม การให้สถานภาพเป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่เกือบทั้งหมด ซึ่งคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ภายในอธิปไตยอิสราเอล) หรือผู้บังคับบัญชาทางการทหาร (ภายในดินแดนที่ถูกยึดครอง) ทว่าด้วยการแบ่งแยกอย่างเป็นทางการเช่นนี้ หลักการจัดระเบียบยังคงเดิม นั่นคือ ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยในประเทศอื่น ๆ ไม่สามารถอพยพเข้าพื้นที่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแม่น้ำจอร์แดนได้ แม้ว่าพวกเขา พ่อแม่ของพวกเขา หรือปู่ย่าตายายของพวกเขาเกิดและมีชีวิตที่นั่น หนทางเดียวที่ชาวปาเลสไตน์สามารถอพยพเข้าสู่พื้นที่ที่ถูกควบคุมโดยอิสราเอลได้ คือการแต่งงานกับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ที่นั่นแล้ว ในฐานะพลเมือง ผู้พักอาศัย หรือบุคคลใต้ปกครองของอิสราเอล ตลอดจนการเผชิญกับข้อกังขาเป็นชุด และการได้รับความเห็นชอบจากอิสราเอลอิสราเอลไม่เพียงกีดกันการอพยพเข้าเมืองของชาวปาเลสไตน์ แต่ยังขัดขวางการย้ายที่อยู่ระหว่างหน่วยพักอาศัย หากการโยกย้าย (ตามมติของระบอบอิสราเอล) อาจยกระดับสถานะของพวกเขา ตัวอย่างเช่น พลเมืองชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอล หรือผู้พำนักในเยรูซาเล็มตะวันออก สามารถย้ายไปยังเวสต์แบงก์ได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าการทำเช่นนั้นเสี่ยงต่อสิทธิและสถานภาพของพวกเขา ชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครองไม่สามารถได้รับสิทธิการเป็นพลเมืองอิสราเอล และย้ายไปยังดินแดนอธิปไตยอิสราเอลได้ เว้นในกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่อิสราเอลนโยบายของอิสราเอลเรื่องการผสานครอบครัวให้เป็นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงหลักการข้อนี้ เป็นเวลาหลายปีที่ระบอบอิสราเอลได้วางอุปสรรคนานัปการแก่ครอบครัวซึ่งคู่สมรสแต่ละคนอาศัยในหน่วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คนละหน่วย เวลาผ่านไป เหตุการณ์นี้ได้กีดขวางและหยุดยั้งชาวปาเลสไตน์ผู้แต่งงานกับชาวปาเลสไตน์ในอีกหน่วยที่อยู่ ไม่ให้ได้มาซึ่งสถานภาพในหน่วยนั้น เนื่องด้วยนโยบายนี้ ครอบครัวหลายหมื่นจึงไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ หากหนึ่งในคู่สมรสเป็นผู้พำนักในฉนวนกาซา อิสราเอลอนุญาตให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันได้ที่นั่น แต่ถ้าหากอีกหนึ่งในคู่สมรสเป็นผู้พำนักในเวสต์แบงก์ อิสราเอลเรียกร้องให้พวกเขาย้ายไปกาซาอย่างถาวร ในปี 2003 คเนสเซต (Knesset) หรือรัฐสภาอิสราเอล ผ่านคำสั่งเฉพาะกาล (Temporary Order) อันคงมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ที่สั่งห้ามการออกสิทธิในการเป็นพลเมืองอิสราเอลหรือสิทธิการเป็นผู้พำนักถาวร แก่ชาวปาเลสไตน์จากดินแดนที่ถูกยึดครองผู้แต่งงานกับชาวอิสราเอล ไม่เหมือนพลเมืองประเทศอื่น ในกรณีพิเศษที่อนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์จากเวสต์แบงก์ผู้แต่งงานกับชาวอิสราเอล อาจได้รับสถานภาพในอิสราเอล แต่ก็เป็นเพียงสถานะเพียงชั่วคราวและไม่ได้ให้สิทธิพวกเขาด้านผลประโยชน์ทางสังคมอิสราเอลยังบ่อนทำลายสิทธิของชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครอง รวมทั้งในเยรูซาเล็มตะวันออก เพื่อคงการดำเนินชีวิตของพวกเขาไว้ที่ที่พวกเขาเกิด ตั้งแต่ปี 1967 อิสราเอลได้เพิกถอนสถานภาพของชาวปาเลสไตน์ไปแล้วประมาณ 250,000 คนในเวสต์แบงก์ รวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก และฉนวนกาซา ในบางกรณีเป็นเพราะพวกเขาอาศัยอยู่นอกประเทศมากกว่าสามปี เหตุนี้กินความถึงผู้พำนักในเยรูซาเล็มตะวันออกหลายพันคน ซึ่งย้ายบ้านของพวกเขาไปทางตะวันออกเพียงไม่กี่ไมล์ ไปยังส่วนของเวสต์แบงก์ที่ไม่ได้ถูกผนวกอย่างเป็นทางการ ผู้คนทั้งหมดนี้ถูกปล้นเอาสิทธิในการกลับไปหาบ้านและครอบครัวของพวกเขา ในที่ ๆ พวกเขาเกิดและเติบโตขึ้นมา

B. ยึดครองแผ่นดินเพื่อยิว ขณะยัดชาวปาเลสไตน์ไว้ในพื้นที่ปิดล้อม

อิสราเอลดำเนินนโยบาย “การปรับให้เป็นยิว” (Judaizing) กับพื้นที่นี้ ซึ่งตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า ผืนดินเป็นทรัพยากรที่หมายให้ประโยชน์แก่สาธารณชนยิวโดยเฉพาะ ผืนดินถูกใช้เพื่อพัฒนาและขยายชุมชนชาวยิวที่ดำรงอยู่ และสร้างชุมชนใหม่ขึ้น ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ถูกริบเอาทรัพยากร และถูกล้อมกรงในพื้นปิดล้อมเล็ก ๆ อันแออัด นโยบายนี้มีการดำเนินงานกับพื้นที่ภายในดินแดนอธิปไตยอิสราเอลตั้งแต่ปี 1948 และมีผลใช้กับชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครองตั้งแต่ปี 1967 ในปี 2018 หลักการรากฐานของนโยบายได้รับการปักหลักในกฎหมายพื้นฐานแห่งอิสราเอล รัฐชาติแห่งชาวยิว (Basic Law: Israel – the Nation State of the Jewish People) ซึ่งวางเงื่อนไขไว้ว่า “รัฐคำนึงถึงพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชาวยิว ว่าเป็นค่านิยมแห่งชาติ และจะปฏิบัติการสนับสนุนและส่งเสริมการก่อตัวและการเสริมกำลังของการตั้งถิ่นฐานเช่นนั้นภายในดินแดนอธิปไตย อิสราเอลประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ โดยกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินของผู้ไปจากภูมิลำเนา (Absentee Property Law) เป็นฉบับที่มีชื่อมากที่สุด ซึ่งอนุญาตให้รัฐเวนคืนบริเวณกว้าง ๆ ของที่ดินที่ชาวปาเลสไตน์เป็นเจ้าของได้ อันรวมถึงพื้นที่หลายล้านดูนัมในชุมชนที่ผู้พักอาศัยถูกขับไล่หรือหลบหนีไปในปี 1948 และถูกห้ามให้กลับสู่ภูมิลำเนา อิสราเอลยังลดพื้นที่สำหรับสภาท้องถิ่นและชุมชนปาเลสไตน์ ซึ่งขณะนี้เป็นที่เข้าถึงได้น้อยกว่า 3% ของเนื้อที่ประเทศทั้งหมด ที่ดินที่กำหนดให้เป็นของชุมชนส่วนใหญ่อิ่มตัวไปด้วยสิ่งก่อสร้างเป็นที่เรียบร้อย ผลก็คือ มากกว่า 90% ของที่ดินในดินแดนอธิปไตยของอิสราเอล ณ ขณะนี้ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอิสราเอลใช้แผ่นดินนี้สร้างชุมชนหลายร้อยแห่งสำหรับพลเมืองชาวยิว แต่ไม่มีสักหนึ่งที่สำหรับพลเมืองชาวปาเลสไตน์ ที่ละไว้เป็นเมืองและหมู่บ้านเพียงหยิบมือ ที่สร้างขึ้นเพื่อรวมกลุ่มประชากรเบดูอิน (Bedouin) ซึ่งถูกกวาดกรรมสิทธิ์ส่วนใหญ่ของเขาไปเกลี้ยง ที่ดินส่วนใหญ่ที่ชาวเบดูอินเคยอาศัยอยู่ ถูกเวนคืนและขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินของรัฐ ชุมชนเบดูอินจำนวนมากได้รับนิยามว่า ‘ไม่เป็นที่รู้จัก’ และผู้อาศัยในชุมชนคือ ‘ผู้บุกรุก’ อิสราเอลได้จัดสร้างชุมชนเฉพาะชาวยิวเท่านั้น บนผืนดินที่เคยเป็นที่ครอบครองโดยชาวเบดูอินในอดีตระบอบอิสราเอลจำกัดการก่อสร้างและความเจริญก้าวหน้าในที่ดินเพียงน้อยนิดที่ยังคงเหลืออยู่ของชุมชนชาวปาเลสไตน์ภายในดินแดนอธิปไตยของตนอย่างสาหัส ระบอบนั้นยังระงับการจัดเตรียมแผนแม่บทที่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชน และคงพื้นที่เขตอำนาจของชุมชนเหล่านี้ไว้เสมือนไม่ให้เปลี่ยน ทั้งที่มีการเติบโตของประชากร ผลปรากฏคือพื้นที่ปิดล้อมเล็ก ๆ อันแออัด ที่ซึ่งผู้อยู่อาศัยไม่มีทางเลือก นอกจากสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตอิสราเอลยังได้ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้ชุมชนอันพร้อมด้วยคณะกรรมการดำเนินการรับเข้าเป็นสมาชิก จำนวนหลายร้อยชุมชนทั่วประเทศ ปฏิเสธผู้สมัครชาวปาเลสไตน์เนื่องด้วย “ความเข้ากันไม่ได้ทางวัฒนธรรม” สิ่งนี้ได้ผลในการกีดกันพลเมืองชาวปาเลสไตน์จากการอาศัยในชุมชนที่จัดตั้งสำหรับชาวยิว ว่ากันอย่างเป็นทางการแล้ว พลเมืองชาวอิสราเอลคนใดก็ตามสามารถอาศัยในเมืองใดก็ได้ภายในประเทศ ในทางปฏิบัติ เพียง 10% ของพลเมืองชาวปาเลสไตน์สามารถทำเช่นนั้นได้ แม้กระนั้น พวกเขามักถูกผลักไสให้แยกกันอยู่คนละบริเวณ เนื่องจากความขาดแคลนทางการศึกษา ศาสนา และบริการอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายสูงลิ่วของการซื้อบ้านในละแวกอื่น ๆ ของเมือง หรือการเลือกปฏิบัติในการขายที่ดินและบ้านระบอบอิสราเอลใช้หลักการจัดระเบียบเดียวกันกับในเวสต์แบงก์ตั้งแต่ปี 1967 (รวมทั้งเยรูซาเล็มตะวันออก) ที่ดินหลายแสนดูนัม รวมไปถึงที่ดินทำการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ถูกพรากไปจากพลเรือนชาวปาเลสไตน์ใต้ปกครองของอิสราเอลด้วยข้ออ้างต่าง ๆ และถูกใช้ไปพร้อมกับจุดประสงค์อื่น ๆ เพื่อสถาปนาและขยายการตั้งถิ่นฐาน ตลอดจนละแวกที่พักอาศัย ที่ดินเพาะปลูก และเขตอุตสาหกรรม นิคมที่ดินทั้งหมดเป็นเขตทหารปิด ซึ่งชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามมิให้เข้าไปอย่างไร้ใบอนุญาต จวบจนปัจจุบันนี้ อิสราเอลได้จัดตั้งนิคมตั้งถิ่นฐานมากกว่า 280 แห่งในเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออก อันเป็นบ้านของชาวยิวเกินกว่า 600,000 คน ที่ดินจำนวนมากขึ้นถูกยึดเอามาสร้างถนนเลี่ยงเมืองยาวหลายร้อยกิโลเมตรเพื่อผู้ที่อพยพมาตั้งรกรากอิสราเอลได้จัดให้มีระบบการวางแผนสำหรับชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์แยกต่างหาก ซึ่งออกแบบมาเพื่อยับยั้งงานก่อสร้างและความเจริญก้าวหน้าเป็นสำคัญ แนวที่ดินขนาดใหญ่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อการก่อสร้าง ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกแถลงว่าเป็นที่ดินของรัฐ พื้นที่สำหรับยิง แหล่งสงวนธรรมชาติ หรืออุทยานแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ยังระงับการร่างแผนแม่บทที่เพียงพอต่อการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในปัจจุบันและอนาคตของชุมชนปาเลสไตน์ในพื้นที่ขนาดเล็กที่ได้รับการละเว้น ระบบการวางแผนที่แยกออกมานั้นมุ่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาต ในที่นี้ก็เช่นกัน เนื่องด้วยการไม่มีทางเลือก ทั้งหมดนี้ขังชาวปาเลสไตน์ไว้ในพื้นที่ปิดล้อมที่หนาแน่นไปด้วยผู้คนหลายสิบแห่ง จากความเจริญด้านนอกพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการใช้งานระดับครัวเรือนหรือสาธารณะ รวมถึงสาธารณูปโภค ซึ่งถูกห้ามเกือบสมบูรณ์

C. การจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์

อิสราเอลอนุญาตให้พลเมืองยิวและปาเลสไตน์ และผู้พำนักในประเทศ เดินทางอย่างเสรีทั่วทั้งพื้นที่ เว้นแต่การห้ามเข้าฉนวนกาซา ซึ่งอิสราเอลนิยามว่าเป็น “เขตแดนปรปักษ์” และการห้าม (ส่วนใหญ่เป็นอย่างทางการ) เข้าพื้นที่ที่เห็นได้ชัดว่าอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ PA (Palestinian Authority/ผู้นำการเมืองรัฐบาลปาเลสไตน์) หรือเขต A ในกรณีพิเศษ พลเมืองชาวปาเลสไตน์หรือผู้พำนักในประเทศได้รับอนุญาตให้เข้ากาซาได้พลเมืองอิสราเอลยังสามารถออกหรือกลับเข้าสู่ประเทศเมื่อใดก็ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้พำนักของเยรูซาเล็มตะวันออกกลับไม่ได้ถือพาสปอร์ตอิสราเอล และการจากประเทศไประยะยาวอาจส่งผลให้เกิดการเพิกถอนสถานภาพอิสราเอลจำกัดการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครองเป็นนิจ และห้ามพวกเขาไม่ให้โยกย้ายระหว่างหน่วยพักอาศัยเป็นปกติ ชาวปาเลสไตน์จากเวสต์แบงก์ผู้หวังจะเข้าอิสราเอล เยรูซาเล็มตะวันออก หรือฉนวนกาซา ต้องยื่นเรื่องถึงเจ้าหน้าที่อิสราเอล ภายในฉนวนกาซาซึ่งถูกปิดล้อมตั้งแต่ปี 2007 ประชาชนทั้งหมดถูกคุมขัง เนื่องจากอิสราเอลห้ามเกือบทุกการเคลื่อนเข้าหรือออก ยกเว้นกรณีพิเศษที่เห็นว่าเป็นเรื่องของมนุษยธรรม ชาวปาเลสไตน์ผู้หวังจะไปจากกาซา หรือชาวปาเลสไตน์จากหน่วยอื่นผู้หวังจะเข้ากาซา ต้องยื่นคำร้องพิเศษเพื่อขอใบอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่อิสราเอลอีกด้วย ใบอนุญาตมีการออกอย่างตระหนี่ และสามารถได้มาด้วยกลไกอันเข้มงวดและไร้หลักการเท่านั้น หรือผ่านระบบการออกใบอนุญาตที่ขาดความโปรงใสและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน อิสราเอลถือว่าทุกใบอนุญาตที่ออกให้ชาวปาเลสไตน์เป็นการกระทำแห่งความกรุณา มากกว่าการปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายภายในเวสต์แบงก์ อิสราเอลเข้าควบคุมเส้นทางทั้งหมดระหว่างพื้นที่ปิดล้อมของชาวปาเลสไตน์ การกระทำนี้อนุญาตให้ทหารตั้งด่านตรวจชั่วคราวที่ไม่ได้มีการประกาศให้ทราบมาก่อน ปิดทางเข้าหมู่บ้าน กั้นถนน และยุติการอนุญาตให้ผ่านด่านตรวจได้ตามอำเภอใจ มากไปกว่านี้ อิสราเอลสร้างกำแพงกั้นอาณาเขต (Separation Barrier) ภายในเวสต์แบงก์และพื้นที่ของปาเลสไตน์ที่กำหนดไว้ รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยกำแพงและเส้นพรมแดนสีเขียวในชื่อ “แนวตะเข็บ” (seam zone) ชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์ถูกห้ามไม่ให้เข้าแนวพื้นที่นี้ ภายใต้ระบบการให้อนุญาตเดียวกันชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่ถูกยึดครองยังต้องขออนุญาตอิสราเอลเพื่อออกนอกประเทศ ด้วยกฎข้อหนึ่ง อิสราเอลไม่อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์ใช้สนามบินนานาชาติเบน กูรีย็อน (Ben Gurion International Airport) ที่ตั้งอยู่ในดินแดนอธิปไตยของตน ชาวปาเลสไตน์จากเวสต์แบงก์ต้องโดยสารเครื่องบินที่สนามบินนานาชาติของจอร์แดน เพียงแต่สามารถทำเช่นนั้นได้หากอิสราเอลอนุญาตให้พวกเขาข้ามพรมแดนเข้าจอร์แดน ในแต่ละปี อิสราเอลปฏิเสธคำร้องเพื่อข้ามพรมแดนนี้หลายพันโดยปราศจากคำอธิบาย ชาวปาเลสไตน์จากกาซาต้องเดินทางผ่าน ด่านข้ามแดนราฟาห์ (Rafah Crossing) ที่ถูกควบคุมโดยอียิปต์ สมมติว่าด่านเปิด เจ้าหน้าที่อียิปต์ให้พวกเขาผ่านไป และพวกเขาสามารถกัดฟันเดินทางไกลข้ามชายแดนอียิปต์ได้ ในกรณียกเว้นที่เป็นไปได้ยาก อิสราเอลอนุญาตให้ชาวกาซาเดินทางผ่านดินแดนอธิปไตยของตนด้วยรถเวียนรับส่งที่มีการคุ้มกัน เพื่อไปยังเวสต์แบงก์ และจากนั้นเดินทางต่อไปยังจอร์แดน และสู่จุดหมายปลายทางของพวกเขา

D. การปฏิเสธสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวปาเลสไตน์

ในทำนองเดียวกันกับชาวยิว พลเมืองชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอลสามารถกระทำการทางการเมืองเพื่อผลักดันผลประโยชน์ของตนได้ รวมถึงการลงคะแนนเสียงและการลงสมัครชิงตำแหน่ง พวกเขาสามารถคัดเลือกตัวแทน จัดตั้งพรรคการเมือง หรือเข้าร่วมพรรคที่มีอยู่ได้ เช่นนั้นก็ตามที เจ้าพนักงานที่ได้รับเลือกโดยชาวปาเลสไตน์ก็ถูกสาดโคลนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นข้อคิดเห็นที่ถูกประโคมข่าวโดยบุคคลสำคัญทางการเมือง และสิทธิของพลเมืองชาวปาเลสไตน์ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองก็ตกอยู่ภายใต้การโจมตีตลอดเวลาชาวปาเลสไตน์ราวห้าล้านคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครอง ไม่สามารถมีส่วนร่วมในระบบการเมืองที่ปกครองชีวิตของพวกเขาและกำหนดอนาคตของพวกเขาได้ ในทางทฤษฎี ชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งผู้นำการเมืองรัฐบาลปาเลสไตน์ (PA) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอำนาจของ PA ถูกจำกัด ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งมีการจัดขึ้นเป็นประจำ (ครั้งสุดท้ายจัดในปี 2006) ระบอบอิสราเอลก็จะยังคงควบคุมชีวิตของชาวปาเลสไตน์ เพราะระบอบนั้นคงไว้ซึ่งวิธีการปกครองสำคัญในดินแดนที่ถูกยึดครอง ที่รวมไปถึงการควบคุมการอพยพเข้าเมือง การขึ้นทะเบียนประชากร การวางแผนและนโยบายที่ดิน น้ำ การสื่อสาร สาธารณูปโภค การนำเข้าและส่งออก และการควบคุมทางการทหารทางบก ทะเล และอากาศภายในเยรูซาเล็มตะวันออก ชาวปาเลสไตน์ตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ในฐานะที่เป็นผู้พำนักถาวรของอิสราเอล พวกเขาสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับเทศบาลได้ แต่ไม่ใช่สำหรับรัฐสภา ตรงกันข้าม อิสราเอลทำให้สถานการณ์ของพวกเขาที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งผู้นำรัฐบาลปาเลสไตน์ยากขึ้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองกินความกว้างกว่าการลงคะแนนเสียงหรือการลงสมัครชิงตำแหน่ง อิสราเอลยังปฏิเสธสิทธิทางการเมืองของชาวปาเลสไตน์ เช่น เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of speech) และเสรีภาพในการสมาคม (freedom of association) สิทธิเหล่านี้ให้สิทธิ์ผู้คนวิจารณ์ระบอบการปกครอง ประท้วงนโยบายต่าง ๆ จัดตั้งสมาคม เพื่อพัฒนาความคิดของพวกเขา และเดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองการตรากฎหมายจำนวนหลายตรา อย่างกฎหมายคว่ำบาตรหรือกฎหมายนักบา (Nakba Law) ได้จำกัดเสรีภาพของชาวอิสราเอลในการวิจารณ์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับชาวปาเลสไตน์ทั่วทั้งพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น ชาวปาเลสไตน์ภายในดินแดนที่ถูกยึดครองเผชิญกับข้อจำกัดที่รุนแรงมากขึ้น กล่าวคือ พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ประท้วง สมาคมหลายแห่งถูกประกาศเป็นที่ต้องห้าม และแถลงการณ์ทางการเมืองใด ๆ เกือบทั้งหมดถือว่าเป็นการยั่วยุ ข้อจำกัดเหล่านี้มีการบังคับใช้อย่างขันแข็งโดยศาลทหาร ซึ่งต้องขังชาวปาเลสไตน์กว่าหลายแสนคน และเป็นกลไกสำคัญที่ค้ำจุนการยึดครองของทหาร ในเยรูซาเล็มตะวันออก อิสราเอลดำเนินงานเพื่อขัดขวางกิจกรรมทางสังคม วัฒนธรรม หรือการเมืองใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ PA ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งการแบ่งแยกพื้นที่ยังกีดกันการดิ้นรนอันเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านนโยบายอิสราเอล การผันแปรไปของกฎหมาย กระบวนการ และสิทธิ์ท่ามกลางหน่วยพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนการจำกัดการเคลื่อนไหวอย่างโหดเหี้ยม ได้ดึงชาวปาเลสไตน์ออกเป็นหลายกลุ่มอันแตกต่างกันชัดเจน การแตกกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้อิสราเอลหนุนนำคติความสูงส่งของยิว แต่ยังสกัดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์และการขัดขืน

No to apartheid: That is our struggle
ปฏิเสธการปกครองแบ่งแยก นั่นคือการดิ้นรนของพวกเรา

ระบอบอิสราเอลซึ่งควบคุมดินแดนทั้งหมดระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หาทางรุดหน้าและผสานฐานคติความสูงส่งของยิวทั่วทั้งหน้าพื้นที่ เพื่อสัมฤทธิ์ผลนั้น ระบอบอิสราเอลจัดสรรพื้นที่ออกเป็นหลายหน่วย แต่ละหน่วยให้สิทธิที่แตกต่างกันไปแก่ชาวปาเลสไตน์ ซึ่งด้อยกว่าสิทธิของชาวยิวเสมอ เนื่องด้วยส่วนหนึ่งของนโยบายนี้ ชาวปาเลสไตน์จึงถูกปฏิเสธสิทธิหลายประการ รวมไปถึงสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง (right to self-determination)นโยบายนี้เป็นที่รุดหน้าในหลาย ๆ ทาง อิสราเอลกำหนดโครงสร้างพื้นที่ในเชิงประชากรศาสตร์ผ่านกฎหมายและคำสั่ง ที่อนุญาตให้ชาวยิวคนใดก็ตามและญาติของพวกเขาได้มาซึ่งสถานะพลเมืองอิสราเอล แต่ปฏิเสธความเป็นไปได้นี้กับชาวปาเลสไตน์เกือบสมบูรณ์ อิสราเอลออกแบบและควบคุมพื้นที่ทั้งหมดโดยการมีอำนาจเหนือที่ดินหลายล้านดูนัม และจัดตั้งชุมชนเพื่อยิวเท่านั้น ขณะที่ผลักให้ชาวปาเลสไตน์เข้าไปในพื้นที่ปิดล้อมเล็ก ๆ การเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ถูกควบคุมด้วยข้อจำกัดต่อชาวปาเลสไตน์ใต้อาณัติอิสราเอล และด้วยการวางแผนและจัดการทางการเมือง ที่กันชาวปาเลสไตน์นับล้านออกไปไม่ให้มีส่วนร่วมในกระบวนการที่กำหนดชีวิตและอนาคตของพวกเขา ระหว่างที่กุมให้พวกเขาอยู่ใต้การยึดครองทางการทหารระบอบที่ใช้กฎหมาย ข้อปฏิบัติ และความรุนแรงที่เป็นระเบียบ เพื่อประสานฐานแห่งคติความสูงส่งของคนกลุ่มหนึ่งให้เหนือกว่าคนอีกกลุ่ม คือระบอบการปกครองแบ่งแยก (Apartheid) การปกครองแบ่งแยกแบบอิสราเอลซึ่งสนับสนุนความสูงส่งของชาวยิวให้เหนือกว่าชาวปาเลสไตน์ ไม่ได้กำเนิดขึ้นภายในวันเดียวหรือด้วยคำปราศรัยหนึ่งคำ แต่เป็นกระบวนการที่ค่อย ๆ เติบโตอย่างฝังรากลึกเป็นองค์กร และแจ่มแจ้งชัดเจน ด้วยกลไกที่มีการนำเสนอผ่านกาลเวลา ในกฎหมายและหลักปฏิบัติทางการเมือง เพื่อส่งเสริมคติความสูงส่งของยิว มาตรการที่สั่งสมมาเหล่านี้ การแผ่ขยายของการตรากฎหมายและหลักปฏิบัติทางการเมืองของพวกเขา และการสนับสนุนจากสาธารณชนและตุลาการที่พวกเขาได้รับ ล้วนสร้างฐานให้ข้อสรุปของพวกเรา ว่ามาตรฐานการตราหน้าระบอบอิสราเอลว่าเป็นระบอบการปกครองแบ่งแยกถึงเกณฑ์แล้วหากระบอบนี้ได้พัฒนาล่วงมาหลายปี ทำไมจึงเผยแพร่บทความนี้ในปี 2021 อะไรได้เปลี่ยนไปแล้วบ้าง ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การที่ทางการอิสราเอลและสถาบันต่าง ๆ เทิดทูนระบอบความสูงส่งของยิวในกฎหมายและแถลงการณ์ถึงเจตนารมณ์ของพวกเขาอย่างเปิดเผย ได้เป็นที่พบเห็นผ่านแรงจูงใจและความสมัครใจในการกระทำข้างต้น การบัญญัติกฎหมายพื้นฐานแห่งอิสราเอล รัฐชาติแห่งชาวยิว (Basic Law: Israel – the Nation State of the Jewish People) และแผนการประกาศเพื่อเข้ายึดครองส่วนของเวสต์แบงก์อย่างเป็นทางการ ได้พังทลายหน้ากากที่อิสราเอลทำการรักษามาหลายปีกฎหมายรัฐชาติพื้นฐานที่ได้รับการตราในปี 2018 เทิดทูนสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตของชาวยิวด้วยตนเอง โดยผลักไสผู้อื่นออกไปทั้งหมด กฎหมายนั้นบัญญัติว่า การจำแนกชาวยิวในอิสราเอล (และทั้งสากลโลก) จากผู้ที่ไม่ใช่ยิวเป็นฐานสำคัญและถูกต้องตามกฎหมาย บนการแบ่งแยกนี้ กฎหมายอำนวยให้มีการเหยียดอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนชาวยิวในการตั้งถิ่นฐาน การจัดหาที่อยู่ การพัฒนาที่ดิน การเป็นพลเมือง ภาษา และวัฒนธรรม เป็นเรื่องจริงที่ว่า ระบอบอิสราเอลดำเนินงานตามหลักการที่ว่ามานี้เป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะนี้คติความสูงส่งของยิวได้ถูกเชิดชูในกฎหมายพื้นฐาน ซึ่งทำให้กฎหมายนั้นเป็นหลักการระดับรัฐธรรมนูญที่มีข้อผูกพัน ไม่เหมือนกับกฎหมายจารีตหรือหลักปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่อาจถูกคัดค้านได้ การตรากฎหมายลักษณะนี้ส่งสัญญาณไปยังสถาบันของรัฐทั้งหมด ว่าพวกเขาไม่เพียงแต่สามารถ แต่ต้องสนับสนุนคติความสูงส่งของยิว ภายในพื้นที่ทั้งหมดภายใต้การควบคุมของอิสราเอลแผนการของอิสราเอลที่จะเข้ายึดส่วนของเวสต์แบงก์อย่างเป็นทางการ ยังเชื่อมช่องโหว่ระหว่างสถานภาพอย่างเป็นทางการของดินแดนที่ถูกยึดครอง ซึ่งมาพร้อมด้วยวาทศิลป์กลวง ๆ เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองเรื่องอนาคตของดินแดนนั้น เข้ากับความจริงที่ว่า อิสราเอลยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวสต์แบงก์จริง ๆ มาเป็นระยะเวลานานแล้ว อิสราเอลไม่ได้ปฏิบัติตามคำประกาศของตนเรื่องการผนวกดินแดนอย่างเป็นทางการภายหลังปี 2020 และเจ้าหน้าที่หลายคนได้ออกแถลงการณ์โต้แย้งแผนการดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ไม่ว่าอิสราเอลเดินหน้าการยึดครองอย่างเป็นทางการด้วยวิธีใดหรือเมื่อใดก็ตาม เจตนาที่จะบรรลุการเข้าควบคุมพื้นที่ทั้งหมดถาวรได้ถูกประกาศอย่างเปิดเผยโดยเจ้าหน้าที่สูงสุดของรัฐแล้วฐานตรรกะของระบอบอิสราเอล และมาตรการที่ใช้จัดตั้งระบอบ เป็นเครื่องเตือนใจให้นึกถึงระบอบแอฟริกาใต้ ซึ่งพยายามดำรงคติความสูงส่งของพลเมืองคนขาวไว้ ส่วนหนึ่งดำเนินผ่านการแบ่งแยกประชากรออกเป็นหลายชนชั้นและชนชั้นย่อย และยกสิทธิ์ที่แตกต่างกันไปให้แต่ละชนชั้น แน่นอนว่ามีความแตกต่างระหว่างสองระบอบนี้ อาทิว่า การแบ่งแยกในแอฟริกาใต้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและสีผิว ขณะที่การแบ่งแยกในอิสราเอลขึ้นอยู่กับสัญชาติและชาติพันธุ์ การกีดกันทางเชื้อชาติในแอฟริกาใต้ถูกแสดงให้เห็นเป็นเด่นชัดในพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบของการแบ่งแยกเชิงควบคุมผ่านตำรวจ ในระดับทางการ และทางราชการ ระหว่างประชาชนตามสีผิว ซึ่งเป็นระดับของความชัดแจ้งที่อิสราเอลหลีกเลี่ยงเป็นปกติ ทว่าในวาทกรรมสาธารณะและกฎหมายระหว่างประเทศ การปกครองแบ่งแยกไม่ได้หมายถึงการทำสำเนาคัดลอกระบอบแอฟริกาใต้ระบอบก่อน ไม่มีระบอบการปกครองใดจะเหมือนกันทุกประการ ‘การปกครองแบ่งแยก’ เป็นศัพท์ที่มีความหมายในตัวมาเนิ่นนาน ซึ่งถูกยึดถือในที่ประชุมนานาชาติ ว่าสื่อถึงหลักการจัดระเบียบของระบอบหนึ่ง ๆ คือการสนับสนุนการมีอิทธิพลของคนกลุ่มหนึ่งเหนืออีกกลุ่มอย่างเป็นระบบ และการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างฐานของการมีอิทธิพลนั้นระบอบอิสราเอลไม่จำเป็นต้องประกาศตนว่าเป็นระบอบการปกครองแบ่งแยกเพื่อให้ได้รับนิยามดังกล่าว หรือไม่เกี่ยวข้องกับการที่ตัวแทนของรัฐป่าวประกาศว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง สิ่งที่นิยามระบอบการปกครองแบ่งแยกไม่ใช่คำแถลงการณ์ แต่เป็นการลงมือปฏิบัติจริง ในขณะที่แอฟริกาใต้ประกาศตนว่าเป็นระบอบการปกครองแบ่งแยกในปี 1948 ก็ไม่สมเหตุสมผลที่จะคาดหมายให้รัฐอื่น ๆ ปฏิบัติตามคำร้องบนเงื่อนไขของเสียงสะท้อนทางประวัติศาสตร์ การตอบรับของประเทศส่วนใหญ่ต่อการปกครองแบ่งแยกของแอฟริกาใต้มีทีท่ายับยั้งหลายประเทศไม่ให้ยอมรับการนำระบอบที่คล้ายคลึงกันไปใช้ เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งที่เคยเป็นไปได้ในปี 1948 ไม่เป็นไปได้อีกต่อไปในวันนี้ ทั้งในทางกฎหมายและในแง่ของมิติมหาชน

แม้การมองเห็นความเป็นจริงด้วยดวงตาจะเจ็บปวดมากเพียงใด การอยู่ใต้การถูกกดขี่เจ็บปวดยิ่งกว่า ความเป็นจริงอันโหดร้ายที่ได้รับการอธิบายข้างต้นนี้ อาจเลวร้ายลงอีกมาก หากหลักปฏิบัติใหม่ ๆ ถูกนำมาใช้ ไม่ว่ามีหรือไม่มีการตรากฎหมายที่พ่วงมาด้วยก็ตาม อย่างไรก็ดี คนสร้างระบอบนี้ขึ้นมา และคนสามารถทำให้ระบอบนั้นเลวลงได้ หรือพยายามทำงานเพื่อเปลี่ยนระบอบนั้นใหม่ ความหวังนั้นคือแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังบทความแสดงจุดยืนนี้ คนจะสู้กับความอยุติธรรมได้อย่างไรหากสิ่งนั้นไม่มีชื่อเรียก การปกครองแบ่งแยกเป็นหลักการจัดระเบียบ แต่การมองทะลุหลังสิ่งนี้ไปไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้ แต่แท้จริงแล้ว คือเสียงเรียกเพื่อการเปลี่ยนแปลงการต่อสู้เพื่ออนาคตบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน อิสรภาพ และความยุติธรรม คือเรื่องสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะในขณะนี้ มีวิถีทางการเมืองหลากหลายเส้นทางสู่อนาคตอันเป็นธรรมที่นี่ ระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่เราทุกคนจำเป็นต้องเลือกปฏิเสธการปกครองแบ่งแยกเป็นอันดับแรก

โดย Nafisa Nipun Tanjeen (นักวิจัยสายสตรีศึกษาและนักเคลื่อนไหว https://ntanjeem.org )เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 (อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี่)


ในปีนี้ วันสตรีสากลจะเฉลิมฉลองในหัวข้อ “การลงทุนกับสตรี: การพัฒนาอย่างว่องไว” ซึ่งเป็นหัวข้อที่เสนอโดยสหประชาชาติ (UN) องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) กล่าวว่า “ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ให้ได้ก็คือความขาดแคลนด้านเงินทุนที่เป็นปัญหาอย่างหนักในขณะนี้ เพราะในแต่ละปีเรายังขาดแคลนงบประมาณมากถึงปีละ 360 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อที่จะใช้ในมาตรการเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ (UN Women 2023) แล้วอะไรคือทางออกเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนเงินทุนในการสนับสนุนมาตราการความเท่าเทียมทางเพศ? สหประชาชาติเสนอว่า “การลงทุนกับสตรี” เพื่อ “การพัฒนาอย่างว่องไว” คือทางออก อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าทั้งสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระหว่างภูมิภาค องค์กรท้องถิ่นที่ไม่ใช่ของรัฐ และองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย ต่างก็จดจ่ออยู่กับการทำให้ “ความเท่าเทียม” เกิดขึ้นจริงให้ได้เพื่อมอบเสรีภาพให้กับสตรีความเท่าเทียมอาจไม่ช่วยอะไรพวกเรา
คำว่า “ความเท่าเทียม” เป็นคำที่ไม่ดีหรือ? แน่นอนว่าไม่ใช่เช่นนั้น แต่เราต้องถามต่อว่า “ความเท่าเทียมกับใครและทำไม?” ในหลายกรณีที่วาทกรรมเกี่ยวกับความเท่าเทียมมุ่งมองไปที่ความเท่าเทียมต่อเพศชาย ตัวอย่างเช่น มักจะเกิดข้อโต้แย้งว่าผู้หญิงควรได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกับผู้ชาย หรือผู้หญิงควรมีตัวแทนในพื้นที่การเมืองที่เท่าเทียมกับผู้ชาย ใช่ พวกเราต้องการสิ่งเหล่านั้นแน่นอน แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เราต้องนึกถึงด้วย นักสิทธิสตรีผิวดำเบลล์ ฮุกส์ (bell hooks นามปากกาของ Gloria Jean Watkins, 1952-2021) ตั้งคำถามกับวาทกรรมของคำว่า “ความเท่าเทียม” ไว้เมื่อหลายปีก่อน เธอชี้ให้เห็นว่าการจดจ่ออยู่กับการพยายามทำให้เท่าเทียมกับผู้ชายได้สำเร็จ ในบริบทของระบบที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้ อาจเป็นเพียงการปฏิรูปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนที่มีอภิสิทธิ์อยู่แล้วในสังคมเท่านั้น เพราะมันไม่มีทางเพียงพอที่จะขุดรากถอนโคนสิ่งที่เรียกว่า “ปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่” (‘Imperialist white supremacist capitalist cis-hetero patriarchy’) (hooks 1994; 2000; 2023)
แน่นอนว่า มันเป็นมุมมองที่คล่องตัวในการเรียกร้องให้ระบบที่มีความซ้อนทับกันเช่นนี้มอบสิทธิให้กับสตรีมากขึ้นภายใต้ระบบที่จะดำเนินต่อไป โดยที่การเรียกร้องนี้ไม่แตะต้องกับตัวระบบเลย ในขณะที่ การสนทนาและการรวมตัวจัดตั้งองค์กรเพื่อนำไปสู่การถอนรากของระบบจักรวรรดิและระบบทุนนิยมจะทำให้พวกเราต้องถามคำถามที่น่าอึดอัดใช้ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง และทำให้การต่อสู้ของพวกเรายากยิ่งขึ้น การโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ เป็นเรื่องง่าย เช่นการโต้แย้งในประเด็นว่าเราต้องการเห็นสตรีในพื้นที่รัฐสภามากขึ้นหรือไม่ การเฉลิมฉลองให้กับสิ่งที่มีคนเรียกกันว่า “ภาวะผู้นำ” ของสตรีหรือการยกยอผู้บริหารที่เป็นสตรี หรือการมอบรางวัลนักธุรกิจสตรี คนเหล่านี้เป็นผู้ที่รู้จักและสามารถใช้ภาษาในการสนทนาในวัฒนธรรมจักรวรรดิ ทุนนิยม และปิตาธิปไตย และพวกเขารู้จักและสามารถรับใช้ระบบเหล่านั้นในลักษณะเดียวกันกับพวกผู้ชาย “ที่ประสบความสำเร็จ” เมื่อไหร่กันเล่า ที่พวกเราจะเฉลิมฉลองให้กับสตรีนักปฏิวัติ สตรีที่ทำให้เกิดปัญหา สตรีผู้ถามคำถามอันน่าอึดอัด และสตรีที่ปฏิเสธจะเป็นตัวหมากให้กับเกมกระดานของระบอบปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่?อันตรายของการทำให้เสรีภาพของสตรีเป็นเรื่องเศรษฐกิจ
ในปีนี้ สหประชาชาติได้เสนอข้อเรียกร้องให้ “ลงทุน” กับสตรีมากขึ้น คำว่า “การลงทุน” นี้เป็นคำที่สุดแสนจะทุนนิยมและเสรีนิยมใหม่อย่างยิ่งยวด เมื่อเราลงทุน ก็ดูเหมือนจะต้องมีความคาดหวังว่าจะได้สิ่งตอบแทนจากการลงทุนเหล่านั้น หากอ้างอิงจากสหประชาชาติ พวกเขาเชื่อว่าผลตอบแทนของการลงทุนก็คือ “การพัฒนาอย่างว่องไว” ถ้าเป็นฮุกส์ เธอก็คงจะถามว่า “พัฒนาเพื่อใคร?” หรือถ้าจะให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ก็คงจะเป็นคำถามว่า “การพัฒนาที่ว่านี้เอื้อประโยชน์หรือชำแหละระบอบปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่อย่างไร?” นอกจากนี้ การปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลายาวนานและแสนเจ็บปวด เราอาจต้องใช้การกระเสือกกระสนและการรวมตัวจัดตั้งเป็นเวลานานหลายปีเพื่อที่จะต่อต้านและถอนรากของระบบอันกดขี่ได้ จึงเป็นคำถามว่า พื้นที่ของการปฏิรูปในระยะยาวและการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอยู่ที่ตรงไหน ในบริบทที่เสรีภาพของสตรีถูกทำให้กลายเป็นเรื่องเศรษฐกิจและถูกอธิบายด้วยวาทกรรมทางการเงิน รวมทั้งการคาดหวังให้เกิดการลงทุนเพื่อสตรีด้วยเหตุผลว่ามันจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนด้วยการพัฒนาอย่างว่องไวของอะไรสักอย่างหนึ่ง? แล้วถ้าการลงทุนนี้ไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คาดหวังล่ะ? แล้วถ้าการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของสตรีคือการลดทอนและสูญเสียอภิสิทธิ์บางอย่างของบางกลุ่มคนล่ะ? เราควรหยุดต่อสู้เพื่อความยุติธรรมหรือไม่หากเราไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างว่องไวตามที่คาดหวังไว้?
นักสตรีนิยมชาวปาเลสไตน์ปฏิเสธข้อเสนอเรื่องความเท่าเทียมและแคมเปญของสหประชาชาติ
บางทีเราจำเป็นต้องมีกระบวนการย้อนมองจุดยืนเฟมินิสต์ของพวกเรา ฉันจะเสนอข้อโต้แย้งว่านักสตรีนิยมปาเลสไตน์ได้ให้วิธีการต่อสู้ที่ทรงพลังอย่างมากในการต้านทานต่อระบอบระบอบปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่ พวกเขาได้ตระหนักมาก่อนหน้านี้นานแล้วว่าแค่ความเท่าเทียมกับผู้ชายชาวปาเลสไตน์ไม่สามารถช่วยเหลือผู้หญิงชาวปาเลสไตน์ได้ นักสตรีนิยมชาวปาเลสไตน์ต่างก็เผชิญความยากลำบากในการเรียกร้องเสรีภาพจาก “ความรุนแรงของอาณานิคมเชิงระบบเฉพาะเพศและทางเพศ การถูกกดทับ และการถูกทำให้สูญเสียทรัพย์สิน” ผู้ชายไม่ใช่ศัตรูโดยตรงและไม่มีมาตรฐานที่เราอยากไปถึง นักเคลื่อนไหวแนวสตรีนิยมปาเลสไตน์ได้เรียกร้องให้เกิด “มุมมองและกระบวนการเพื่อปลดปล่อยอาณานิคมแนวต่อต้านอาณานิคมและให้คุณค่าชีวิต” (อ้างอิงกลุ่ม Palestinian Feminist Collective)
ปีที่แล้ว กลุ่ม Palestinian Feminist Collective ซึ่งเป็นกลุ่มรวมตั้งของนักสตรีนิยมชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับซึ่งส่วนใหญ่พำนักในภูมิภาคอเมริกาเหนือได้ใช้แรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีของชาวอาหรับ ชาวปาเลสไตน์ คนผิวดำ ชนพื้นเมือง และกลุ่มประเทศโลกที่สาม และได้เรียกร้องต่อแคมเปญของสหประชาชาติที่ชื่อ UNiTE (ระหว่าง 25 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2023) ซึ่งเป็นโครงการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง 16 วันเพื่อขจัดความรุนแรงต่อสตรี นักสตรีนิยมปาเลสไตน์ได้ชี้ให้เห็นว่าวาทกรรมแนวสตรีนิยมอาณานิยมโลก (Global colonial feminist discourse) ซึ่งรวมถึงวาทกรรมที่สหประชาชาติใช้ เป็นวาทกรรมที่จดจ่ออยู่กับความรุนแรงระหว่างบุคคลซึ่งนำไปสู่การนำเสนอภาพว่าผู้หญิงชาวปาเลสไตน์เป็นเหยื่อไร้ทางสู้ มุมมองสตรีนิยมใต้อาณานิคมกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมของผู้ยึดครองอาณานิคมตั้งถิ่นฐานไซออนิสต์ ที่อ้างว่าการยึดดินแดนและทรัพยากรของปาเลสไตน์ รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ ต่างก็เป็นไปเพื่อช่วยเหลือสตรีปาเลสไตน์จากผู้ชาย จากศาสนา และจากวัฒนธรรมของพวกเขา นักสตรีนิยมปาเลสไตน์นำเสนอให้เห็นว่ามุมมองสตรีนิยมใต้อาณานิคมทำให้เกิดภาพว่าผู้ชายปาเลสไตน์เป็นอาชญากรทางเพศกักขฬะ เป็นผู้ทารุณโหดร้าย และเป็นพ่อที่ไร้ความรัก ซึ่งใช้ลูกของเขาเป็นโล่มนุษย์ ในขณะเดียวกันมุมมองดังกล่าวก็ช่วยแก้ต่างให้กับความรุนแรงของอาณานิคมที่เกิดขึ้นต่อเรือนร่าง เพศ และการเจริญพันธุ์ของสตรีชาวปาเลสไตน์ว่าเป็น “ลูกหลง” หรือที่แย่กว่านั้นคือการถูกนำไปใช้อ้างว่าเป็นสิทธิ์ที่อิสราเอลพึงกระทำได้เพื่อปกป้องตัวเอง (อ้างอิงกลุ่ม Palestinian Feminist Collective)นักสตรีนิยมปาเลสไตน์เรียกร้องต่อจักรวรรดิต่าง ๆ ทั่วโลก
นักสตรีนิยมปาเลสไตน์ไม่รีรอที่จะเรียกร้องต่างจักรวรรดิต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งสหรัฐด้วยเช่นกัน รวมทั้งองค์กรเพื่อสิทธิในการเจริญพันธุ์ระดับโลกอย่าง Planned Parenthood กลุ่ม Palestinia Feminist Collective ได้ออกแถลงการณ์ถึง Planned Parenthood องค์กรลูกรักของนักสตรีนิยมชาวอเมริกันผิวขาว และวิพากษ์ที่พวกเขาแสดงจุดยืนอันสะดวกสบายที่จะ “ยืนข้างทั้งสองฝ่าย” และล้มเหลวที่จะพูดถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซาหรือประวัติศาสตร์อันยาวนานของอาณานิคมตั้งถิ่นฐานอิสราเอลที่ทำให้เกิดการยึดครองและความรุนแรงในดินแดนปาเลสไตน์ นักสตรีนิยมปาเลสไตน์ตั้งคำถามอย่างชอบธรรมว่า เหตุใดกันเล่าที่องค์กรเพื่อสิทธิทางการเจริญพันธุ์ที่ทรงพลังมากที่สุดและมีทรัพยากรมากที่สุดในโลกจึงได้ล้มเหลวที่จะตระหนักถึงประเด็นทางสิทธิสตรี “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางการเจริญพันธุ์” ที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ ซึ่งรวมทั้ง “การจองจำหมู่, สงครามจิตวิทยา, การลงโทษแบบเหมารวม, การกวาดล้างชาติพันธุ์, ความรุนแรงเฉพาะเพศและทางเพศต่อผู้หญิงและเด็กหญิงโดยรัฐและกองกำลังยึดครอง, ความรุนแรงเฉพาะเพศและทางเพศต่อผู้ชายและเด็กชายโดยรัฐและกองกำลังยึดครอง, และเงื่อนไขการใช้ชีวิตและการไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยถูกบังคับ” (อ้างอิง Palestinian Feminist Collective)
บทเรียนของการถูกเลี้ยงให้ตายอย่างช้า ๆ
นักสตรีนิยมปาเลสไตน์มอบแรงบันดาลใจและเครื่องมือในการคิดพิเคราะห์ให้กับเรามากมาย อันเป็นแนวทางการต่อสู้กับระบอบปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่ อย่างเหมาะสมกับบริบทของเราแต่ละคน ระหว่างที่รัฐบาลของเรา องค์กรภาครัฐและองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ กลุ่มสิทธิมนุษยชน สื่อ และบริษัทองค์กรอื่น ๆ กำลังขานรับนโยบายแบบบนลงล่างจากสหประชาชาติที่เสนอให้ “ลงทุนกับสตรี” และระหว่างที่พวกเราสวมใส่เสื้อผ้าสีม่วง ตัดแบ่งเค้ก ส่งต่อดอกไม้ ให้กับเพื่อนของเราที่นิยามตนเองเป็นสตรีเพศ จัดการเดินขบวนที่อาจมีผู้สนับสนุน หรือโพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย ขอให้เราแวะใช้ช่วงเวลาสักช่วงหนึ่งที่จะไตร่ตรองดูว่าชุมชนของเรากำลังเผชิญภาวะการถูกเลี้ยงให้ตายอย่างช้า ๆ
ตามที่นักสตรีนิยมปาเลสไตน์ได้สอนให้เราเห็นว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผ่านการเจริญพันธุ์เป็น “นโยบาย วาทกรรม และการปฏิบัติ เพื่อจำกัด กีดกัน โจมตี และบ่อนทำลาย ศักยภาพในการก่อกำเนิดชีวิตใหม่ ทางเลือกต่าง ๆ การเข้าถึงสิ่งจำเป็นต่าง ๆ สุขภาวะระยะสั้น สุขภาวะระยะยาว และโอกาสในการมีชีวิตของชุมชน…” (อ้างอิง Palestinian Feminist Collective) ในฐานะชุมชนหนึ่ง ฉันขอเสนอข้อโต้แย้งว่าพวกเรากำลังเผชิญกับภาวะถูกเลี้ยงให้ตายอย่างช้า ๆ - ซึ่งหมายถึงการทำลายศักยภาพและสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอย่างช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง - การจดจ่อของพวกเราที่จะขยายการลงทุนและผลตอบแทนให้มากที่สุดนำไปสู่ผลพวงของตึกอาคารและเลขรหัสวินาสภัยที่ไม่มีอยู่จริงแต่เป็นภัยต่อชีวิต ในขณะที่นักการเมืองและผู้วางแผนนโยบายกำลังขายภาพจินตกรรมของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างว่องไว หลายเดือนต่อหลายเดือนที่การรวมตัวจัดตั้งองค์กร การเคลื่อนไหวเรียกร้อง และการขู่จับกุมนักเคลื่อนไหวจำนวนมากหลายต่อหายครั้ง รัฐบาลและองค์กรพันธมิตรของพวกเขาก็ยังคงปฏิเสธต่อพี่น้องแรงงานของเราที่จะจ่ายค่าแรงให้พวกเขาพอใช้ชีวิตได้ ประชาธิปไตยของเรา เสรีภาพสื่อของเรา และเสรีภาพการแสดงออกของเรา ได้ตายไปแล้ว แต่ก็อย่าเพิ่งโวยวายไป เพราะดูสิ เราได้รับสะพานแขวนอันใหม่ ทางรถไฟความเร็วสูง และทางด่วนลอยฟ้ามหึมา ทั้งหมดนี้ไม่ต่างจากวาทกรรมอาณานิคมเลยสักนิด วาทกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและวาทกรรมเกี่ยวกับความเจริญถูกผลิตซ้ำ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เพื่อสร้างความชอบธรรมและทำให้การถูกเลี้ยงให้ตายไปในแต่ละวันของพวกเรากลายเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่พวกเราต้องสูดดมมลพิษ ในขณะที่พวกเราต้องสูญเสียเพื่อนและครอบครัวให้กับหายนะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองกับมือ ในขณะที่พวกเราสูญเสียเสรีภาพในการแสดงออกและอัตตาณัติเหนือชีวิตตนเอง และในขณะที่พวกเราซึ่งเป็นผู้ที่ถูกผลักให้เป็นชายขอบ ผู้ที่ถูกผลักให้เป็นคนกลุ่มน้อยของสังคม กำลังทุรนทุรายอย่างสาหัสกับการเกิดมาผิดที่ผิดทาง ผิดเวลาไม่เอาภาพฝันของความเท่าเทียม
นี่คือเวลาที่พวกเรา เฟมินิสต์ จะต้องปฏิเสธและไม่ยอมรับภาพฝันของมายาคติความเท่าเทียมกับผู้ชายใต้ระบบสังคมที่กำลังดำเนินอยู่ ถึงเวลาแล้วที่พวกเขาจะต้องเรียนรู้จากการรื้อถอนอาณานิคม การปฏิรูปสังคม ระบบรากหญ้า และองค์กรสตรีนิยมข้ามชาติ และรวมทั้งผลงานของการเคลื่อนไหวอันทรงพลังของกลุ่มสตรีนิยมปาเลสไตน์ที่พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหยุด การรับเอานโยบายจากสหประชาชาติแบบหลับตารับและไม่วิพากษ์วิจารณ์ต่อแนวทางของผู้บริหารสายสตรีนิยมในระบบแบบบนลงล่าง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องลุกขึ้นพลิกขั้วอำนาจในความสัมพันธ์อันยุ่งเหยิงของสาธารณะ-องค์กรนอกภาครัฐ-อุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงและยากจะคลี่คลายต่อจารีตแห่งความเป็นปัจเจกและองค์กรสตรีนิยมรากหญ้าซึ่งได้ดำเนินมาต่อเนื่องยาวนาน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องชี้ให้เห็นปัญหาของการตั้งหลักจดจ่ออยู่กับ “ความสำเร็จ” ของผู้หญิงรายคนที่มีอภิสิทธิ์มากพอจะเล่นในเกมของระบอบปิตาธิปไตยในระบบสองเพศที่ผูกพันกับทุนนิยมของจักรวรรดิผิวขาวเป็นใหญ่ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะมีส่วนร่วมในการไตร่ตรองจิตวิญญาณของเราเพื่อหาคำตอบว่าการต่อสู้เคลื่อนไหวเพื่อสตรีด้วยการต่อต้านจักรวรรดิ รื้อถอนอาณานิคม และต่อต้านทุกนิยม จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรในชุมชนของเรา


Nafisa Nipun Tanjeem เป็นอาจารย์ นักวิจัย นักเขียน และนักเคลื่อนไหว ในขณะนี้เธอเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ภาควิชาการศึกษาสหสาขาวิชา มหาวิทยาลัยวอร์เชสเตอร์สเตต (Worcester State University) ที่รัฐแมสซชูเซตส์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา

Associate Professor Adisra Katib, Ph D
รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศรา กาติ๊บ
This year, as women all around the world, including women in the Arab countries, recognize March 8th, 2024 as the International Women’s Day, ‘the women of Gaza’ are far from being able to celebrate this event honouring women, but instead are facing humanitarian catastrophe.Based on the data provided by UNWOMEN.ORG dated January 2024, of all Palestinian civilians killed by the Israeli forces between the years 2008 and October 7, 2023, women and children constituted 14 percent. However, the number of these two groups killed has risen dramatically to more than 70 percent since October 7. According to UN WOMEN’s facts and figures, as of March 5, more than 9000 women have been killed by the Israeli forces in Gaza.Palestinian women have endured a great deal of suffering and atrocities committed by both the Israeli forces and the Israel illegal settlers, but women of Gaza in particular, have been facing unimaginable pain and profound hardship for five months now, especially when starvation is being used as a weapon of war against innocent civilians in the Gaza Strip, which is considered a war crime. Both the public statements made by some of the Israeli officials and the actions committed by the Israeli military forces have left no room for interpretation of their real intention – that is, to starve the people in Gaza to death. This tactic, plus the destruction of Gaza from the Israeli indiscriminate bombardment, will eventually make Gaza uninhabitable for the Palestinians, serving the Israeli regime’s ultimate goal – supreme sovereignty exclusively for the Israelis in this historic land of Palestine. This is truly the Palestinians’ second Nakba – the second Great Catastrophe.According to the information from the Conversation published on October 16 of last year, even prior to the so-called ‘War on Gaza,’ stemming from the Israel’s 16-year blockade of the territory, “70% of Gaza’s households were already classified as ‘food insecure’,” because it was up to Israel’s determination whether to approve commodities including food, medicine, and electricity to enter or exit the Strip.Not only that, amidst these attacks by the Israeli forces occurring in Gaza, many pregnant mothers are undergoing emergency caesarean sections (C-sections) performed by doctors without receiving anaesthesia or pain medication. One can only imagine how painful it must be having to go through an operation without pain relief.
If they survive all these hardships, one inevitable situation facing these women is constant displacement since they have been told to “move south,” as repeatedly ordered by the Israeli high-ranking officers. Imagine the challenges and risks these pregnant mothers are facing as they are being forced to constantly make a long journey from north to south.
Furthermore, a number of ‘women of Gaza’ have become widows as they lost their husbands through this war against the ‘women of Gaza.’ From the latest information dated on March 5, over 3000 women in Gaza have become widows and taken the responsibility of being leaders of households due to the death of their spouses resulting from this war crime against the Palestinians.Probably the most painful situation a woman has to endure is to lose a child. I believe we all still remember just over a month ago the news about the lovely 6-year-old Hind Rajab who, after being a sole survivor from those brutal attacks by the Israeli military at the beginning, was eventually killed. What sin did Hind Rajab commit to deserve such barbaric act by the Israeli force? Many of the western mainstream media channels deliberately used the phrase “six-year-old Palestinian girl ‘found dead’ in Gaza,” instead of “six-year-old Palestinian girl ‘killed by the Israeli army.’” For people who possess empathy, it was heartbreaking to hear that little voice asking the Palestinian Red Crescent Society dispatcher to come and get her, and that she was really scared. Several weeks have passed, and some people may move on to other important matters in their lives, but the ‘mothers of Gaza’ will never forget!So, the theme of this year’s International Women’s Day for me is the word ‘resilience,’ stemming from the personality of the ‘women of Gaza.’ To all mothers, daughters, grand-mothers, grand-daughters, wives, sisters, aunts, nieces, cousin sisters, and girl friends, you are the Champions of the 2024 International Women’s Day because of your ‘resilience.’I would like to conclude my article by saying this… Although it seems that the leaders of many of the Muslim countries are silent to the plight of the Palestinians, it is still comforting to know that regular people all around the world, and I mean ALL AROUND THE WORLD, have taken to the streets, refusing to give up, but instead, having conviction in demanding and pursuing justice for both ‘women of Gaza’ and all the people in Palestine. You too deserve huge applause.Thank you, from the bottom of my heart.

ร่วมเดินขบวนส่งเสียงเรียกร้องสันติภาพและเสรีภาพกับเรา ในงาน Bangkok Pride 2024
ณ ขบวนสันติภาพ Love for Peace & Earth
วันที่ 1 มิถุนายน 2024 เวลา 14.00 น.
จากสนามกีฬาแห่งชาติสู่แยกราชประสงค์

การย้อมชมพู (Pinkwashing)

เบื้องหลังภาพลักษณ์ “เป็นมิตรต่อเควียร์” ของอิสราเอล และวิธีที่อิสราเอลใช้ความเป็นเควียร์เป็น “อาวุธ” ในการกดขี่ปาเลสไตน์

บทความโดยทีมงาน THAI for Palestine | May 2024

ฟังบทความรูปแบบเสียง (อ่านโดย FrozSloth) : Link


“ฉันไม่รู้ว่าฉันจะมีชีวิตอยู่ไปได้อีกนานเท่าไหร่ดังนั้นฉันเลยอยากให้นี่เป็นความทรงจำของฉัน ณ ที่แห่งนี้ก่อนฉันตาย ฉันจะไม่ทิ้งบ้านของฉันไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ฉันเสียใจที่สุดที่ไม่ได้ทำก็คือการจูบชายคนหนึ่ง เขาตายเมื่อสองวันก่อน เราพูดคุยกันถึงว่าเราชอบกันและกันมากขนาดไหน และฉันเขินอายเกินกว่าจะจูบเขาเมื่อเราเจอกันครั้งก่อน เขาเสียชีวิตในเหตุทิ้งระเบิด ฉันรู้สึกว่าตัวฉันส่วนหนึ่งได้ตายไปด้วย และอีกไม่นานฉันก็คงจะตายตาม ถึงยูนุส ฉันจะจูบคุณบนสวรรค์”

ข้อความจากเควียร์ในฉนวนกาซาที่ถูกโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ Queering the Map อย่างนิรนาม ได้แสดงถึงความเจ็บปวดของพวกเขาในฐานะเควียร์ ภายใต้ภาวะสงครามและการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพอิสราเอล


การย้อมชมพู (Pinkwashing) หรือบางทีก็เรียกว่า การย้อมรุ้ง (Rainbow-washing) เป็นคำที่นักกิจกรรมใช้เรียกการที่รัฐบาลพยายามจะโปรโมทหรือใช้โฆษณาชวนเชื่อบนเวทีถึงการให้สิทธิแก่ชุมชน LGBTQIA+ เพื่อสร้างภาพความเป็นสังคมลิเบอรัลและประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันยังดำรงไว้ซึ่งระบบหรือนโยบายอันกดขี่ลิดรอนสิทธิ LGBTQIA+ ชนกลุ่มน้อย รุกรานประเทศอื่น หรือการใช้ความรุนแรงต่อชุมชนที่ถูกมองว่า “เปิดกว้างต่อ LGBTQIA+ น้อยกว่า”คนไทยอาจคุ้นกับคำว่า “Pinkwashing” หรือ “Rainbow-washing” ในเชิงธุรกิจมากกว่า เช่นที่ว่าแบรนด์ต่าง ๆ มักใช้สีรุ้งบนสินค้าตนเพื่อโปรโมทหรือกระตุ้นยอดขาย ในขณะเดียวกันก็มีส่วนร่วมน้อยมากหรือแทบไม่มีส่วนร่วมเลยกับการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิ LGBTQIA+ แท้จริงแล้วคำนี้ถูกเริ่มต้นใช้ในบริบทของปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เมื่อนักกิจกรรมเรียกสิ่งที่รัฐบาลอิสราเอลทำในการใช้ภาพลักษณ์ “การเป็นมิตรต่อเควียร์” มาลบเลือนกลบปิดอาชญากรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงของตนเองว่า “Pinkwashing” 1

ภาพกลุ่ม Mashpritzot - กลุ่มเควียร์อนาคิสต์จัดประท้วง Die-in ในไพรด์พาเหรด เมืองเทลอาวีฟ ปี2013 เพื่อต่อต้านการย้อมชมพูชุมชน LGBTQIA+ ในอิสราเอล รวมถึงต่อต้านอาชญากรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อิสราเอลกระทำต่อปาเลสไตน์ในการยึดครอง (Occupation) ที่มา

อิสราเอลพยายามนำเสนอตัวเองว่าเป็นศูนย์กลางของเกย์หัวก้าวหน้าเพื่อหันเหความสนใจของผู้วิพากษ์วิจารณ์จากระบอบแบ่งแยก (Apartheid) การยึดครองโดยทหาร (Occupation) และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)

ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ที่ขบวนการไซออนิสม์ทางการเมืองถือกำเนิดขึ้น ได้มีการริเริ่มตั้งอาณานิคมล่าถิ่นฐานในดินแดนปาเลสไตน์ และต่อมากลายเป็นรัฐอิสราเอลในปี 1948 การที่ไซออนิสต์ต้องการรัฐอิสราเอลที่มีชาวยิวเป็นประชากรส่วนใหญ่เท่านั้นส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์กว่า 750,000 คนต้องพลัดถิ่น การล่าอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน (Settler Colonialism) นี้ ไม่ได้สิ้นสุดลงในวันนั้น แต่ดำเนินเพิ่มเรื่อยมา ทุกวันนี้ยังคงมีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลรุกคืบยึดดินแดนและบ้านของชาวปาเลสไตน์เพื่อตั้งเป็นนิคมเฉพาะชาวยิวไซออนิสต์ ชาวปาเลสไตน์ทุกเพศ ทุกวัย ทุกครอบครัว ถูกขับไล่ออกจากบ้านของพวกเขา ถูกทำให้พลัดถิ่นจากดินแดนของบรรพบุรุษ ถูกทำให้ต้องกำพร้าและสูญเสียครอบครัว หลายต่อหลายคนต้องสูญเสียชีวิตวัยเด็ก ชีวิตวัยรุ่น ชีวิตวัยแต่งงาน หลายต่อหลายคนไม่เคยได้มีโอกาสได้ใช้ชีวิตตามความฝันหรือใช้ชีวิตตามความรักและอัตลักษณ์เพศของพวกเขาเอง ผู้คนที่ยังอยู่ต้องเผชิญกับ ระบอบการปกครองที่กดขี่แบ่งแยก (Apartheid) พวกเขาตามชาติพันธุ์ ถูกบังคับใช้กฎหมายคนละชุด จำกัดการเดินทางด้วยด่านตรวจและกำแพง เสมือนนิยายดิสโทเปีย แต่นี่คือชีวิตประจำวันและประวัติศาสตร์จริงของชาวปาเลสไตน์ ความทุกข์แสนสาหัสนี้ยังแทรกอยู่ในทุกอณูชีวิตของพวกเขา ยิ่งในฉนวนกาซาที่กำลังเผชิญการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ประชากร 2 ล้านคนถูกถล่มด้วยระเบิดและอาวุธสงครามอย่างต่อเนื่องมาตลอด 6 เดือน คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 30,000 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตเหล่านั้น มีเด็กทารกแรกเกิด เด็กกำลังหัดเดิน วัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย คนชรา และเควียร์หากรู้สึกว่ามันเหลือเชื่อ ให้ลองนึกถึงประวัติศาสตร์นองเลือดที่คนขาวชาวยุโรปออกเดินทางและล่าอาณานิคมในดินแดนต่าง ๆ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เข่นฆ่าทำลายสังคมของชนพื้นเมืองนับไม่ถ้วน สิ่งที่อิสราเอลกระทำกับปาเลสไตน์คือสิ่งเดียวกัน แต่การล่าอาณานิคมในปาเลสไตน์ยังไม่เสร็จสิ้นและดำเนินเรื่อยมาจนทุกวันนี้

ภาพลักษณ์ “เป็นมิตรต่อเควียร์”

รัฐบาลอิสราเอลพยายามใช้ชุมชนเควียร์ของตนเองในการโปรโมทภาพลักษณ์ “เป็นมิตรต่อLGBTQIA+” พยายามนำเสนอว่าประเทศอิสราเอลนั้นมีความก้าวหน้าด้านสิทธิ LGBTQIA+ มากกว่าประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน พยายามนำเสนอว่ามีเควียร์ชาวปาเลสไตน์หลบหนีมาใช้ชีวิตอย่างผิดกฎหมายในประเทศตนในปี 2005 อิสราเอลประกาศใช้ ‘Brand Israel’ แคมเปญงบประมาณ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อแปลงโฉมอิสราเอลในสายตาชาวตะวันตกให้เป็นประเทศที่ “ทันสมัยและเหมาะสม” และปี 2010 ได้เน้นย้ำประเด็นในเรื่องความ “เป็นมิตรกับเกย์”ในปี 2016 อิสราเอลทุ่มเงินเป็นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์เพื่อส่งนักท่องเที่ยวขึ้นเครื่องบิน 'Pride Plane' สีรุ้ง แคมเปญนี้ใช้ชุมชนเกย์เป็น “เครื่องมือประชาสัมพันธ์” แต่ ถูกต่อต้านจากชุมชน LGBTQIA+ ทั้งในและนอกประเทศจนยกเลิกไป นักกิจกรรมแสดงความไม่พอใจที่เงินทุนถูกนำไปสนับสนุนการ “โปรโมทเทศกาล” มากกว่าการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนสิทธิของ LGBTQIA+ ในอิสราเอลที่ยังห่างไกลจากความสมบูรณ์“เราต้องการเดินขบวนและภาคภูมิใจกับอัตลักษณ์เรา เดินขบวนเพื่อเรียกร้องความเสมอภาคและการยอมรับ ความคิดที่ว่ากระทรวงท่องเที่ยวจะจ่ายเงิน 11 ล้านเชเกลเพื่อพานักท่องเที่ยวมาอิสราเอล เทียบกับเงินทุนที่รัฐบาลสนับสนุนชุมชน (LGBT) มันไร้เหตุผลมาก” Chen Arieli นักกิจกรรม LGBT ชาวอิสราเอลให้สัมภาษณ์กับ CBC 2กลุ่มเควียร์ชาวอาหรับ ‘Pinkwatching Israel’ ระบุว่า “การพยายามเทียบเคียงอย่างผิด ๆ ระหว่าง ‘เกย์ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกดขี่’ กับ ‘เกย์ชาวอิสราเอลที่มีเสรีภาพ’ เป็นการทำให้ภาพอันซับซ้อนของพลวัตทางอำนาจและความเป็นจริงทางการเมืองที่ว่า ชาวปาเลสไตน์ถูกยึดครองทางทหาร (Military occupation) และระบอบการกดขี่แบ่งแยก (Apartheid) กลายเป็นมิติความรุนแรงที่แบนราบลงไปมาก เหล่าผู้ย้อมชมพูตั้งเป้าหมายจะใช้ประโยชน์จากขบวน LGBTAIQ+ สากลเพื่อนำมาสนับสนุนอิสราเอล โดยต้องแลกกับราคาชีวิตของชาวปาเลสไตน์”อ้างอิงจากบทความที่เขียนโดยกลุ่มเคลื่อนไหวชาวปาเลสไตน์ มี 3 ปัญหาหลัก ๆ เกี่ยวกับการย้อมชมพูของอิสราเอล ได้แก่
1. การพยายามใช้มุมมองว่าอิสราเอลคือผู้ที่เหนือกว่า เพื่อลบเลือนชุมชนเควียร์ปาเลสไตน์
2. การข่มขู่แบล็กเมล์เควียร์ปาเลสไตน์โดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอิสราเอล
3. การใช้ชุมชนเควียร์อิสราเอลของตนเองเป็นอาวุธ


1. อิสราเอลพยายามใช้ “มุมมองว่าตนเหนือกว่า” ในการกดขี่ชาวปาเลสไตน์

การแสดงภาพชาวอิสราเอลว่าเป็นมิตรกับเกย์นั้นมาพร้อมกับการแสดงภาพชาวปาเลสไตน์ว่าเป็นคนที่ล้าหลังและป่าเถื่อนโดยสันดานมหาอำนาจอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสและอังกฤษในอดีตก็เคยสวมบทบาทให้ตัวเองมีความ “เหนือกว่า” และ “สูงส่ง” เปรียบเทียบกับชนพื้นเมืองที่พวกเขาใช้แสวงหาผลประโยชน์ว่าเป็นพวก “ล้าหลัง” และ “ป่าเถื่อน”อิสราเอลใช้มุมมองแบบ บูรพคดีศึกษานิยม (orientalism) ลดทอนความเป็นมนุษย์ชาวอาหรับ เป็นการพยายามย้อมให้พวกเขาทั้งชุมชนเป็น “พวกอันตราย” และกล่าวอ้างเหตุผล หาความชอบธรรมในการออกนโยบายกดขี่ใช้ความรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์ ทั้งกับชาวเลบานอนและชาวซีเรียด้วย มุมมองนี้มักถูกใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการล่าอาณานิคม นักล่าอาณานิคมมักบิดเบือนเรียกการกดขี่อย่างรุนแรงว่าเป็น "การทำให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)บริสุทธิ์" อันหมายถึงการทำให้ชาวพื้นเมือง "ป่าเถื่อน" มีอารยธรรมมากขึ้น

“[ตะวันออกกลางเป็น] ภูมิภาคที่ผู้หญิงถูกขว้างหินใส่ เกย์ถูกแขวนคอ ชาวคริสต์ถูกข่มเหง อิสราเอลไม่เป็นแบบนั้น เราแตกต่างจากพวกเขา” นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนทันยาฮู พูดขึ้นมาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาสหรัฐฯ

“แต่ไม่ใช่ว่าสังคมปาเลสไตน์มีการต่อต้านรักเพศเดียวกันอยู่มากจริง ๆ หรือ?”
ใช่ แต่มันมีข้อแตกต่างที่ใหญ่มากระหว่างการชี้ถึงปัญหาสังคมนั้นเพื่อจุดประสงค์ว่า:
เพื่อช่วยเหลือสังคมนั้น vs พยายามแสดงภาพว่าสังคมนั้นป่าเถื่อน และสมควรถูกกดขี่ด้วยความรุนแรง

ชุมชนเควียร์ในปาเลสไตน์มีอยู่จริง

ภาพกลุ่ม Al-Qaws และเควียร์ชาวปาเลสไตน์รวมตัวเพื่อเรียกร้องการยุติการใช้ความรุนแรงต่อเควียร์ในชุมชนของพวกเขา ปี 2019 ที่มา

แม้จะยังถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติจากสังคม ชุมชน LGBTQIA+ ดำรงอยู่ในทุกส่วนของปาเลสไตน์ แน่นอนว่าความเกลียดชัง การใช้ความรุนแรง และการประทุษร้ายต่อเควียร์ยังคงมีอยู่และเป็นปัญหาร้ายแรงที่เควียร์ในพื้นที่ยังคงเดินหน้ารณรงค์แก้ไข แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สามารถนำมาใช้ลบเลือนหรือปฏิเสธตัวตนของเควียร์ที่ดำรงชีวิตอยู่จริงในชุมชนชาวปาเลสไตน์ พวกเขาต่อสู้กับการกดขี่โดยอิสราเอล และต่อสู้กับความเกลียดชังต่อเควียร์ในชุมชนพวกเขาเองไปพร้อมกัน

องค์กร Al-Qaws (Al Qaws for Sexual and Gender Diversity in Palestinian Society) เป็นกลุ่มองค์กรนักเคลื่อนไหวชาวปาเลสไตน์ที่ขับเคลื่อนเพื่อสิทธิและอัตลักษณ์ของชุมชนความหลากหลายทางเพศ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2007 ปฏิบัติงานทั้งในเวสต์แบงก์และชุมชนอาหรับในเขตพื้นที่อิสราเอล Alqaws เคยถูกรัฐบาลปาเลสไตน์แบนการทำกิจกรรมในเวสต์แบงก์ แต่การแบนก็ถูกยกเลิกเพราะการถูกกดดันโดยกลุ่มสิทธิมนุษยชนในปาเลสไตน์อื่น ๆ 3 4

องค์กร Aswat (Aswat - Palestinian Feminist Center for Gender and Sexual Freedoms) เป็นกลุ่มองค์กรเฟมินิสต์ที่เน้นการขับเคลื่อนเพื่อเลสเบียนและหญิง LGBTQIA+ ก่อตั้งในปี 2003 สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองไฮฟา เน้นทำกิจกรรมเพื่อสิทธิสตรีและ LGBTQIA+ ในชุมชนชาวปาเลสไตน์ 5

ติดตาม Al-Qaws และ Aswat ทาง Instagram
- alQaws @alqaws_org
- Aswat @aswatfreedoms

ฟังเสียงเควียร์ชาวปาเลสไตน์

ข้อความจากเควียร์ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ที่ถูกโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ Queering the Map6 อย่างนิรนาม ได้แสดงถึงความเจ็บปวดของพวกเขาในฐานะเควียร์ ภายใต้ภาวะสงครามและการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพอิสราเอล นอกจากด้านบนสุดแล้วยังมีหลายข้อความถูกทิ้งไว้ในหลายพื้นที่ของปาเลสไตน์

“ฉันมักจะจินตนาการว่าคุณและฉันนั่งอยู่ใต้แสงแดด วางมือเคียงข้างกัน มีเสรีภาพในที่สุด เราเคยคุยกันถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เราอยากจะไปถ้าเราทำได้ แต่ตอนนี้คุณไม่อยู่แล้ว ถ้าฉันรู้ว่าระเบิดลูกนั้นที่ถูกทิ้งลงใส่พวกเรา จะพรากคุณไปจากฉัน ฉันคงยินดีจะบอกให้โลกรู้ว่าฉันเทิดทูนคุณมากกว่าสิ่งใด ๆ ฉันขอโทษที่ฉันขี้ขลาด”

“เสียงของพวกเราเควียร์ชาวปาเลสไตน์ดังกว่าความโหดร้ายใดๆของการยึดครอง ดังกว่าการกดขี่ที่สังคมเราเองใช้กดดันพวกเรา เสียงแห่งเสรีภาพจะชนะ ปาเลสไตน์จะเสรี และพวกเราก็เช่นกัน

พวกนั้นยิงเขา หัวใจฉันเหมือนถูกเผา ทุกคนปลอบฉันที่สูญเสียเพื่อน พวกเขาไม่รู้ว่าฉันสูญเสียตัวฉันเอง ไม่รู้ว่ากระสุนนั้นฆ่าพวกเราทั้งสองไป พวกเขาบอกว่าคุณเป็นมรณสักขี พวกเขาบอกว่าคุณอยู่บนสวรรค์ ฉันจะไปหาคุณ ที่รัก ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด ในนรก บนสวรรค์ หรืออยู่ท่ามกลางความว่างเปล่า ฉันจะไปหาคุณ

“คุณจับมือฉัน ทำพาสต้าให้ฉัน และจูบฉันที่คอ เราพูดคุยกันเรื่องภาษา ศาสนา การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และดนตรี คุณเข้าใจโลก คุณเข้าใจฉัน ถ้าฉันยังอธิบายไม่มากพอว่าฉันชื่นชมคุณเพียงใด ฉันอยากให้คุณรู้ว่าคุณคือความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดที่ฉันเคยมี คุณให้ความหวังฉันเกี่ยวกับการเป็นเควียร์ในปาเลสไตน์ ฉันเกลียดด่านตรวจพวกนั้นของอิสราเอลที่ทำให้เราต้องอาศัยอยู่คนละเมืองและแยกจากกัน ฉันปรารถนาทุกสิ่งที่ดีงามในโลกนี้แก่คุณ คุณสมควรได้รับมัน”

“ได้โปรดรู้ไว้ว่า ไม่ว่าสื่อจะบอกกับคุณว่าอะไร มีเกย์ชาวปาเลสไตน์อยู่จริง พวกเราอยู่ที่นี่ พวกเราเป็นเควียร์ ปาเลสไตน์จะเสรี”


2. อิสราเอลข่มขู่แบล็กเมล์เควียร์ชาวปาเลสไตน์

หลายครั้งที่รัฐบาลอิสราเอลพยายามจะสร้างภาพการเป็น “ผู้กอบกู้” เควียร์ชาวปาเลสไตน์ ด้วยการเป็นที่พักพิง หรือการให้สถานะลี้ภัยแก่เควียร์ที่หนีออกจากเวสต์แบงก์หรือกาซา แต่ในขณะเดียวกัน การใช้อัตลักษณ์ของเควียร์ชาวปาเลสไตน์มาเป็นอาวุธข่มขู่แบล็คเมล์คือความจริงอีกด้านที่ไร้มนุษยธรรมหน่วยข่าวกรองอิสราเอลหรือ Shin Bet ใช้วิธี แบล็กเมล์เกย์ชาวปาเลสไตน์ที่ปกปิดอัตลักษณ์เพื่อใช้พวกเขาเป็นสปาย ล้วงเอาข้อมูลจากชาวปาเลสไตน์คนอื่น โดยข่มขู่จะเปิดเผยอัตลักษณ์ของพวกเขาหากปฏิเสธไม่ทำงานให้ เป็นที่รู้กันดีว่า Shin Bet จะเก็บข้อมูลชีวิตประจำวันของชาวปาเลสไตน์ และหากพวกเขาพบว่าในแวดวงคนรู้จักคนใดของบุคคลที่พวกเขาต้องการตัวเป็นเกย์ Shin Bet จะใช้วิธีการนำเรื่องนี้ไปข่มขู่เกย์ชาวปาเลสไตน์ให้กลายมาเป็น “ผู้ให้ข้อมูล” แลกกับการไม่เปิดโปงความเป็นเกย์ให้ครอบครัวหรือชุมชนรู้“เจ้าหน้าที่ Shin Bet ได้มอบทางเลือกที่โหดเหี้ยมให้กับเกย์ชาวปาเลสไตน์ : ทรยศต่อชุมชนตัวเองด้วยการเป็นสปายให้กับอิสราเอล และเสี่ยงการถูกประหารชีวิตอย่างเหี้ยมโหด - ทั้งหมดแลกเปลี่ยนกับการปิดเรื่องการเป็นเกย์เป็นความลับ - หรือ เปิดโปงความลับ ที่อาจทำให้เขาถูกขับออกจากครอบครัว เสี่ยงถูกทำร้ายอย่างรุนแรง หรือแย่ที่สุดคือถูกฆาตกรรม”7 8นอกจากนี้ เควียร์ปาเลสไตน์ยังเผชิญกับการกดขี่ทุกรูปแบบ อย่างที่ชาวปาเลสไตน์ทุกคนเจอ จากการล่าอาณานิคมของอิสราเอล: ถูกรื้อถอนบ้าน บุกรุกบ้าน ขับไล่จากบ้าน การทิ้งระเบิด ความรุนแรง การจับกุมโดยไม่มีข้อหา และข้อห้ามในเสรีภาพในการแสดงออกทั้งการพูดและเคลื่อนไหวเมื่ออิสราเอลย้อมชมพูตนเองว่าเป็นพื้นที่ที่เป็นมิตรกับเกย์ อิสราเอลแอบซ่อนความรุนแรงและการข่มขู่ที่พวกเขากระทำกับเกย์ชาวปาเลสไตน์ และแน่นอนว่ากระทำต่อชาวปาเลสไตน์ทุกคนด้วยกลุ่ม al-Qaws 9 เสนอตอบโต้ประเด็นนี้เอาไว้ว่า:

“อิสราเอลมักจะนำเสนอภาพตัวเองในฐานะฝ่ายก้าวหน้า เสรี ประชาธิปไตย สนับสนุน LGBTQIA+ และผู้มาโปรดเควียร์ชาวปาเลสไตน์ และ เป็นเรื่องจริงที่อิสราเอลช่วงใช้ฉวยโอกาสจากความกลัวของผู้คนที่มันกดขี่ ในการทำให้พวกเขาทรยศและกลายเป็นสายส่งข้อมูล หรือ พยายามชุบมือเปิบว่านโยบายที่ก้าวหน้าขึ้นของปาเลสไตน์ในด้านเพศเป็นผลมาจากอิสราเอล แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะไม่หลุดไปจากประเด็นใหญ่ว่า ปัญหาที่เควียร์ชาวปาเลสไตน์ถูกข่มขู่ให้กลายเป็นสายข่าวไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพและเพศวิถีของพวกเขามากไปกว่าที่มันเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง สาเหตุหลักนั้นเป็นเพราะปาเลสไตน์ตกอยู่ใต้การล่าอาณานิคมของอิสราเอล


3. การย้อมชมพูเป็นการนำเควียร์ชาวอิสราเอลมาใช้เป็นอาวุธ

การย้อมชมพูลบเลือนอุปสรรคมากมายที่เควียร์ชาวยิวอิสราเอลเองก็กำลังเผชิญ กระทั่งการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันก็ยังไม่ถูกกฎหมายในอิสราเอล ห่างไกลจากความเป็นยูโทเปียอย่างที่อวดอ้างSarah Schulman (นักเคลื่อนไหวและนักเขียนชาวอเมริกัน) อธิบายว่า “โดยภาพรวมแล้ว อิสราเอลยังเป็นสังคมที่เหยียดเกย์ การถืออำนาจเหนือกว่าของกลุ่มศาสนาแบบดั้งเดิม กลุ่มคนเหยียดเพศ และการกดขี่ภายในครอบครัวทำให้ชีวิตของ LGBT ในอิสราเอลมีอุปสรรคในทุกมิติ” 10Aeyal Gross ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ อธิบายว่า “สิทธิเกย์ได้กลายเป็นเครื่องมือของการประชาสัมพันธ์” แม้ว่า “กลุ่มนักการเมืองอนุรักษ์นิยมและเคร่งศาสนายังคงเกลียดชังต่อเกย์อย่างรุนแรง” 11Samira Saraya หนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม Aswat องค์การ LGBTQIA+ สำหรับหญิงปาเลสไตน์ได้อธิบายเพิ่ม “ถ้าคุณเป็นผู้ชายเกย์ชาวอิสราเอลที่ทำงานในกองทัพ ดูออกทางเพศชาย ทำตัว ‘ปกติ’ และมีหน้าที่การงานมั่นคง นั่นจะทำให้คุณได้รับการปฏิบัติดี สำหรับกลุ่มคนที่เหลือไม่ได้มีชีวิตที่ดีปานนั้น” 12ถ้าคุณไม่ได้ "ชดเชย" การที่คุณเป็นเควียร์ด้วยการเอื้อประโยชน์ต่อความ “ชาติพันธุ์นิยม” (Ethnonationalist) ของอิสราเอลในสักทาง คุณก็จะหลุดจากกรอบเควียร์ในอุดมคติของไซออนิสต์ และยิ่งเปราะบางต่อการถูกโจมตีโดยความเกลียดชังต่อเควียร์และเหยียดเชื้อชาติSaffo Papantonopoulou นักเคลื่อนไหวข้ามเพศและต่อต้านไซออนิสต์ ชาวอิสราเอล อธิบายไว้ว่า : ’ความเป็นมิตรต่อเกย์’ ที่อิสราเอลพยายามนำเสนอเป็น ‘ของขวัญ’ ให้ชุมชนเควียร์ของอิสราเอลนั้น เป็นการบังคับให้พวกเขาต้องรู้สึกซาบซึ้งที่ได้รับการ ‘อนุญาต’ ให้มีชีวิตและ หยุดวิจารณ์การกดขี่ของรัฐบาลอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ 13


มาตรฐานของการปลดแอกไม่สามารถกำหนดโดยเจ้าอาณานิคม

กลุ่มเควียร์ชาวปาเลสไตน์ Al-Qaws 14 เคยแถลงไว้ว่า:"ลัทธิล่าอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลและเทคนิคอย่าง ‘การย้อมชมพู’ คือ การนำประสบการณ์การเป็นเควียร์ของเราไปเป็นอาวุธ เพื่อวางพวกเราให้อยู่ตรงข้ามกับสังคมของพวกเราเอง และถูกทำให้เป็นอื่นการย้อมชมพูผลักดันมายาคติที่ว่าความหลากหลายทางเพศสภาพและเพศวิถีในสังคมชาวปาเลสไตน์นั้น เป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติและเป็นของต่างถิ่น เมื่อความเป็นเควียร์นั้นถูกบังคับให้เกี่ยวโยงกับอัตลักษณ์ของเจ้าอาณานิคมอย่างอิสราเอล เควียร์ชาวปาเลสไตน์จึงยิ่งกลายเป็นเป้าของความแปลกแยกและความรุนแรงที่มากยิ่งขึ้นไปอีก"การเข้าใจประเด็นเรื่องย้อมชมพูจะช่วยให้เราเท่าทันวาทกรรมเจ้าอาณานิคม ที่ช่วงใช้ความยากลำบากของเควียร์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการล่าอาณานิคม และยังเป็นวิธีการของอิสราเอลที่ใช้เพื่อลดทอนความรุนแรงของการล่าอาณานิคมที่เกิดขึ้นต่อชาวปาเลสไตน์ ผลกระทบทางเรือนร่างของชาวปาเลสไตน์ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการล่วงละเมิด การทำร้ายให้เจ็บปวด การกักขังเสรีภาพของการเคลื่อนไหว หรือการสังหาร ต่างก็เป็นภาพความรุนแรงที่ถูกเลือนคลุมด้วยธงสีรุ้งที่อิสราเอลอ้างว่ามีความก้าวหน้ามากกว่าชาติปาเลสไตน์ ทั้งที่จริงแล้วก็เป็นเพียงอีกฉากหน้าหนึ่งที่เจ้าอาณานิคมสร้างขึ้นมาเพื่อหาความชอบธรรมให้กับความรุนแรงของตนเองเท่านั้น


“เรายืนกรานปฏิเสธต่อการช่วงใช้ความเควียร์ของเราไปใช้เพื่อทำให้ชุมชนของเรากลายเป็นปีศาจ” : บางส่วนจากแถลงการณ์เรียกร้องเสรีภาพจากเควียร์ในปาเลสไตน์ 15

เรายืนกรานปฏิเสธต่อการช่วงใช้ความเควียร์ของเรา เรือนร่างของเรา และความรุนแรงที่เราเผชิญในฐานะเควียร์ ไปใช้เพื่อทำให้ชุมชนของเรากลายเป็นปีศาจและใช้เพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเอาไปรับใช้การกระทำเยี่ยงพวกจักรวรรดิและการกระทำเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหล่านี้ เรายืนกรานปฏิเสธว่าเพศปาเลสไตน์และสำนึกปาเลสไตน์ที่พวกเรามีต่อความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่เครื่องมือในการเป็นมาตรวัดทางมนุษยธรรมของสังคมผู้ล่าอาณานิคม เราสมควรมีชีวิตเพราะเราเป็นมนุษย์ แม้จะพร่องความสมบูรณ์แบบ ไม่ใช่ว่าเราสมควรมีชีวิตเพราะเราถูกโฉลกกับความเป็นมนุษย์เสรีนิยมในสายตาของผู้ล่าอาณานิคม เรายืนกรานปฏิเสธกลยุทธ์อาณานิคมและกลยุทธจักรวรรดิที่ต้องการผลักดันเราออกจากสังคมของเราและผลักดันสังคมของเราออกจากเรา โดยอ้างใช้ความเป็นเควียร์ เรายืนกรานต่อสู้กับการกดขี่เชิงระบบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงในทุกมิติ ซึ่งรวมไปถึงการกดขี่จากปิตาธิปไตยและทุนนิยม การกดขี่ความฝันของเราที่จะมีสิทธิ์เหนือตนเอง ที่จะมีชุมชน ที่จะมีเสรีภาพ ซึ่งพันผูกกับความต้องการของพวกเราที่จะมีสิทธิ์ในเจตจำนงของตนเอง ไม่มีทางที่เสรีภาพเควียร์จะเกิดขึ้นได้ในชาติอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน และไม่มีการยืนหยัดเคียงข้างเควียร์ที่จะเกิดขึ้นได้หากมืดบอดต่อระบบเหยียดเชื้อชาติ ระบบทุนนิยม ระบบฟาสซิสต์ และระบบจักรวรรดิที่กำลังมีอำนาจเหนือพวกเราตอนนี้

เราขอเรียกร้องให้นักกิจกรรมและกลุ่มเควียร์เฟมินิสต์ทั่วโลกร่วมเคียงข้างกับชาวปาเลสไตน์

เพื่อต่อต้านการบังคับให้ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น การแย่งยึดที่ดิน และการกวาดล้างชาติพันธุ์ และร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อให้แผ่นดินและอนาคตของพวกเขาทั้งปวงเป็นไทจากการล่าอาณานิคมผ่านการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไซออนิสต์ ข้อเรียกร้องนี้ไม่อาจจบลงด้วยการส่งต่อแถลงการณ์และการลงลายชื่อในจดหมายต่างๆ อย่างเดียว แต่ต้องสานต่อโดยร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปลดแอกอาณานิคมและเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์และของผู้คนทั่วโลก

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็ม ที่นี่


การปลดแอกนั้นแบ่งแยกไม่ได้และเป็นสากล
จะมีพื้นที่สำหรับพวกเราทุกคนในปาเลสไตน์ที่เสรี


อ้างอิง:
1) "Recycled rhetoric: brand Israel "pinkwashing" in historical context" by Joy Ellison
2) Israeli 'gay pride plane' idea crashes into LGBT disapproval
3) PA rescinds ban on LGBTQ group after protests | The Electronic Intifada
4) Rights groups slam Palestinian police for banning LGBTQ activity | The Times of Israel
5) Aswat – Palestinian Feminist Queer Movement for Sexual and Gender Freedoms - Astraea Lesbian Foundation For Justice
6) Queering the Map
7) Israeli Army's Gay Soldiers Must Stop Persecuting Gay Palestinians - Opinion - Haaretz
8) How Israel blackmails Palestinians into treason | The Electronic Intifada
9) alQaws Statement re: media response to Israel's blackmailing of gay Palestinians
10) A documentary guide to ‘Brand Israel’ and the art of pinkwashing – Mondoweiss
11) Opinion | ‘Pinkwashing’ and Israel’s Use of Gays as a Messaging Tool - The New York Times
12) NO PRIDE IN THE OCCUPATION - A Roundtable Discussion
13) "Even a Freak Like You Would Be Safe in Tel Aviv": Transgender Subjects, Wounded Attachments, and the Zionist Economy
14) How is pinkwashing a form of colonial violence? - alQaws
15) A Liberatory Demand from Queers in Palestine

ร่วมเดินขบวนส่งเสียงเรียกร้องสันติภาพและเสรีภาพกับเรา ในงาน Bangkok Pride 2024
ณ ขบวนสันติภาพ Love for Peace & Earth
วันที่ 1 มิถุนายน 2024 เวลา 14.00 น.
จากสนามกีฬาแห่งชาติสู่แยกราชประสงค์

Ecocide “การฆ่าล้างนิเวศ” :

การทำลายล้างปาเลสไตน์ที่จะส่งผลกระทบต่อเราทั้งโลก

บทความโดยทีมงาน THAI for Palestine | May 2024


การฆ่าล้างนิเวศ (Ecocide) หมายถึงการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมโดยมนุษย์ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนดาวเคราะห์นี้ตราบที่การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตยังต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในการเลี้ยงดูประชากรทั้งในปัจจุบันและในรุ่นต่อ ๆ ไปมูลนิธิ Stop Ecocide International ได้ให้ความหมายของคำคำนี้ไว้ว่า“การกระทำที่ละโมบและไม่สนกฎเกณฑ์ซึ่งกระทำไปทั้งที่รู้ว่ามีโอกาสอย่างมากที่จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงเป็นวงกว้างหรือระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อม”

ตัวอย่างของการฆ่าล้างนิเวศที่มักถูกยกขึ้นมาในปัจจุบัน ได้แก่ การตัดไม้ทำลายป่าระหว่างสงครามเวียดนาม การตัดไม้ทำลายป่าในอินโดนีเซียและป่าอะเมซอน และเหตุการณ์น้ำมันปนเปื้อนที่ปากแม่น้ำไนเจอร์ในขณะที่เรากำลังเขียนบทความนี้ การกระทำของรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ได้กลายเป็นตัวอย่างใหม่ล่าสุดของการฆ่าล้างนิเวศ มีหลักฐานมากมายแสดงให้เห็นว่าอิสราเอลกระทำการฆ่าล้างนิเวศในช่วงปี 2023-2024 และก่อนหน้านั้นนับหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียมที่เผยให้เห็นว่าต้นไม้กว่าครึ่งในพื้นที่ของฉนวนกาซาถูกทำลาย พื้นที่เกษตรกรรมถูกล้างผลาญ ดินและน้ำบาดาลถูกทำให้ปนเปื้อนด้วยอาวุธและสารพิษ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชากรในชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่รวมถึงระบบนิเวศน์ของชายฝั่งเมดิเตอเรเนียนไปอีกหลายชั่วอายุคน ยังไม่รวมถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจก การทำลายพืชท้องถิ่น และการสร้างความเสียหายกับทรัพยากรธรรมชาติ ณ อีกฝั่งหนึ่งของกำแพงแบ่งแยกอาณาเขตอีกมากมั้ยตั้งแต่ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม 2023


ก๊าซเรือนกระจก

มีการคาดการณ์ว่าช่วง 60 วันแรกของการเปิดฉากโจมตีปาเลสไตน์นับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2023 การทิ้งระเบิดทางอากาศและการบุกโจมตีทางภาคพื้นดินของกองทัพอิสราเอลได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 281,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการเผาไหม้ถ่าน 150,000 ตันในขณะเดียวกัน การยิงจรวดของฮามาสเพื่อโจมตีกลับได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 713 ตัน หรือเทียบเท่ากับการเผาไหม้ถ่าน 300 ตันทั้งนี้ มีรายงานระบุว่าก๊าซเรือนกระจกจากปฏิบัติการทางทหารทั่วโลกคิดเป็น 5.5% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาในรอบปี


ความรุนแรงที่ยิ่งกว่าฮิโรชิมา

องค์กร Euro-Med Human Rights Monitor เปิดเผยว่าอิสราเอลได้ทิ้งวัตถุระเบิดมากกว่า 25,000 ตันลงในฉนวนกาซาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ซึ่งปริมาณนี้เทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์สองลูกและมีน้ำหนักมากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ Little Boy ที่ถูกทิ้งในฮิโรชิมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกือบเท่าตัว กองทัพอิสราเอลมุ่งเป้าทิ้งระเบิดลงใส่สถานที่มากกว่า 12,000 แห่งในฉนวนกาซา โดยใช้ระเบิดที่มีพลังทําลายล้างมหาศาล บางสถานที่ถูกทิ้งระเบิดมากถึง 1,000 กิโลกรัมนอกจากนั้นแล้ว อิสราเอลยังมีการใช้อาวุธต้องห้ามในกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งระเบิดคลัสเตอร์และฟอสฟอรัสขาว อาวุธเหล่านี้ทําให้เกิดแผลไหม้อย่างรุนแรงและการบาดเจ็บภายในที่ส่งผลให้เหยื่อเสียชีวิตอย่างทรมาน การโจมตีตามอำเภอใจและมุ่งทำลายพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ


ไร้ร่องรอยแห่งชีวิต

นับตั้งแต่ปี 2014 ชาวไร่ชาวสวนปาเลสไตน์ตามแนวชายแดนกาซาต้องเผชิญกับการถูกฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าและถูกรถไถดินไถกลบไร่และสวนของพวกเขา ชาวไร่เหล่านี้ยังต้องเผชิญกับการถูกซุ่มยิงโดยกองกำลังอิสราเอลตลอดแนวเส้น “อาณาเขต” นั้น ระบบแนวรั้วกั้นและการรักษาความปลอดภัยของอิสราเอลทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวกลายเป็นเขตกันชนทางทหารตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 การรุกคืบทางดินแดนของกองกำลังอิสราเอลได้ขุดรากถอนโคนพืชผลในสวนและไร่ของชาวปาเลสไตน์ไปเกือบทั้งหมด มีการพุ่งเป้าไปยังฟาร์มและโครงสร้างพื้นฐานทางกสิกรรมในกาซาอย่างเป็นระบบในช่วงหลายสัปดาห์แรกของการบุกรุกของกองกำลังอิสราเอล ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นการทำลายโรงเพาะชำจำนวนมหาศาลทางตอนเหนือของกาซาเมื่อกองกำลังอิสราเอลรุกคืบลงทางใต้ การทำลายล้างที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานทางกสิกรรมก็ขยับลงทางใต้ด้วยเช่นกัน มีรายงานว่า 40% ของโรงเพาะชำในบริเวณเมือง Khan Younis ที่อยู่ทางตอนใต้นั้นถูกทำลายตั้งแต่เดือนมกราคม 2024องค์กร Forensic Architecture รายงานว่าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ถึงเดือนมีนาคม 2024 ที่ดินกสิกรรมมากกว่า 2,000 แห่ง และโรงเพาะชำจำนวน 3 ใน 4 ในกาซาถูกทำลายกองทัพอิสราเอลใช้ยานยนต์และรถแทร็กเตอร์ปรับหน้าดินให้เป็นที่ตั้งฐานโจมตีของกองกำลัง และเมื่อถอนเครื่องมือและกำลังพลออกไปจากจุดตั้งฐานโจมตีแล้ว ดินในบริเวณนั้นจะถูกทำลายและไม่อาจเพาะปลูกหรือใช้ประโยชน์ได้อีกการทำลายที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานทางกสิกรรมในกาซาถือเป็นการฆ่าล้างนิเวศอย่างจงใจและเป็นมิติที่สำคัญในกระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอล ฟาร์มและโรงเพาะชำที่ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีนับเป็นรากฐานสำคัญในการผลิตอาหารให้กับประชากรที่กำลังเผชิญการปิดล้อมมานานหลายทศวรรษ การทำลายกสิกรรมอย่างเป็นระบบเช่นนี้ยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการจงใจทำลายทรัพยากรที่จำเป็นต่อการมีชีวิตรอดของชาวปาเลสไตน์ในกาซาด้วยวิธีการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจงใจทำให้เกิดทุพพภิกขภัยในกาซา การขัดขวางการส่งสิ่งของช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปในกาซา การทำลายโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ การทำลายโครงสร้างพื้นฐานของที่พักอาศัยและสถานที่พลเรือน อันรวมถึงร้านขนมปัง โรงเรียน สุเหร่ามัสยิด โบสถ์อาราม และสถานที่อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม


ต้นมะกอกถูกทำลาย

ต้นมะกอกเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ เป็นชีพจรของชาวไร่ปาเลสไตน์ และเป็นแหล่งรายได้ของครอบครัวชาวปาเลสไตน์กว่า 100,000 ครอบครัว ต้นมะกอกยังเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่จับต้องได้ระหว่างชาวปาเลสไตน์กับบรรพบุรุษและแผ่นดินของพวกเขาน่าเศร้าที่ต้นมะกอกเหล่านี้ถูกทำลายเป็นจำนวนมหาศาลนับตั้งแต่ปี 1967 กองกำลังอิสราเอลและผู้ตั้งนิคมถิ่นฐานผิดกฎหมายได้ทำลายต้นมะกอกไปกว่า 800,000 ต้น หลายต้นมีอายุมากกว่า 100 ปี นอกจากต้นมะกอกแล้ว ต้นไม้อื่น ๆ ที่ให้ผลก็ถูกทำลายเช่นกัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2014 ฟาร์ม Tent of Nations ใกล้เมืองเบธเลเฮมพบเห็นทหารอิสราเอลทำลายไม้ผลกว่า 1,500 ต้นโดยใช้รถบดไถและใช้กองดินกลบฝังต้นไม้เหล่านั้นเพื่อไม่ให้สามารถปลูกใหม่ได้อีกDaniel Adamson จากสำนักข่าว BBC รายงานเหตุการณ์ตอนนั้นว่าเขายังเห็น "กิ่งก้านยื่นออกมาจากกองดิน เปลือกไม้ลอก และอัลมอนด์ที่ยังไม่สุกยังติดอยู่กับต้นไม้"การเกษตรยังเป็นส่วนสําคัญของเศรษฐกิจปาเลสไตน์ น้ำมันมะกอกสร้างรายได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์ต่อปี และยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญของของชุมชนที่ยากจนที่สุด นอกจาก องุ่น มะเดื่อ อัลมอนด์ มะเขือเทศ อินทผาลัม และส้ม มะกอกถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักและเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการทําอาหารอันยาวนานของปาเลสไตน์ ผลกระทบจากการรุกรานได้สร้างความเสียหายร้ายแรง โดยเฉพาะความยากจนและภาวะทุพโภชนาการที่เกิดจากการสูญเสียการเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมนอกจากด้านเศรษฐกิจ ความรู้สึกสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์เน้นย้ำความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมความหมายทางประวัติศาสตร์ที่ต้นไม้ชนิดนี้ ซึ่งเกือบเรียกได้ว่ามีความสําคัญทางจิตวิญญาณ ด้วยเหตุนี้มันจึงมักตกเป็นเป้าหมายของความรุนแรง และการทำลายต้นมะกอกยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบันหลัง 7 ตุลาคม 2023 กาซาถูกถล่มด้วยระเบิดอย่างรุนแรงโดยกองทัพอิสราเอล ประชากรส่วนใหญ่ต้องพลัดถิ่นและในขณะเดียวกันก็ถูกสั่งห้ามเข้าถึงเชื้อเพลิง แก๊สหุงต้ม และทรัพยากรอื่น ๆ ที่จำเป็น
ท่ามกลางความทุกข์ยากและวิกฤตของชีวิตมนุษย์ โศกนาฏกรรมอีกอย่างหนึ่งก็ยังเกิดขึ้น เมื่อครอบครัวปาเลสไตน์จำเป็นต้องทำลายต้นมะกอกของพวกเขาเองและนำมาใช้เผาเป็นฟืนเพื่อความอยู่รอด การทำลายต้นชนิดนี้ไม่ต่างจากการสร้างบาดแผลอันบาดลึกและทิ้งรอยแผลเป็นไว้ในหัวใจของพวกเขา
“ฉันเคยบอกทุกคนว่าต้นไม้คือเพื่อนคู่ชีวิตของฉัน ต้นไม้พวกนี้อยู่ตั้งแต่ฉันเลี้ยงลูกที่นี่ ต้นไม้พวกนี้อยู่คู่กับทุกช่วงชีวิตของพวกเรา” Ahlam ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera


พลังงานแสงอาทิตย์ถูกทำลาย

“สงครามครั้งนี้ได้ทำลายทุกมิติของสิ่งแวดล้อมในดินแดน” Nada Majdalani ผู้อำนวยการองค์กร EcoPeace Middle East ในเมืองรอมัลลอฮ์ให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeeraกาซาอยู่ภายใต้การปิดล้อมของอิสราเอลมา 16 ปี โดยที่อิสราเอลมีอำนาจควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงเชื้อเพลิงและพลังงาน ด้วยเหตุนี้ชาวกาซาจึงหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่การทิ้งระเบิดของอิสราเอลได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่ออาคารหลายพันแห่ง จำนวนมากในนั้นมีแผงโซลาร์อยู่บนหลังคา“ชาวกาซาได้พยายามปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศ ประมาณ 60% ของพลังงานที่พวกเขาใช้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์”“การทำลายแผงโซลาร์ไม่เพียงมุ่งเป้าทำลายความเป็นอยู่ของผู้คน มันยังทำลายความพยายามของชาวกาซาในการปรับตัวกับภาวะโลกร้อนและมาตรการพลังงานสะอาด” Majdalani กล่าว “แผงโซลาร์ที่พวกเขาติดตั้งไว้ ตอนนี้มันอยู่ใต้ซากปรักหักพัง ทำให้ความพยายามในการปรับตัวกับภาวะโลกรวนของกาซาถดถอยลงไปอีก”


หน้าดินถูกทำลาย

นอกจากพืชพันธุ์และสิ่งปลูกสร้างบนดินจะถูกทำลาย พื้นดินเบื้องล่างก็ได้รับผลกระทบจากระเบิดและการทำลายอาคารอย่างหนักหน่วงเช่นกัน รายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ระบุว่า การทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นสามารถทำให้ดินและน้ำบาดาลเกิดการปนเปื้อนในระยะยาวได้ โดยการปนเปื้อนนี้เกิดจากดินปืน สารเคมีในยุทโธปกรณ์และแร่โลหะอันตราจากการพังทลายของอาคารต่าง ๆ เช่น แร่ใยหิน สารเคมีที่ใช้ในการช่าง และเศษเชื้อเพลิงทั้งหลายตั้งแต่ช่วงแรกของการโจมตี กองกำลังอิสราเอลได้ทิ้งระเบิดหลายหมื่นลูกลงในกาซา การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงเดือนมกราคม 2024 ชี้ให้เห็นว่าอาคารจำนวน 50 - 62% จากอาคารทั้งหมดถูกทำลายเมื่อเดือนมกราคม 2024 UNEP คาดการณ์ว่า การทิ้งระเบิดหนึ่งครั้งจะสร้างเศษซากขยะและแร่โลหะอันตรายราว 22.9 ล้านตัน พร้อมกับเศษซากอื่น ๆ ที่รวมถึงศพของมนุษย์ด้วยการโจมตีและการปิดล้อมที่ยาวนานทำให้กาซาล่มสลายอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่กาซาต้องเผชิญกับโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือนที่มีความเปราะบางอยู่แล้วแต่แรก ทั้งปัญหาเรื่องการกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย การสำรองเชื้อเพลิง และการจัดการน้ำ


UXO สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิดตกค้างอยู่ในกาซาอย่างมหาศาล

องค์กรสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Mine Action Service: UNMAS) ประเมินว่าซากปรักหักพังในกาซาในช่วงกลางเดือนเมษายน 2024 มีปริมาณมากถึง 37 ล้านตัน หรือคิดเป็น 300 กิโลกรัมต่อหนึ่งตารางเมตร“กาซามีซากปรักหักพังมากกว่ายูเครน พูดให้เห็นภาพ แนวหน้าของยูเครนมีความยาว 600 ไมล์ (เกือบ 1,000 กิโลเมตร) แต่ฉนวนกาซามีความยาวเพียง 25 ไมล์ (40 กิโลเมตร)" Mungo Birch หัวหน้าโครงการ UNMAS ในดินแดนปาเลสไตน์รายงานUNMAS เสริมว่าปริมาณของซากปรักหักพังไม่ใช่ปัญหาเพียงอย่างเดียว“อาจมี UXO (สรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด) อยู่ในซากเหล่านี้จำนวนมาก และการเก็บกวาดจะยากขึ้นไปอีกจากสารอันตรายอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่" Birch กล่าว "เช่น มีการประเมินว่ามีแร่ใยหินมากกว่า 800,000 ตันแค่ในซากปรักหักพังในพื้นที่กาซา"ทุกตารางเมตรในฉนวนกาซาที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีมีเศษซากประมาณ 200 กิโลกรัม ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้วัตถุระเบิดจากสหประชาชาติกล่าวกับผู้สื่อข่าวในเจนีวา"ทั้งหมดที่ฉันบอกได้คือ อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของกระสุนที่ถูกยิงอาจไม่ทํางาน... ด้วยรถบรรทุก 100 คัน เราต้องใช้เวลาทํางาน 14 ปี วันทํางานประมาณ 750,000 วัน เพื่อกําจัดเศษซากทั้งหมด"


แหล่งน้ำและระบบบำบัดน้ำถูกทำลาย

UNEP ระบุว่าการที่อิสราเอลตัดขาดการนำเข้าเชื้อเพลิงในกาซาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2023 ส่งผลให้น้ำเสียไม่ได้รับการปั๊มเข้าโรงบำบัดน้ำและทำให้น้ำเสียปริมาตรมากกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตรต้องปนเปื้อนลงสู่ทะเลก่อนหน้านี้กองทัพอิสราเอลยังเทคอนกรีตลงในบ่อน้ำและทำลายระบบน้ำในหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์ช่วงเช้าของวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2023 เจ้าหน้าที่รัฐพร้อมกองกำลังและตำรวจตระเวนชายแดนอิสราเอลเดินทางมาที่หมู่บ้าน al-Hijrah ทางใต้ของ Hebron พร้อมกับรถไถและเครื่องผสมปูนซีเมน เจ้าหน้าที่ได้เทคอนกรีตลงในบ่อน้ำสี่แห่งและทำลายท่อลำเลียงน้ำขนาด 20 ยาวเมตรที่ใช้สำหรับเพาะปลูกรวมถึงทำลายพืชผลไปด้วยตลอดทาง


สิ่งแวดล้อมในปาเลสไตน์ถูกทำลายโดยการตั้งถิ่นฐานของอิสราเอล

ในปี 1983 กองกำลังยึดครองของอิสราเอลได้ย้ายโรงงานอุตสาหกรรมเคมีหลายแห่งจาก Kfar Saba และ Netanya ไปยังนิคมถิ่นฐาน Tulkarem ในเวสต์แบงก์ หลังจากที่ผู้อยู่อาศัยในเขตที่ตั้งโรงงานได้ทำการฟ้องร้องต่อเจ้าของโรงงานในอิสราเอล เนื่องด้วยความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งส่งผลให้โรงงานต้องถูกปิดลงในท้ายที่สุด โรงงานเหล่านี้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ แก่ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และทำให้พื้นที่เกษตรโดยรอบไม่สามารถเพาะปลูกได้ รวมทั้งมีปัจจัยเสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอีก 3 อย่าง ได้แก่ การปล่อยก๊าซพิษสู่เมือง การทิ้งขยะมูลฝอย และการเผาที่ดินโดยรอบแม้ว่าจะมีผลการทดลองจากห้องแล็บที่บ่งชี้ถึงความอันตรายของโรงงาน ซึ่งรวมถึงการปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม คนและสัตว์ แต่กองกำลังยึดครองอิสราเอลก็ยังคงทำการย้ายโรงงานเหล่านี้ไปยัง Tulkarem ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาเดิม ๆ ยังคงเกิดขึ้น นั่นหมายความว่าการย้ายโรงงานดังกล่าวไปยัง Tulkarem เป็นเพียงการย้ายความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพไปให้ประชาชนชาวปาเลสไตน์รับความเสี่ยงเหล่านี้แทนการเคลื่อนย้ายโรงงานสารเคมีของอิสราเอล จึงเป็นการย้ายอันตรายจากอิสราเอลไปยังปาเลสไตน์ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัยชาวปาเลสไตน์นี่เป็นเพียงหนึ่งกรณีที่เกิดขึ้นจากนิคมตั้งถิ่นฐานหลายร้อยแห่งที่กระจายอยู่ทั่วดินแดนปาเลสไตน์


JNF ปลูกป่าด้วยการทำลายและเอเลี่ยนสปีชีส์

ตลอดร้อยปีที่ผ่านมา ขบวนการไซออนิสม์ได้พยายามสร้างพื้นที่ป่าในดินแดนปาเลสไตน์ที่เข้ายึดครอง โดยมักอ้างว่าเป็นการ “ทำให้ที่รกร้างว่างเปล่าผลิบาน” แต่คำกล่าวอ้างนี้ก็อยู่ได้ไม่นานเมื่อแคมเปญปลูกป่านี้ได้สร้างผลเสียต่อระบบนิเวศและชีวนิเวศของท้องถิ่นเนื่องจากพันธุ์ไม้ที่ใช้ในแคมเปญถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Invasive species) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายอีกอย่างของอิสราเอล ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงสภาพของพื้นที่เพื่อขโมยและลบอัตลักษณ์เดิมของพื้นที่ให้หมดไปหลังจากการตั้งรัฐอิสราเอล โครงการปลูกป่าโดยกองทุนยิวแห่งชาติ (Jewish National Fund: JNF) เสร็จสมบูรณ์ด้วยความร่วมมือของกระทรวงเกษตรของอิสราเอล สองหน่วยงานนี้มุ่งเน้นปลูกป่าบนภูเขาตั้งแต่กาลิลีไปจนถึงเยรูซาเล็มและทางเหนือของทะเลทรายเนเกฟ ปัจจุบัน มีป่าครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.18 ล้านดูนัม (1,180 ตร.กม.) ซึ่งมีเพียงประมาณ 242,000 ดูนัม (242 ตร.กม.) เท่านั้นที่เป็นป่าพื้นเมืองที่ไม่มีการแทรกแซงจากขบวนการไซออนิสต์40 % ของพื้นที่ป่าที่ปลูกโดยอิสราเอลปกคลุมไปด้วยต้นสน (ต้นสนและไซเปรส) 13.5 % คือต้นยูคาลิปตัส มีเพียง 5.1 % เท่านั้นที่เป็นต้นไม้ในท้องถิ่น เช่น ต้นโอ๊ก ต้นคารอบ และต้นมะกอกในปี 2010 หลังเหตุการณ์ไฟป่าบนภูเขา เกิดการถกเถียงถึงความไม่เหมาะสมของการปลูกต้นสนอะเลปโปในปาเลสไตน์ เนื่องจากต้นสนมีองค์ประกอบทางเคมีที่ก่อให้เกิดไฟป่า ได้แก่ สารไวไฟที่เรียกว่าเทอร์พีนในใบสนและลูกสนที่มีลักษณะติดไฟ และด้วยความที่ปาเลสไตน์เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนน้อย ไฟป่าจึงลุกลามอย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม ต้นโอ๊กที่มีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมของปาเลสไตน์นั้นติดไฟได้ยากกว่าในปี 2019 สมาคมเพื่อการปกป้องธรรมชาติในอิสราเอลเผยแพร่รายงานโจมตี JNF และเรียกร้องให้หยุดแคมเปญปลูกป่า รายงานแสดงการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่อิสราเอลเข้ายึดครอง ระบุว่าลักษณะของต้นสนอะเลปโปเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน (Invasive species) สามารถแพร่กระจายและเติบโตไปนอกพื้นที่ปลูก ซึ่งหมายความว่าในปีต่อ ๆ ไป ต้นไม้ชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่และเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าเปิดที่เป็นภูเขา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของปาเลสไตน์ความหลากหลายทางชีวภาพก็ได้รับผลกระทบจากแคมเปญปลูกป่านี้เช่นกัน เงาขนาดใหญ่ของต้นสนส่งผลให้พืชป่าขาดแสงแดดและน้ำจนไม่สามารถเติบโตได้ อีกทั้งใบสนที่ทับถมบนพื้นยังทำลายพืชท้องถิ่นชนิดอื่น เช่น กระเทียมป่า เนื่องจากมีความเป็นกรดสูง ในส่วนของสัตว์ป่า สัตว์เลื้อยคลานและนกบางชนิดที่ล่าเหยื่อในป่าเปิดโล่งใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากไปสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ เช่นนก Faqqua iris หรือ Jordan’s black iris และกิ้งก่า Be'er Shevaอิสราเอลและ JNF โอ้อวดระบบนิเวศที่พวกเขาสร้างขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ว่า "ในขณะที่เปอร์เซ็นต์ของป่าไม้ในโลกกําลังลดลง แต่ในอิสราเอลกลับตรงกันข้าม" แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกลับตรงกันข้าม ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ต้นมะกอกมากกว่า 15,000 ต้นถูกโค่นในเวสต์แบงก์ ที่ดินถูกทำลายเพื่อสร้างนิคมถิ่นฐานในเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มซึ่งเป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น กําแพงถูกสร้างขึ้นเพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตอีกฝั่งไม่ให้เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ ลดจํานวนลง และทําให้เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ


การสร้างเมืองใหม่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมหาศาล

แน่นอนว่าการทำลายสิ่งปลูกสร้างส่งผลกระทบต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกิดเพลิงไหม้ จากวัสดุก่อสร้างที่สลายตัว และมลพิษที่ปล่อยออกมาจากสิ่งก่อสร้างที่มีวัสดุอันตรายน่าเศร้าที่กระทั่งการสร้างบริเวณที่พังทลายจากการทำลายเหล่านี้ขึ้นใหม่ก็สามารถนำไปสู่การปล่อยมลพิษอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน Doug Weir ผู้อำนวยการองค์กร The Conflict and Environment Observatory กล่าวว่า “การผลิตคอนกรีตและปูนซีเมนต์ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลที่ส่งผลต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”Lennard de Klerk ได้คำนวณโดยคร่าวถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะถูกปล่อยจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารอื่น ๆ ซึ่งถูกทำลายใน 6 สัปดาห์แรกของการโจมตี เขาให้สัมภาษณ์กับ Al Jazeera ว่า “เพียงการผลิตวัสดุก่อสร้างและขั้นตอนการก่อสร้าง ก็นำไปสู่การเกิดก๊าซเรือนกระจก 5.8 ล้านตันแล้ว”นั่นคิดเป็น 1 ใน 5 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่คาดคะเนไว้สำหรับการก่อสร้างเพื่อฟื้นฟูยูเครนจากสงครามที่ดำเนินมา 21 เดือน แม้มันจะเกิดขึ้นเพียง 2 เดือนในกาซา


สรุป

Abeer al-Butmeh ผู้ประสานงานของ The Palestinian Environmental NGOs Network กล่าวว่า “การยึดครองของกองทัพอิสราเอลได้ทำลายทุกองค์ประกอบของชีวิตและสิ่งแวดล้อมในกาซาอย่างราบคาบ พวกเขาทำลายกสิกรรมและชีวิตสัตว์ป่าอย่างสิ้นซาก”“สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้แน่นอนว่าคือ “การฆ่าล้างนิเวศ” นี่คือการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมในกาซาในระยะยาว ไม่ใช่แค่ระยะสั้น”“ชาวปาเลสไตน์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับดินแดน พวกเขาเชื่อมโยงสัมพันธ์กับดินแดนของพวกเขาและทะเลของพวกเขา” เธอกล่าว “ผู้คนในกาซาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากไม่ได้จับปลา หากไม่ได้ทำไร่นา”ถึงแม้อิสราเอลจะใช้คำกล่าวอ้างถึงการกระทำของตัวเองต่อสิ่งแวดล้อมในปาเลสไตน์อย่างไรก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการฆ่าล้างนิเวศกำลังเกิดขึ้นจริง อิสราเอลกำลังหน้าซื่อใจคดกับสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมสองมาตรฐานสำหรับดินแดนสองฝั่งของกำแพงแบ่งแยก คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายที่เหมือนจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของปาเลสไตน์ใด ๆ เป็นเพียงภาพลวงที่สร้างขึ้นเป็นฉากหน้าของฆ่าล้าง ควบคุม และเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของดินแดนเหล่านั้น เพื่อไม่ให้ดินแดนนั้นเป็นดินแดนปาเลสไตน์อีกต่อไป

การฆ่าล้างนิเวศจึงไม่อาจแยกออกจากการฆ่าเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ได้ และนี่คือความจำเป็นของพวกเราที่จะต้องตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากสงคราม รวมทั้งจะต้องเท่าทันวาทกรรมสิ่งแวดล้อมของเจ้าอาณานิคมตั้งถิ่นฐานอย่างอิสราเอลด้วยเช่นกัน


อ้างอิง:
1) Legal definition of ecocide drafted by Independent Expert Panel
2) Is Israel’s Gaza bombing also a war on the climate? | Israel-Palestine conflict News | Al Jazeera
3) As Conflict Rages On, Israel and Gaza’s Environmental Fates May Be Intertwined - Inside Climate News
4) Emissions from Israel’s war in Gaza have ‘immense’ effect on climate catastrophe | Israel-Gaza war | The Guardian
5) Israel’s attacks on Gaza: The weapons and mapping the scale of destruction | Israel-Palestine conflict News | Al Jazeera
6) ‘Ecocide in Gaza’: does scale of environmental destruction amount to a war crime?
7) ‘no Traces Of Life’: Israel’s Ecocide In Gaza 2023-2024 ← Forensic Architecture
8) Bethlehem: 'No matter how many olive trees they destroy, will will plant more!'
9) The olive tree, symbol of Palestine and mute victim of Israel’s war on Gaza
10) Is Israel’s Gaza bombing also a war on the climate? | Israel-Palestine conflict News | Al Jazeera
11) More war debris in Gaza than Ukraine: UN Mine Action Service - TRENDS Mena
12) Gaza’s unexploded ordnance could take 14 years to clear | UN News
13) Israel pours concrete into well and destroys irrigation system in the Palestinian village of al-Hijrah, south of Hebron
14) Israeli Chemical Factories in Tulkarem is Zionist scheme to destroy Palestinians’ health and environment
15) How Have the Forests of “Israel” Swallowed Our Unpopulated Land? - Capire
16) Is Israel’s Gaza bombing also a war on the climate? | Israel-Palestine conflict News | Al Jazeera

อรุณธตี รอย และกาซา: อย่าให้เกิดขึ้นอีก

Arundhati Roy on Gaza: Never Again
ต้นฉบับ

(7 มีนาคม 2567)

ผู้ประท้วงหลายล้านคนลงถนนในยุโรปและสหรัฐ คือความหวังของโลก

ประเทศมหาอำนาจและร่ำรวยหลายประเทศในโลกตะวันตก ซึ่งเชื่อมั่นว่าตนเป็นผู้พิทักษ์และตรวจตราทิศทางลมของกระบวนการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในโลกสมัยใหม่ ต่างก็กำลังส่งเงินสนับสนุนและเห็นดีเห็นงามต่อปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอลในกาซาอย่างเปิดเผย ฉนวนกาซาได้กลายเป็นค่ายกักกันแห่งหนึ่ง ผู้คนที่ยังไม่ถูกสังหารต้องถูกทำให้อดอยากจนตาย ประชากรเกือบทั้งหมดในกาซาถูกทำให้พลัดถิ่น บ้านของพวกเขา โรงพยาบาลของพวกเขา มหาวิทยาลัยของพวกเขา พิพิธภัณฑ์ของพวกเขา และโครงสร้างพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่างในกาซา ถูกทลายจนเป็นเพียงเศษซากของดินแดน ลูกหลานของพวกเขาถูกสังหาร ความทรงจำในอดีตของพวกเขาถูกเผาเป็นจุล และความหวังในอนาคตของพวกเขาถูกบดบังจนมืดมัวแม้ว่าศาลอันสูงสุดของโลกจะเชื่อว่าปฏิบัติการของอิสราเอลในกาซามีข้อบ่งชี้ทั้งหลายที่สอดคล้องกับนิยามทางกฎหมายว่านี่คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ทหาร IDF ก็ยังคงโพสต์ “คลิปแห่งชัยชนะ” ที่เฉลิมฉลองต่อพิธีกรรมอันโหดเหี้ยมของพวกเขา ทหาร IDF เย้ยหยันด้วยความเชื่อว่าไม่มีอำนาจใดในโลกที่จะเอาผิดให้พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่กระทำได้ แต่พวกเขาคิดผิด เพราะพวกเขาและลูกหลานของพวกเขาจะถูกหลอกหลอนด้วยการกระทำทั้งหลายที่ได้ร่วมกระทำ พวกเขาจะต้องใช้ชีวิตอยู่กับการก่นด่าและการรังเกียจจากผู้คนทั่วโลก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในวันหนึ่ง ทุกคนที่ไม่ว่าจะยืนอยู่ข้างใดของความขัดแย้งนี้ก็ตาม จะได้รับผิดชอบในอาชญากรรมสงครามที่พวกเขาร่วมกระทำ ทั้งการถูกไต่สวนสอบสวน และถูกลงโทษ โดยที่พวกคุณเองก็อย่าลืมว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ผิดพอ ๆ กัน ในสงครามที่ฝ่ายหนึ่งต่อต้านระบอบแบ่งแยกและการยึดครอง ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งทำสงครามเพื่อส่งเสริมระบอบแบ่งแยกและการยึดครองแน่นอนว่า การเกลียดชังทางเชื้อชาติ (Racism) เป็นใจความหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งในปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ วาทกรรมที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐอิสราเอลใช้มาตั้งแต่แรกเริ่มตั้งอิสราเอลขึ้นมาบนแผนที่ ก็คือวาทกรรมการลดทอนความเป็นมนุษย์ของชาวปาเลสไตน์ ทำให้พวกเขาถูกมองว่าเป็นแค่เพียงพยาธิและแมลงกลุ่มหนึ่ง นี่คือวิธีการเดียวกับที่กองทัพนาซีกระทำเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของชาวยิว ราวกับว่าเชื้อพันธุ์แห่งปีศาจยังไม่ถูกปราบจนสิ้นไปและยังถูกแพร่กระจายในโลกของเราอีกครั้ง ส่วนคำที่กล่าวว่า “อย่าให้” ถูกลบออกจากสโลกแกนอันทรงพลังที่ว่า “อย่าให้เกิดขึ้นอีก” และตอนนี้เราต้องอยู่กับโลกที่มันกำลัง “เกิดขึ้นอีก”

อย่าให้เกิดขึ้นอีก

ประธานาธิบตีโจ ไบเดน ประมุขแห่งรัฐที่ร่ำรวยที่สุด ทรงอำนาจที่สุดของโลก กลายเป็นผู้ไร้แขนขาในความสัมพันธ์กับอิสราเอล แม้ว่าอิสราเอลจะไม่สามารถมีบทบาทเช่นนี้ได้หากไร้การสนับสนุนของสหรัฐฯ ราวกับว่าความสัมพันธ์ที่ให้ประโยชน์ต่อกันกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นรองต่ออีกฝ่ายเสียอย่างนั้น เราเห็นภาพของเด็กโข่งหัวหงอก โจ ไบเดน เลียไอติมโคนและพึมพำอยู่ในลำคอเรียกร้องให้หยุดยิง ในขณะเดียวกันรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารของอิสราเอลมองข้ามไบเดนและประกาศกร้าวว่าจะทำสิ่งที่พวกเขาเริ่มต้นไว้จนสำเร็จให้จงได้ และเพื่อป้องกันเหตุที่โหวตเตอร์อเมริกันรุ่นใหม่หลายล้านเสียงอาจจะไม่เลือกพวกเขาเป็นรัฐบาลเป็นรัฐบาลอีกครั้งเพราะไม่ยินยอมให้เกิดการสังหารในนามของคะแนนเสียงของพวกเขา รัฐบาลสหรัฐฯก็เพียงแต่ส่งให้ คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดี รับผิดชอบในการพูดเรียกร้องการหยุดยิงในกาซา ระหว่างที่เงินดอลลาร์สหรัฐหลายพันล้านกำลังเทบ่าลงขันให้กับปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้

แล้วประเทศอินเดียของเราล่ะเป็นอย่างไร?

เป็นที่รู้กันดีว่านายกรัฐมนตรีของเราเป็นเพื่อนสนิทกับเบนจามิน เนทันยาฮู และไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาจะเลือกยืนข้างใคร ประเทศอินเดียไม่เป็นเพื่อนกับปาเลสไตน์อีกแล้ว และเมื่อเกิดการถล่มกาซาอีกระลอกนี้ ผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีโมดิจำนวนหลายพันคนก็ใช้รูปธงอิสราเอลเป็นรูปโปร์ไฟล์ของพวกเขาในโซเชียลมีเดีย พวกเขาช่วยเหลืออิสราเอลและกองทัพ IDF ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ แม้ว่าในขณะนี้รัฐบาลอินเดียจะถอยเท้าเข้าสู่จุดยืนที่เป็นกลางมากขึ้น ซึ่งดูจะเป็นชัยชนะทางการต่างประเทศที่เราสามารถยืนอยู่ทุกข้างได้พร้อมกัน เราเป็นทั้งฝ่ายสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พร้อม ๆ กับที่เราเป็นฝ่ายต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่รัฐบาลก็มีจุดยืนอย่างชัดเจนว่าพวกเขาจะตั้งใจปราบผู้ประท้วงเพื่อปาเลสไตน์แต่ฝ่ายเดียวและตอนนี้ การส่งออกสินค้าที่มีอยู่มากมายของสหรัฐฯ คือยุทโธปกรณ์ทั้งหลายและเงินมหาศาลเพื่อช่วยเหลือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอล ประเทศอินเดียของเราเองก็กำลังส่งออกสินค้าที่มีอยู่มากมายให้กับอิสราเอล นั่นคือคนยากจนที่ไร้งาน เพื่อไปทดแทนแรงงานชาวปาเลสไตน์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำงานกับอิสราเอลอีกต่อไป (ซึ่งดิฉันก็ขอเดาว่า ในกลุ่มแรงงานที่เราส่งไปนี้คงจะไม่มีแรงงานชาวมุสลิมรวมอยู่ด้วย) ความยากจนข้นแค้นทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากยอมทำงานเสี่ยงชีวิตอยู่ในพื้นที่สงคราม พวกเขายากจนมากเสียจนยอมสู้ทนอยู่ใต้ระบอบอิสราเอลที่เหยียดเชื้อชาติชาวอินเดียอย่างเปิดเผย หากเราใส่ใจแรงงานเหล่านี้มากพอ เราก็จะได้เห็นหลักฐานของความเกลียดชังนี้อย่างชัดเจนในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เงินของสหรัฐฯและความยากจนของอินเดียกำลังร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกองทัพอิสราเอล ช่างเป็นความน่าละอายที่ย่ำแย่เกินจินตนาการชาวปาเลสไตน์กำลังเผชิญหน้ากับประเทศมหาอำนาจทั้งหลายในโลก พวกเขาถูกทอดทิ้งจากพันธมิตรทั้งหลายและต้องทนทุกข์อย่างไม่อาจมีสิ่งใดมาเทียบได้ แต่พวกเขาเป็นผู้ชนะสงครามนี้ ชาวปาเลสไตน์ นักข่าวของพวกเขา แพทย์ของพวกเขา ทีมกู้ชีพของพวกเขา กวีทั้งหลายของพวกเขา อาจารย์และนักวิชาการของพวกเขา โฆษกของพวกเขา รวมทั้งเยาวชนและเด็กทั้งหลายของพวกเขา ต่างก็เผชิญหน้าต่อโศกนาฏกรรมนี้อย่างกล้าหาญและมีเกียรติ ซึ่งเป็นความทรงพลังที่สั่นสะท้านไปทั่วโลก เยาวชนรุ่นใหม่ในโลกตะวันตกทั้งหลาย โดยเฉพาะเยาวชนชาวยิวในสหรัฐฯ จึงได้ตื่นรู้และมองทะลุม่านหมอกแห่งโฆษณาชวนเชื่อและมายาคติทั้งหลาย พวกเขาได้มองเห็นและตระหนักถึงระบอบแบ่งแยกและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างที่มันได้เกิดขึ้นอยู่จริง เป็นอีกครั้งหนึ่งที่รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจทั้งหลายในโลกตะวันตกสูญเสียเกียรติยศและความเคารพที่พวกเขาอาจจะเคยมี ผู้ประท้วงหลายล้านคนลงถนนในยุโรปและสหรัฐ คือความหวังของโลก

ปาเลสไตน์จะเสรี

(แถลงการณ์โดยอรุณธตี รอย ในการประชุมสหภาพแรงงานต่อต้านระบอบแบ่งแยกและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกาซา ที่ the Press Club เมืองนิว เดลี วันที่ 7 มีนาคม 2567)

อ่านสิ่งนี้เมื่อคุณได้ยินผู้คนพูดเกี่ยวกับ "ความรุนแรงในอิสราเอลและปาเลสไตน์"มายาคติเรื่อง "วัฏจักรความรุนแรง"
และ "ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง" ที่อิสราเอลกระทำต่อปาเลสไตน์

[Original]

อธิบายว่าเหตุใดเราจึงใช้คำว่า "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" (Genocide) สำหรับเหตุการณ์ในกาซา
โดยอิงจากหลักวิชาการที่เสนอโดย Genocide Watch

[Original]

อธิบายเรื่องขบวนการไซออนิสต์ (Zionism)
และลัทธิอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐาน (Settler Colonialism)

[แปลแถลงการณ์เรียกร้องเสรีภาพ จากเควียร์ในปาเลสไตน์]
A Liberatory Demand from Queers in Palestine
"ในฐานะเควียร์ปาเลสไตน์ เราขอเรียกร้องให้นักกิจกรรมและกลุ่มเควียร์เฟมินิสต์ทั่วโลก
ร่วมเคียงข้างกับชาวปาเลสไตน์"


แถลงการณ์เรียกร้องเสรีภาพ
จากเควียร์ในปาเลสไตน์

เราเขียนแถลงการณ์นี้ในฐานะแรงงาน นักเรียนนักศึกษา เกษตรกร พ่อแม่ ในฐานะชาวปาเลสไตน์ ในฐานะเควียร์ปาเลสไตน์ เราเขียนแถลงการณ์นี้ไม่ใช่เพราะความเป็นเควียร์ทำให้เรามีสถานะที่เป็นข้อยกเว้น แต่เพราะถูกยกแยกให้เป็นอื่นคือการเป็น“เควียร์” ตอนนี้พวกเราต่างก็เผชิญหน้ากับกลยุทธ์แบบเจ้าอาณานิคมในระบอบปิตาธิปไตย ที่ยิ่งพยายามผลักแยกให้เราเป็นอื่นยิ่งกว่าเดิม คือการเป็น “เควียร์ปาเลสไตน์” การที่จะรวบรวมเสียงและถ้อยคำของพวกเราให้ได้นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงพลังมหาศาล พวกเราต่างก็กล้ำกลืนกับสภาวการณ์ขณะนี้ ที่เป็นความทารุณโหดร้ายและกระบวนการสังหารที่เกิดขึ้นต่อเรือนร่างชาวปาเลสไตน์ ซึ่งรวมทั้งการละเมิด การข่มขืน ทารุณกรรม และการทำให้หักช้ำบาดเจ็บอย่างรุนแรง ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ พวกเราจึงต้องทนฝืนทนฝ่าความโศกเศร้าทั้งมวลเพื่อรวมพลตั้งแถลงการณ์เรียกร้องขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมเป็นต้นมา พวกเราต้องเป็นประจักษ์พยานต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ทวีความรุนแรงในพื้นที่ฉนวนกาซาและทุกภาคส่วนของดินแดนปาเลสไตน์ ความรุนแรงหลายครั้งได้ป่าวประกาศอย่างโจ่งแจ้งและไม่ละอายแก่ใจโดยรัฐบาลและข้าราชการกองทัพของอิสราเอล ความทารุณโหดร้ายเช่นนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องผ่านมิติทางเศรษฐกิจ กองทัพ การทูต และการเมือง จากผู้นำโลกหลายชาติ ทั้งในอดีตและในช่วงเวลาปัจจุบัน เราจดบันทึก รวบรวมเอกสาร และเล่าเรื่องราวของการสังหารหมู่อันสะเทือนขวัญจำนวนหลายร้อยครั้งในช่วงเวลา 75 ปีที่ผ่านมาที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของระบอบไซออนิสต์ผู้โหดร้าย จากเหตุสังหารหมู่ใน Deir Yassin ถึงเหตุสังหารหมู่ใน Tantura ในปี 1948 ซึ่งเป็นปีที่รัฐอิสราเอลได้ก่อกำเนิดขึ้น มาสู่เหตุสังหารหมู่ใน Kafr Qassam ปี 1956 กระทั่งเหตุสังหารหมู่ในค่ายผู้ลี้ภัย Sabra and Shitila ในเลบานอนปี 1982 เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างที่ยกมา ไม่มีทางเลยที่การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองเพื่อเสรีภาพจะมีชีวิตได้และมีศักดิ์ศรีได้ หากในกระบวนการนั้นถือข้างเครื่องจักรฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ชื่ออิสราเอล อิสราเอลเป็นรัฐที่ตั้งขึ้นบนกองเลือดกองเนื้อและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยกองเลือดกองเนื้อเหล่านั้นในช่วงเวลาเช่นนี้ อิสราเอลยังคงช่วงใช้อัตลักษณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยม เพราะอิสราเอลได้ทำให้เรือนร่างเควียร์กลายเป็นอาวุธเพื่อปะทะกับการสนับสนุนปาเลสไตน์ และใช้เพื่อปะทะกับคำวิจารณ์เกี่ยวกับโครงการล่าอาณานิคมผ่านการตั้งถิ่นฐานของคนอิสราเอล อิสราเอล(ทั้งนักการเมือง องค์กรทั้งหลาย และ “พลเรือน”) ได้ผลักดันวิธีคิดสองขั้วแบบอาณานิคม เช่น “เจริญ” กับ “ป่าเถื่อน” “เป็นมนุษย์” กับ “เป็นสัตว์” และคู่ตรงข้ามอื่นๆ ที่เป็นวาทกรรมเพื่อใช้หาความชอบธรรมในการคุกคามปาเลสไตน์ ในวาทกรรมของพวกล่าอาณานิคมผ่านการตั้งถิ่นฐานพวกนี้ อิสราเอลตั้งใจจะรวบรวมและขับเคลื่อนแรงสนับสนุนจากรัฐบาลของรัฐตะวันตกและรัฐเสรีนิยมทั้งหลายด้วยการฉายภาพว่าอิสราเอลเป็นประเทศที่เคารพในเสรีภาพ ในความหลากหลาย ในสิทธิมนุษยชน และอ้างว่าการโจมตีของอิสราเอลเป็นการต่อสู้กับ “ปีศาจ” และสังคมที่กดขี่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนผ่านถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่ว่า “นี่คือการปลุกปล้ำกันระหว่างบุตรแห่งแสงสว่างและบุตรแห่งความมืดมิด ระหว่างความเป็นมนุษย์และความป่าเถื่อน”ในช่วงเวลาที่ถ้อยแถลงเหยียดเชื้อชาติมุ่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างโจ่งแจ้งนั้นได้แถลงออกไป นักเคลื่อนไหวในปาเลสไตน์และนานาชาติต่างถูกปิดปาก ถูกคุกคาม ถูกคุมขัง ถูกทำให้เป็นอาชญากร แรงงานถูกไล่ออกจากงาน นักศึกษาถูกพักการเรียน นักเคลื่อนไหว เฟมินิสต์และเควียร์นานาชาติต่างก็ยืนเคียงข้างปาเลสไตน์ เราต่างร่วมยืนหยัดต้านทานการโจมตีและการคุกคามจากพวกไซออนิสต์ แม้จะมีคำกล่าวอ้างว่า ใครที่สนับสนุนปาเลสไตน์จะถูก “ข่มขืน” และ “ตัดหัว” โดยชาวปาเลสไตน์ เพราะเป็นผู้หญิงและเป็นเควียร์ ทั้งที่จริงแล้ว การข่มขืนและความตายเป็นสิ่งที่พวกไซออนิสต์อยากให้เกิดขึ้นกับเรือนร่างของเควียร์และผู้หญิงที่ยืนเคียงข้างปาเลสไตน์ต่างหาก ภาพมโนของไซออนิสต์ที่มักจะเพ้อพกถึงเรือนร่างที่ถูกทารุณ เป็นภาพมโนที่ไม่ทำให้เราแปลกใจนัก เพราะพวกเราได้ประสบมากับตัว เห็นมากับตา ถึงความจริงอันทารุณที่พวกเขากระทำต่อเรือนร่างและจิตวิญญาณของพวกเรา และดูเหมือนว่าภาพมโนเหล่านี้จะยิ่งดูรุนแรงมากขึ้นด้วย ภาพมโนเหล่านี้ยิ่งผิดฝาผิดตัวกับการนำมาแปะป้ายให้สังคมปาเลสไตน์ เมื่อเรานำไปเทียบกับคำให้การจำนวนนับไม่ถ้วน เอกสาร และรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศที่ชาวปาเลสไตน์ต้องประสบจากการยึดครองของกองทัพอิสราเอลตลอดช่วง 75 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่จำนวนนักโทษชาวปาเลสไตน์นับพัน ทั้งชายและหญิง ซึ่งถูกจับกุมด้วยข้อหาการล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขืน นับตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มเข้ามาของอิสราเอลจนถึงวันนี้ กรณีความรุนแรงทั้งหลายที่ผู้ต้องการตั้งถิ่นฐานกระทำต่อชาวปาเลสไตน์ในทุกวันและบ่อยครั้งขึ้นในเวสต์แบงก์ กระแส Tik Tok ที่ “พลเรือน” อิสราเอลถ่ายคลิปตัวเองกระทำการทารุณต่อชาวปาเลสไตน์ที่ไปลักพาตัวมา รวมไปถึงภาพฟุตเทจอันน่าหดหู่ที่เผยแพร่ลงโซเชียลของพวกทหารอิสราเอล ซึ่งบันทึกภาพการทรมานและการทารุณทางเพศที่ทหารและผู้ต้องการตั้งถิ่นฐานได้กระทำต่อเรือนร่างของพวกเราอย่างไม่สนใจเพศและเพศวิถี - ความรุนแรงในทุกรูปแบบเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงความรุนแรงทางเพศ เป็นความรุนแรงที่เกิดจากอำนาจเหนือในทางระบอบและทางโครงสร้างที่พวกไซออนิสต์มีต่อชีวิตของชาวปาเลสไตน์ ยิ่งเมื่อสังคมอิสราเอลมุ่งมั่นที่จะใช้ความ เป็นเควียร์ เป็นอาวุธเพื่อสร้างความชอบธรรมในการสงครามและการกดขี่แบบอาณานิคมแล้ว ราวกับว่าลูกระเบิด กำแพงแบ่งแยก ปืน มีดดาบ และรถเกลี่ยดินของพวกเขา เป็นอาวุธที่เลือกปฏิบัติต่อคนเฉพาะบางกลุ่มเพศเท่านั้นเรายืนกรานปฏิเสธต่อการช่วงใช้ความเควียร์ของเรา เรือนร่างของเรา และความรุนแรงที่เราเผชิญในฐานะเควียร์ ไปใช้เพื่อทำให้ชุมชนของเรากลายเป็นปีศาจและใช้เพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเอาไปรับใช้การกระทำเยี่ยงพวกจักรวรรดิและการกระทำเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหล่านี้ เรายืนกรานปฏิเสธว่าเพศปาเลสไตน์และสำนึกปาเลสไตน์ที่พวกเรามีต่อความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่เครื่องมือในการเป็นมาตรวัดทางมนุษยธรรมของสังคมผู้ล่าอาณานิคม เราสมควรมีชีวิตเพราะเราเป็นมนุษย์ แม้จะพร่องความสมบูรณ์แบบ ไม่ใช่ว่าเราสมควรมีชีวิตเพราะเราถูกโฉลกกับความเป็นมนุษย์เสรีนิยมในสายตาของผู้ล่าอาณานิคม เรายืนกรานปฏิเสธกลยุทธ์อาณานิคมและกลยุทธจักรวรรดิที่ต้องการผลักดันเราออกจากสังคมของเราและผลักดันสังคมของเราออกจากเรา โดยอ้างใช้ความเป็นเควียร์ เรายืนกรานต่อสู้กับการกดขี่เชิงระบบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงในทุกมิติ ซึ่งรวมไปถึงการกดขี่จากปิตาธิปไตยและทุนนิยม การกดขี่ความฝันของเราที่จะมีสิทธิ์เหนือตนเอง ที่จะมีชุมชน ที่จะมีเสรีภาพ ซึ่งพันผูกกับความต้องการของพวกเราที่จะมีสิทธิ์ในเจตจำนงของตนเอง ไม่มีทางที่เสรีภาพเควียร์จะเกิดขึ้นได้ในชาติอาณานิคมตั้งถิ่นฐาน และไม่มีการยืนหยัดเคียงข้างเควียร์ที่จะเกิดขึ้นได้หากมืดบอดต่อระบบเหยียดเชื้อชาติ ระบบทุนนิยม ระบบฟาสซิสต์ และระบบจักรวรรดิที่กำลังมีอำนาจเหนือพวกเราตอนนี้เราขอเรียกร้องให้นักกิจกรรมและกลุ่มเควียร์เฟมินิสต์ทั่วโลกร่วมเคียงข้างกับชาวปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านการบังคับให้ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น การแย่งยึดที่ดิน และการกวาดล้างชาติพันธุ์ และร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อให้แผ่นดินและอนาคตของพวกเขาทั้งปวงเป็นไทจากการล่าอาณานิคมผ่านการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไซออนิสต์ ข้อเรียกร้องนี้ไม่อาจจบลงด้วยการส่งต่อแถลงการณ์และการลงลายชื่อในจดหมายต่างๆ อย่างเดียว แต่ต้องสานต่อโดยร่วมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อปลดแอกอาณานิคมและเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์และของผู้คนทั่วโลก ข้อเรียกร้องอันแน่วแน่ของพวกเรามีดังต่อไปนี้- ไม่รับเงินทุนสนับสนุนจากอิสราเอล ไม่ร่วมมือกับสถาบันจากอิสราเอลใดใดทั้งสิ้น และเข้าร่วม ขบวนการคว่ำบาตร ลดการลงทุน และลงโทษ (Boycott, Divestment and Sanctions — BDS)
- ประท้วงหยุดงาน ทำเงียบ ๆ หรือประกาศให้รับรู้โดยทั่วกัน อย่าให้หยาดเหงื่อแรงงานที่โดนขูดรีดของคุณถูกนำไปใช้ปิดปากชาวปาเลสไตน์และการเคลื่อนไหวของพวกเขา หรือถูกนำไปอุดหนุน สนับสนุน และส่งเสริมการใช้กองกำลังทหารล่าอาณานิคม ผ่่านการตั้งถิ่นฐานและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ทำตามที่เควียร์สายต่อต้านการล่าอาณานิคมทำมาเป็นสิบ ๆ ปี ทวงคืนเรื่องเล่ากลับมา กำหนดทิศทางของบทสนทนา เอามาใช้กับเรื่องของปาเลสไตน์ [สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปาเลสไตน์ตอนนี้คือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์] [อิสราเอลคืออาณานิคมของผู้รุกรานตั้งถิ่นฐาน] [ปาเลสไตน์คือสังคมที่ถูกล่าอาณานิคมและถูกยึดครองโดยกองกำลังทหาร] [ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศอิสราเอลไม่มีสิทธิ์ในการ “ป้องกันตัว” จากประชาชนที่ตนเข้าไปรุกรานปกครอง] [ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิ์ต่อต้านการยึดครองดินแดน] [การเรียกร้องให้หยุดยิงทันทีคือก้าวแรกในการบีบให้อิสราเอลรับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ] นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องเรียกร้องให้หยุดปิดล้อมฉนวนกาซา และให้รื้อถอนอาณานิคมของผู้ตั้งถิ่นฐานไซออนิสต์ให้หมดสิ้น
- ติดต่อผู้แทนราษฎรประจำพื้นที่ของคุณเพื่อกดดันพวกเขาให้ตัดงบประมาณสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หยุดให้การสนับสนุนทางทหาร ทางการทูต และทางการเมืองกับอิสราเอล ลุกขึ้นต่อต้านการตราบาปผู้เคียงข้างปาเลสไตน์ว่าเป็นอาชญากร และร่วม ต่อต้านการใช้แนวคิดชเกลียดชังชาวยิวของคนยุโรปที่เกิดจากสายตาเจ้าอาณานิคมและความเกลียดชังคนมุสลิมของพวกเขา มาโบ้ยป้ายให้กับชาวปาเลสไตน์ ทั้งที่ความเกลียดชังเหล่านั้นเราเห็นได้ชัดเจนในฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และเยอรมนี
- ปิดถนนสายหลัก จัดการรวมตัวนั่งประท้วงในชุมทางรถโดยสารแถวบ้าน ขัดขวางไม่ให้ธุรกรรมพาณิชย์ดำเนินโดยสะดวก พึงใจจะร่วมทำหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง
พวกเรา ชาวเควียร์ปาเลสไตน์ คือส่วนหนึ่งของสังคม และพวกเรากำลังบอกคุณว่า นับจากตรอกซอยในเยรูซาเล็มที่ถูกทหารคุมเข้ม จนไปถึงดินแดนอันแห้งผากแห่งเมืองฮูวารา จนไปถึงท้องถนนที่ถูกจับตาสอดแนมในเมืองยัฟฟา และตัดผ่านกำแพงที่ปิดล้อมฉนวนกาซาจากแม่น้ำสู่ทะเล ปาเลสไตน์จะเป็นไทพวกเราผู้ลงชื่อดังปรากฏนี้ เป็นทั้งชาวปาเลสไตน์และผู้สนับสนุน ซึ่งร่วมผลักดัน แถลงการณ์เรียกร้องเสรีภาพ จากเควียร์ในปาเลสไตน์ ฉบับนี้

ความรุนแรงของเสรีภาพ: ชำแหละความใสซื่อของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลผ่านเรื่องราวการต่อสู้เพื่อปลดแอกปาเลสไตน์แถลงการณ์และประมวลเหตุการณ์ โดย UP Anthropology Society ร่วมลงนามโดยกลุ่ม the Anthropos Core Grouptranslation into Thai that is granted permission, to translate, overlay the texts, and use the pictures and templates, from @UPAnthroSoc

ยุติความเข้าใจผิดนี่ไม่ใช่ความขัดแย้งของศาสนายูดายและอิสลาม
ไม่ใช่สงครามของชาวยิวและชาวอาหรับ
มาฟังเสียงของชาวยิวและอิสราเอล
ที่สนับสนุนปาเลสไตน์/วิจารณ์รัฐบาลอิสราเอล

Click ที่ภาพเพื่อไปยังต้นฉบับข้อมูล

[ปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ : เกี่ยวกับทุก ๆ ข้อตกลง และ ทำไมมันจึงล้มเหลว]ปาเลสไตน์ไม่เคยพยายามสร้างสันติภาพจริงหรือ?มาดูว่ารัฐอิสราเอลมีปฏิกริยาต่อแต่ละข้อตกลงอย่างไรบ้างในประวัติศาสตร์รัฐอิสราเอลไม่เคยหยุดในการตั้งถิ่นฐาน รุกราน ทำลายชุมชน และละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวปาเลสไตน์

ชวนทำความรู้จักงานเย็บปักถักร้อยท้องถิ่น อันกลายเป็นอัตลักษณ์และสัญลักษณ์แห่งการพลัดถิ่นและการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์

[Introduction to the long history of PALESTINE]เช่นเดียวกับแหล่งอารยธรรมอื่น ๆ อันหลากหลายและรุ่มรวยเช่นเดียวกับลุ่มน้ำเจ้าพระยาอันเป็น "บ้าน" ของผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมจากยุคสู่ยุค"ปาเลสไตน์" ก็ไม่ต่างบทนำสู่เรื่องราวประวัติศาสตร์อันยาวนานบนพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า ปาเลสไตน์

การเหยียดยิว (Antisemitism) และ การต่อต้านไซออนิสม์ (Anti-Zionism) แตกต่างกันอย่างไร และอันตรายของการมองว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
โดย Jewish Voice for Peace
ฝ่ายสนับสนุนอิสราเอลมักยัดเยียดข้อกล่าวหาว่า "เหยียดยิว" แก่ผู้ที่วิจารณ์หรือต่อต้าน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการบิดเบือนเพื่อเหตุผลทางการเมือง

ทำความรู้จัก อะฮ์หมัด มนัศรอฮ์ (Ahmad Manasra)
นักโทษชาวปาเลสไตน์ที่ถูกคุมขังตั้งแต่อายุ 13 และความอยุติธรรมที่รัฐอิสราเอลมอบให้กับเขา

#FreeAhmadManasra

"อิสราเอลเปิดกว้างกับLGBT+ ถ้าพวกแกไปอยู่กับปาเลสไตน์แกไม่รอดแน่"สิ่งนี้พบได้เสมอหากมีเควียร์วิจารณ์อิสราเอล หรือสนับสนุนปาเลสไตน์ชวนอ่านเบื้องหลังว่าอิสราเอลหลอกให้คนทั้งโลกเชื่อได้อย่างไร
เพื่อสร้างความชอบธรรมในการกดขี่ปาเลสไตน์

[ประมวล: การสนับสนุนทางการทหารและความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา-อิสราเอล]นี่คือสาเหตุว่า หากจะเรียกร้องเพื่อปาเลสไตน์ จำเป็นที่จะต้องเรียกร้องและประณามถึงสหรัฐฯ ผู้หนุนหลังและเปิดโอกาสให้ขบวนการไซออนิสม์สามารถกระทำกดขี่กับชาวปาเลสไตน์มาตลอดหลายทศวรรษ

ทำไมอิสราเอลต้องปิดกั้นสื่อในเมื่อแค่ "ป้องกันตัวเอง"และพวกเราได้รับข่าวสารจากทุกด้านเท่าเทียมกันจริงหรือ?

[จากแม่น้ำสู่ทะเล ปาเลสไตน์จะเป็นไท]ถ้อยคำนี้มีความหมายอย่างไรกันแน่เมื่อถูกใช้เรียกร้องเพื่อเสรีภาพแก่ชาวปาเลสไตน์?แปลจาก Independent Jewish Voice องค์กรเคลื่อนไหวชาวยิว

"แกรู้ไหมว่าถ้าแกไปเป็นเกย์ในกาซาแล้วจะมีสภาพยังไง?"คำถามนี้เควียร์มักจะได้ยินเสมอเมื่อพูดเรื่องปาเลสไตน์มาดูกันว่ามันเป็นข้อโต้แย้งที่ตรรกะวิบัติและไม่เกี่ยวข้องกันอย่างไร และพวกเราขอประณามการหยิบใช้อัตลักษณ์เควียร์มาปิดบังแนวคิดสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของผู้ถามเอง

การปกปิดอาชญากรรมของอิสราเอลและการสร้างความชอบธรรมในการล่าอาณานิคมด้วยการสร้างภาพ "รักสิ่งแวดล้อม" ของอิสราเอล

เรากำลังหมายถึงอะไรเมื่อพูดถึง"สิทธิในการต่อต้านและป้องกันตนเองของชาวปาเลสไตน์"ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และเป็นสิทธิของ "พวกเราทุกคน"ภายใต้กฎหมายนี้ ชาวปาเลสไตน์มีสิทธิที่จะต่อต้านการล่าอาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลได้ รวมถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธ

[การสนับสนุนของอิสราเอลในเมียนมาร์ ต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา]การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการเข่นฆ่าด้วยเหตุแห่งชาติพันธุ์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างพวกเราเลย สิ่งนี้เกิดที่เมียนมาร์ และได้รับสนับสนุนจากอิสราเอล

[ชาวปาเลสไตน์จะมีประเทศเป็นของตัวเอง ถ้าหากพวกเขายอมรับแผนแบ่งแยกดินแดนของ UN แต่แรก]จริงหรือ?มาดูกันว่าข้ออ้างนี้เป็นมุมมองการโทษเหยื่อและเป็นมุมมองที่ขาดความเข้าใจในบริบททางประวัติศาสตร์อย่างไร

#ยืนข้างHandala

#THAIwithHandala #SEAwithHandala

STAND WITH HANDALA
(English ver. below)

เชิญชวนศิลปินไทยและSEA ร่วมเรียกร้องการหยุดยิงและยุติการกดขี่ชาวปาเลสไตน์ ด้วยการวาดภาพตัวละครออริจินอลของคุณยืนหันหลัง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับฮันดาลาและชาวปาเลสไตน์ขณะที่การรุกรานและกดขี่ต่อชาวปาเลสไตน์โดยอิสราเอลยิ่งทวีความรุนแรงและการนองเลือดขึ้น คนทั่วโลกอาจกำลังสงสัยว่าพวกเราทำอะไรได้อีกบ้าง- นักวาดการ์ตูนชาวอิตาเลียน 80 คน วาดตัวละครของพวกเขาหันหลัง ไขว้มือแบบ Handala เพื่อรณรงค์ “เรียกร้องการหยุดยิงทันทีทุกฝ่าย และยืนหยัดร่วมกับฮันดาลา” Link- วันปีใหม่ที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียญี่ปุ่นจัดกิจกรรมชวนศิลปินร่วมวาดตัวละครตนเองยืนหันหลังแบบ Handala Linkทั้งสองกิจกรรมเป็นแรงบันดาลใจในการจัดทำโปรเจคนี้ของ THAI for Palestine

ฮันดาลา (Handala)

ตัวละครการ์ตูนสัญลักษณ์ของการต่อต้านแห่งชาวปาเลสไตน์ สร้างโดยศิลปิน Naji al-Ali และยังพบเห็นได้มากในจุดต่าง ๆ ของปาเลสไตน์ เป็นเด็กชายหันหลัง เอามือไพล่หลัง เท้าเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการไม่ยอมรับและประท้วงความสมรู้ร่วมคิดของสากลโลกในการยึดครองปาเลสไตน์ และสิทธิในการกลับคืนบ้านของชาวปาเลสไตน์ ในภาษาอาหรับ “ฮันดาลา” ( حنظل) เป็นชื่อพืชชนิดหนึ่งที่มีรสขม รากลึก และสามารถกลับมาเติบโตใหม่แม้จะถูกพยายามตัดหรือกำจัด ฮันดาลาจึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านและปลดแอกปาเลสไตน์ (ภาษาไทยเรียกว่าต้นขี้กาเทศ)ฮันดาลาเป็นเสมือนตัวแทนในวัยเด็กของ al-Ali ในค่ายอพยพ Ein al-Hilwa ทางใต้ของเลบานอน“ฮันดาลาถูกสร้างมาให้อายุ 10 ขวบ และเขาจะ 10 ขวบตลอดไป นั่นคืออายุของผมตอนผมจากบ้านเกิด ถ้าฮันดาลาได้กลับมาเมื่อไหร่ (เมื่อชาวปาเลสไตน์สามารถคืนสู่มาตุภูมิ) เมื่อนั้นเขาจึงจะได้เติบโตต่ออย่างเด็กทั่วไปอีกครั้ง”Naji al-Ali ถูกสังหารในปี 1987 แต่ฮันดาลาและผลงานของเขายังดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้ สะท้อนความมุ่งหมายของชาวปาเลสไตน์

วิธีเข้าร่วม

โปรเจคนี้ไม่จำกัดสัญชาติ สามารถเข้าร่วมได้ทุกคนหากคุณอยู่ในพื้นที่บริเวณของประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือมีเชื้อสายอัตลักษณ์ที่ผูกพันกับชาติพันธุ์และวัฒนธรรมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้➞ ลงภาพในโซเชียลมีเดียของคุณ ติดแท็ก #ยืนข้างHandala และ #THAIwithHandala #SEAwithHandala ขึ้นอยู่กับประเทศ/เชื้อชาติของคุณ➞ ส่งภาพ #ยืนข้างHandala ของคุณมาที่ [แบบฟอร์มนี้] เพื่อรวบรวมภาพเป็นโปสเตอร์ใหญ่★ สำหรับการส่งภาพ ขอให้เป็นภาพพื้นหลังใส .png หรือพื้นหลังขาว เท่านั้น (การลงในโซเชียลมีเดียสามารถลงรูปแบบอิสระ)★ ในการตัดสินใจส่งภาพมาที่ฟอร์มนี้ ถือว่าศิลปินได้ตกลงให้ทีมงาน THAI for Palestine นำภาพทั้งหมดไปประกอบแคมเปญรวมภาพ (คล้ายคลึงกับตัวอย่างด้านล่าง) และโพสต์ลงในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ (โดยผ่านการใช้ Glaze เพื่อป้องกันการถูกดึงโดย AI) รวมถึงอาจถูกพิมพ์ลงในโปสเตอร์หากมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวปาเลสไตน์ ทีมงานไม่มีสิทธิ์นำผลงานของท่านไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อนำเสนอถึงการเคลื่อนไหวเพื่อปาเลสไตน์ รวมถึงไม่มีสิทธิ์นำผลงานไปใช้เชิงพาณิชย์หรือหากำไรทั้งสิ้น★ จำกัด 3 ผลงานต่อ 1 คน★ เดดไลน์รวมภาพวันที่ 15 มกราคม 2567


We are inviting Thai and SEA artists to join in calling for a ceasefire and an end to the oppression of Palestinians - join us in drawing your original charater(s) from back view(s), in solidarity with Handala and Palestinians.At this moment, Israel's aggression and oppression to the Palestinian people has become more bloody and inhumane. People around the world may be wondering what else we can do.In Italy, 80 cartoonists drew their characters with their backs and their hands crossed in a Handala style to campaign "for an immediate ceasefire on all sides." and stand with Handala.” LinkJapanese social media organized an event inviting artists to draw their own characters standing with their backs like Handala LinkThanks to the movements in Italy and Japan that inspired us to start this project. You can visit X account of the Japanese movement #WithHandala to see their works.

Handala

A cartoon character and a symbol of the Palestinian resistance that was created by an artist named Naji al-Ali and is still seen in various parts of Palestine. He is depicted as a boy with his back turned to the viewers, his hands clasped behind the back standing barefoot. He is a symbol of disapproval and protest against international complicity in the occupation of Palestine. In Arabic, “Handala” (حنظل) is the name of a plant that has a bitter taste, deep roots, and can grow back again despite attempts to cut or remove it. Handala is, therefore, a symbol of the Palestinian resistance and liberation.Handala represents al-Ali's childhood in the Ein al-Hilwa refugee camp in southern Lebanon.“Handala was born 10 years old and he will always be 10 years old. It was at that age that I left my homeland. When Handala returns (When Palestinians are able to return to their homeland), he will still be 10 years old, and then he will start growing up."Naji al-Ali was killed in 1987, but Handala and his works live on today, reflecting the aspirations of the Palestinian people.

HOW TO JOIN

This project is open for artists regardless of nationality, with its main focus on artists from Thailand, Southeast Asia, SEA diasporas, or anyone with an identity associated with Thai or Southeast Asian ethnicities or cultures.➞ Post your art(s) on your social media and use these hashtags: #ยืนข้างHandala and #THAIwithHandala #SEAwithHandala Depend on your countries.➞ Send your #ยืนข้างHandala art(s) to [this form] to be combined into a poster.★ Submit it with a transparent background (.png) or a white background only. (But you can post on Social Media in any formats.)★ By submitting the art(s) to this form, artists agree to allow the ‘THAI for Palestine’ team to use all submitted art(s) for the compilation campaign (similar to the example below), and to post them on social media (with being ‘glazed’ to prevent AI crawling), and to print them out on posters for any on-site events related to Palestine. We are not permitted to use your works for any purposes other than to promote the Palestinian movements. No rights are granted to us for commercial use or profit purposes.★ Limit 3 works per person★ Last day for submission: 15 Jan 2024